พระพุทธศาสนาในอินเดีย ยุคมุสลิมยึดครอง’ มหาวิทยาลัยนาลันทา ถูกทำลาย

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 6 вер 2024
  • #พระพุทธศาสนาในอินเดีย ยุคมุสลิมยึดครอง’ #มหาวิทยาลัยนาลันทา ถูกทำลาย
    ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย
    The History of Buddhism in India
    พุทธศาสนายุคมุสลิมยึดครอง พ.ศ. ๑๗๐๐-๒๒๐๐
    (Buddhism in Muslim ruler's time B.E. 1700-2200)
    หลังจากราชศ์ปาละได้เสื่อมสลายลงแล้ว ลุ่ม #แม่น้ำคงคา ตอนกลางก็ตกอยู่ภายใต้ปกครองของกษัตริย์ราชวงค์เสนะ ซึ่งก่อตั้งโดยพระเจ้าลาวะเสนะ (Lavasena) กษัตริย์ราชวงศ์นี้ส่วนมากนับถือ #ศาสนาฮินดู แต่ก็ทรงอุปถมภ์พุทธศาสนาอยู่บ้าง ในตอนปลายราชวงค์นี้อาณาจักรมคธ และอินเดียส่วนเหนือกลางทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองกองทัพมุสลิม
    ๑.การทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทา (Nalanda demolition)
    ซากมหาวิทยาลัยนาลันทา #แคว้นมคธ
    ในขณะที่ #ลัทธิพุทธตันตระ กำลังได้รับการปฏิบัติอย่างแพร่หลายในอินเดียทางทิศเหนือ กลาง และทิศตะวันออกในหมู่ชนชั้นต่ำพุทธศาสนาดั้งเดิมก็ถึงแก่ความเสื่อม เกิดสัทธรรมปฎิรูปผสมผสานกันเข้าจนหาความบริสุทธิ์ได้น้อย ต่อมากษัตริย์มุสลิมก็เริ่มเคลื่อนกองทัพอันเกรียงไกรเข้ายึดอินเดียทางทิศเหนือไว้ได้ในครอบครอง โดยเด็ดขาด
    พ.ศ.๑๗๓๗ กองทัพมุสลิมนำโดยโมฮัมหมัด โฆรี (Muhammad Ghori) กลับมาเพื่อแก้แค้นพระเจ้าปฤฐวีราช (Prithaviraj) อีกครั้งพร้อมกองทหาร ๑๒๐,๐๐๐ คน ยกทัพจากอัฟกานิสถาน ก็พิชิตกองทัพอินเดียได้ ณ ทุ่งปาณิพัตร ใกล้กรุงนิวเดลลี แต่คราวนี้พระเจ้าปฤฐวีราชแพ้ราบคาบและสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พระมเหสีทราบข่าวก็กระโดดเข้ากองไฟ พร้อมข้าราชบริพารจนกลายเป็นประเพณีสตรีสืบต่อมา พระเจ้าชายาจันทราทรงทราบและเตรียมรบ สุดท้ายก็พ่ายแพ้สิ้นพระชนม์ในสนามรบเช่นกัน
    พ.ศ.๑๗๔๐ โมหัมหมัด โฆรี ก็ได้แต่งตั้ง กุดบัดดิน ไอบัค (Qutbuddin Aibak) นายพลของเขาดูแลกรุงอินทรปัตถ์ (เดลลี) และส่วนอื่น ๆ ของอินเดียที่ยึดได้ และไอบัคก็ได้ขยายจักรวรรดิออกไปเรื่อย ๆ รัฐคุชรตและรัฐอื่น ๆ ในอินเดียตอนกลางก็ถูกผนวกเข้ามาในสมัยนี้ ต่อมาพวกเขาก็เดินทัพไปสู่รัฐพิหาร มีชัยชนะเหนือพระเจ้าลวังเสนา กษัตริย์แห่งเบงกอล จึงเป็นการเปิดทางอย่างสะดวกให้ #กองทัพมุสลิมรุกเข้าอินเดียเหมือนเขื่อนแตก ได้ทำลายวัดวาอารามและสถานที่สำคัญของพุทธศาสนา ของฮินดูและเชน ฆ่าพระภิกษุสามเณรตายหลายหมื่นรูป
    ต่อมา พ.ศ.๑๗๖๖ อิคเทียขิลจิลูกชายภักเทียขิลจิ แม่ทัพมุสลิมอีกคนก็เข้าทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาอันยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นอย่างราบเรียบ มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ได้กลายเป็นสุสานของพระภิกษุสามเณร ดังบันทึกของท่านตารนาถชาวธิเบต ได้บันทึกไว้ว่า
    "กองทัพเติร์กมุสลิม หลังจากที่รุกรบจนชนะแล้วได้ปกครองชมพูทวีปส่วนเหนือและแคว้นมคธแล้ว ต่อจากนั้นก็เริ่มทำลายวัดวาอารามปูชนียสถานเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมาย ต่อมา พ.ศ. ๑๗๖๖ กองทัพมุสลิมนำโดยอิคเทีย ขิลจิ พร้อมด้วยทหารม้า ๒๐๐ คน ก็ได้ยกทัพมาทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทา"
    พระภิกษุสงฆ์จำนวนมากถูกฆ่า และบางส่วนก็หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศใกล้เคียง ซึ่งโดยมากได้ไปอาศัยอยู่ที่เนปาลและธิเบต ในขณะที่กองทัพมุสลิมยกทัพเข้ามา ๓๐๐ คน ท่านธรรมสวามิน พระธิเบตและท่านราหุลศรีภัทร ไม่ขอหนีแต่จะขอตายที่นาลันทา แต่ต่อมาทั้งสองจึงได้ไปหลบหนีึซ่อนตัวอยู่ที่วัดชญาณนาถ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า รุกขมินิสสถาน ซึ่งห่างจากมหาวิทยาลัยนาลันทา ๓ กิโลเมตร เมื่อพวกเติร์กมุสลิมกลับไปแล้ว ได้มีผู้ออกมาเพื่อบูรณะนาลันทาขึ้นมาดั่งเดิม โดย มีท่านมุทิตาภัทร (Muditabhadra) ได้จัดแจงซ่อมแซมขึ้นใหม่ ต่อมาเสนาบดีแคว้นมคธ นามว่า กุกฏะสิทธิ ได้บริจากทรัพย์สร้างวัดขึ้นอีก ภายในบริเวณนาลันทานั้นเอง นาลันทาทำทีจะฟื้นอีกครั้ง
    แต่ต่อมามีพราหมณ์ ๒ คนได้มาถึงบริเวณนั้นจะยึดเอาเป็นที่ประกอบพิธีบูชายัญ ด้วยความคะนองสามเณรจึงหยิบภาชนะตักน้ำล้างเท้าสาดพราหมณ์ทั้งสอง พวกเขาโกรธมาก เวลาเลยผ่านไปสิบปีจึงมาเผาซ้ำ ห้องสมุดรัตโนทธิที่เหลือเป็นหลังสุดท้ายก็ถูกทำลายลงหมดหนทางจะเยียวยา จึงถูกปล่อยรกร้างจมดินเป็นเวลา ๖๒๔ ปี
    พ.ศ.๒๔๐๓ ท่านเซอร์คันนี่งแฮมจึงได้ขุดค้นเจอซากของมหาวิทยาลัยตามคำบอกที่พระถังซำจั๋งเขียนไว้ในหนังสือของท่าน
    ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพุทธศาสนาก็ได้เสื่อมและหมดไปจากอินเดียตอนเหนือ และตอนกลาง โดยไม่มีอะไรเหลือให้ปรากฏ นอกจากซากปรักหักพังของสถานที่สำคัญ ของ #พุทธศาสนา และพระพุทธรูปที่ถูกทำลายเป็นส่วนมาก และสิ่งเหล่านี้ก็ได้ถูกทอดทิ้งลบเลือนหายไปจากความทรงจำของชาวอินเดียมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๘๐๐ ปี จึงไม่เป็นการแปลกเลยว่า เพราะเหตุใดชาวอินเดียทุกวันนี้ จึงไม่รู้จักพุทธศาสนา ส่วน #ศาสนาฮินดู และ #ศาสนาเชน นั้นก็ถูกทำลายเช่นกันแต่ไม่ค่อยจะรุนแรงเท่าไรนัก เพราะพระและนักบวชฮินดูมีหลายลัทธิหลายนิกาย บางนิกายไม่ค่อยจะมีความผิดแปลกแตกต่างจากฆราวาสเท่าไรนัก เพราะแต่งตัวเหมือนฆราวาสและมีครอบครัวได้อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน พวกมุสลิมก็รู้ไม่ได้ว่าเป็นพระหรือเป็นฆราวาส ส่วนพระของพุทธศาสนานั้นแปลกจากพระในศาสนาอื่น ๆ การแต่งตัวรู้ได้ง่ายอยู่ที่ไหนก็รู้ได้ง่าย มุสลิมได้เบียดเบียนบังคับให้สึก ถ้าไม่สึกก็ฆ่าเสียเมื่อเป็นเช่นนี้พระในพุทธศาสนาอยู่ไม่ได้ เมื่อไม่มีพระสงฆ์พุทธศาสนาก็หมดไปโดยปริยาย อีกอย่างหนึ่งผู้ที่นับถือพุทธนั้น โดยมากเป็นคนชั้นสูงเมื่อคนชั้นสูงหมดอำนาจ ศาสนาพุทธก็หมดไปด้วย ไม่เหมือนกับศาสนาฮินดูซึ่งผู้นับถือส่วนมากเป็นสามัญชนและศาสนาอยู่ได้ก็เพราะชนพวกนี้
    พ.ศ. ๑๗๔๕ โมหัมหมัด โฆรีก็เสียชีวิตลง ไอบักจึงสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์ (สุลต่าน) แห่งเดลลี พวกเติร์ก หรือตุรกีจึงปกครองอินเดียสืบมา แม้จะเปลี่ยนผู้ปกครองและเชื้อสายบ้างแต่สุลต่านทั้งหมดก็เป็นมุสลิม พวกเขาปกครองอินเดียมายาวนานมากกว่า ๖๐๐ ปี เมื่อไอบัคเสียชีวิตลง บังลังก์ที่เดลลีก็ถูกยึดครองครอง
    #เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ #ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

КОМЕНТАРІ • 1,7 тис.