ฝึกมโนมยิทธิ เปิดตาที่ 3 ได้ผลง่ายๆ อย่างรวดเร็ว เสียงธรรม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 3 жов 2024
  • “มโนมยิทธิ” แปลความตามตัวอักษรได้ว่า “มีฤทธิ์ทางใจ” คือ การรู้ การเห็น การสัมผัส ตามความเป็นจริงด้วยใจ หลักสูตร วิชชา “มโนมยิทธิ” นี้ ปรากฏมีรจนาไว้ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์ เมืองสะเทิมหรือเมืองสุธรรมวดี ซึ่งท่านเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ ที่โบราณาจารย์ท่านรับรองไว้แล้ว
    ดังนั้น จึงขอยืนยันบอกกล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่า วิชชา “มโนมยิทธิ” ไม่ใช่วิชานอกรีต นอกพุทธบัญญัติ
    มโนมยิทธิ ไม่ใช่โอภาส โอภาส คือ แสงสว่างเฉย ๆ อันเป็นผลจากการเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาในหมวดสุกขวิปัสสโก
    มโนมยิทธิ ไม่ใช่อุปาทาน อุปาทาน คือ การคิดเอาไว้ก่อนว่าภาพนั้นเป็นอย่างไร แล้วก็เห็นแบบนั้นพร้อมทั้งยึดภาพนั้นไว้ไม่ปล่อย
    มโนมยิทธิ ไม่ใช่การสะกิดจิต ถ้าเป็นการสะกดจิต ทุกคนต้องรู้เห็นเหมือนกันหมด และทุกคนที่เรียนพร้อมกัน ต้องทำได้ แต่ความจริงผลไม่เป็นเช่นนั้น บางคนเพียรเป็นปี ๆ ยังไม่ได้ก็มี บางคนเริ่มปฏิบัติครั้งแรกก็ได้แล้ว และความชัดเจนของการรู้เห็นก็แตกต่างกันด้วย
    กล่าวโดยนัยแล้ว มโนมยิทธิ เป็นส่วนหนึ่งของ อภิญญา ในพระพุทธศาสนา
    ถ้าจะแยกศัพท์แล้ว “ญา” แปลว่า รู้, “อภิ” แปลว่า ยิ่ง หรือ อย่างยิ่ง ดังนั้น “อภิญญา” ก็มีความหมายว่า “ความสามารถในการรู้ ยิ่งกว่าอารมณ์ของบุคคลธรรมดา จะรู้ได้” นั่นคือ บุคคลธรรมดาจะมีความรู้เสมอ ไม่ได้ เช่น เรื่อง ผี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน รู้เรื่อง เทวดา พรหม นิพพาน จนกระทั่งสามารถท่องเที่ยวไปตามภพภูมิต่าง ๆ สถานที่ต่าง ๆ ได้ หรือว่าถ้าอยากรู้อารมณ์จิตของบุคคลใด ใครพูดที่ไหนว่าอย่างไร ใครคิดอย่างไร เราก็รู้ได้
    คำว่า “ไม่รู้” ไม่มี ถ้าจิตใจของท่านเข้าถึงอารมณ์ของอภิญญาจริง ๆ และอารมณ์ของอภิญญาจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัย สมาธิจิต นั่นคือ ความมีฤทธิ์ทางใจ จะมีแก่ท่านได้ ต้องอาศัยการฝึกจิต กระทำจิตของตนเองให้มีฤทธิ์ มีอำนาจสามารถรู้เห็นด้วยใจ หรือสัมผัสด้วยใจได้ทุกอย่าง ที่พึงรู้และพึงเห็น เป็นต้นว่า รู้เห็นการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของสัตว์ที่วนเวียนอยู่ในภพภูมิต่าง ๆ จนกว่าจะออกจากวัฏฏสงสาร สู่แดนพระนิพพานเสียได้ รู้เห็นเหตุอันนำให้ไปเกิด ไปจุติปฏิสนธิ ในภพภูมิต่าง ๆ และรู้ปัจจัยที่นำไปสู่ความหลุดพ้นคือพระนิพพาน
    การเห็น เป็นการรับสัมผัสหรือเห็น ด้วยจิต ที่บางท่านเรียกว่า เห็นด้วยตาใน มิใช่มองเห็นด้วยตาเนื้อ อันเป็นหนึ่งในอวัยวะสุดหยาบของขันธ์ ๕ ร่างกายของสัตว์โลก
    การไป ท่องเที่ยวตามแบบ มโนมยิทธิ นี้ มิได้ยกเอากายหยาบไป แต่ใช้ กายใน หรือ อทิสสมานกาย ซึ่งมีสภาพเป็นทิพย์ และมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป ตามความสะอาดของจิตของแต่ละบุคคลในขณะนั้น เช่น เป็นมนุษย์ เทวดา พรหม หรือ วิสุทธิเทพ
    มโนมยิทธิคืออะไร
    "มโนมยิทธิญาณ คือ ปัญญาที่ทำให้เกิดฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ สามารถนิรมิตกายอื่นขึ้น นอกจากกายนี้ ให้เหมือนกับกายที่เป็นอยู่ เป็นต้น ดังอุปมาเรื่อง งูกับคราบของงู เป็นต้น ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชชา ๘ ของผู้สำเร็จเฌานขั้นสูงสุด ชำนาญ จนคล่องแคล่ว ดังนั้นผู้ที่จะมีฤทธิ์ดังกล่าวนี้ได้ ต้องเจริญฌานทั้งรูปฌาน และอรูปฌาน และมีความชำนาญมากครับ และก็เนรมิตรูปอื่น ด้วยใจที่ออกจากฌานสูงสุด รูปนั้นก็เหมือนกับรูปที่คิดไว้ และเหมือนกับรูปของตนทุกประการ เป็นต้นครับ เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องของปัญญาระดับสูงที่อบรมฌานจนถึงขั้นสูงสุด ที่สำคัญ..
    เรื่องของฤทธิ์ทางใจ (มโนมยิทธิ) เป็นผลของการอบรมฌาน จนถึงความชำนาญคล่องแคล่ว"
    คนที่ฝึกได้ สาเหตุเพราะ
    ก. ฟังครูฝึกแล้วทำตามทันที
    ข. ขณะฝึกไม่สงสัย วางใจเป็นกลาง
    ค. ก่อนฝึกได้พักผ่อนเพียงพอ
    คนที่ฝึกได้ สาเหตุเพราะ
    ก. ในขณะฝึกไม่สนใจเสียงร้องของคนข้างๆ
    ข. ภาวนา "นะมะพะทะ" โดยไม่ต้องรู้ลมหายใจ ร่างกายสั่นก็ไม่สนใจ
    ค. ไม่กังวลพิธีกรรม เช่น รอน้ำมนต์มาพรม หรือรอคฑามาแตะ
    ง. ตัดความห่วงใยในร่างกาย เมื่อเห็นแสงจึงพุ่งตามไปทันที
    ฆ. ตั้งอารมณ์ไว้ก่อน ว่าจะไปที่พระจุฬามณี แต่เวลาทำไม่อยากเกินไป
    จ. บางคนเคยฝึกได้แบบ "ครึ่งกำลัง" มาก่อนแล้ว จึงเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
    ง. เข้าใจคำว่า "ทิพจักขุญาณ" * (คืออารมณ์รู้สึก ไม่ใช่เอาตาไปเห็น)
    ฆ. เวลาฝึกไม่ตั้งใจเห็นจนเกินไป ได้ก็ได้..ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
    ถ้าวางอารมณ์ถูกต้องตามที่หลวงพ่อสอน จะได้ทุกคน ไปวันแรกก็ได้แล้ว วันที่สอง ฝึกท่องเที่ยว วันที่สาม ฝึกญาณ ๘ วันต่อไปกลับไปทำที่บ้าน ตั้งอารมณ์ไว้แค่ "พระโสดาบัน" หมั่นขึ้นไปที่วิมานบ่อยๆ ทำเล็กๆ น้อยๆ ดังนี้
    1. นึกถึงความตายอยู่เสมอ
    2. รักษาศีล 5 เป็นอัตโนมัติ จนไม่ต้องระวัง
    3. จิตนึกถึงคุณพระรัตนตรัย และ "คุณพระนิพพาน" อยู่เสมอ
    แหล่งที่มาบทความ
    1.สอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง) watthasung.com
    2.มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา dhammahome.com

КОМЕНТАРІ • 18