FastFish EP.30 How to เก่งภาษา: ด้วยวิธี "เรียนแบบไม่ได้เรียน" ของ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 21 сер 2024
  • How to เก่งภาษา: เคล็ดลับการเรียนภาษาต่างประเทศด้วยวิธีการ "เรียนแบบไม่ได้เรียน" ของ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน พิธีกรและผู้ประกาศข่าวชื่อดัง อดีตผู้บริหารด้านสื่อสารองค์กรชั้นนำ เช่น SCB BMW ที่สามารถพูดได้ถึง 5 ภาษา คือ อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี ไทย และจีน
    .
    แต่ก่อนจะมาถึงวันนี้ เขาเคยเป็น “เด็กอ่อนภาษา” ที่เป็นไม้เบื่อไม้เบากับภาษาอังกฤษ ถึงขนาดทำให้สอบตกขณะเรียนต่อปริญญาโท ปีแรก ที่ประเทศอังกฤษ เพราะฟังอาจารย์พูดไม่รู้เรื่อง และอ่านตำราที่เป็นภาษาอังกฤษไม่ออก
    .
    จุดพลิกผันสำคัญ มาจากพี่สาวที่แนะให้เขาเลือกเรียนภาษา โดยเริ่มต้นจากสิ่งที่ชอบก่อน นั่นคือกีฬาฟุตบอล และภาษาอิตาลี ที่กลับทำให้เขามีความสนุกกับการเรียนภาษาอิตาลี ด้วยวิธีการเรียนด้วยตัวเอง (self-study) ผ่านเทปคาสเซ็ทสอนภาษาอิตาลี และจากการดูกีฬาฟุตบอล และอ่านหนังสือกีฬา
    .
    ในรายการ FastFish Podcast EP.30 "เทคนิคการ “เรียนแบบไม่ได้เรียน” ของ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน พิธีกรที่พูดได้ 5 ภาษา" ดำเนินรายการโดย ดร.สิรยา คงสมพงษ์ Master Trainer, SEAC (เอสอีเอซี: ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน) ดร.วิทย์ได้แนะเคล็ดลับ ทิปส์ และเทคนิคในการเรียนภาษา “แบบธรรมชาติ” หรือเรียนจากใจชอบ ที่พอสรุปได้โดยดังนี้
    .
    1.“Learn by heart, but not by head”
    หาสิ่งที่คุณชอบแล้วเอาไปโยงเข้ากับภาษาที่คุณต้องการจะเรียน หรือประเทศที่จะไปศึกษาต่อ
    .
    2.ใช้วิธีเรียน “แบบธรรมชาติ”
    เช่น ถ้าคุณชอบฟุตบอลอิตาลี แบบ ดร.วิทย์ คุณจะมีแรงผลักดัน จากความใคร่รู้ในเรื่องราวที่เกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล ไม่ว่าจะเป็นการดูแมทช์การแข่งขัน จากการอ่านหนังสือกีฬา หรือการเสพสื่อต่างๆ ที่จะทำให้คุณได้เรียนภาษาไปด้วยอย่างเพลิดเพลิน หรือ “เรียนแบบไม่รู้ตัวว่าเรียน”
    .
    3.เรียนด้วยตัวเอง (self-study)
    แต่ละท่านอาจมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน แต่สำหรับดร.วิทย์เขานิยมการเรียนด้วยตัวเอง เพราะรู้สึกว่าไม่กดดัน หรือโดยเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ โดยในสมัยนั้นเขาใช้วิธีการเรียนภาษาจากเทปคาสเซ็ท ที่มีบทเรียนสอนการพูด และฟังภาษาอิตาเลียนโดยเจ้าของภาษา
    .
    อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยี และเครื่องมือ เช่น ยูทูป และแอพ เรียนภาษาที่ทรงประสิทธิภาพมากมาย
    .
    4.ฝึกการฟัง และพูด ก่อนการเรียนไวยากรณ์
    .
    5.มีความเชื่อมั่นในตัวเอง
    กล้าพูด ไม่ต้องอายว่าจะพูดผิดไวยากรณ์ ขอเพียงให้สื่อความให้ได้ก่อนในขั้นแรก
    .
    6.ให้ความสนใจกับ intonation หรือการเน้นออกเสียงให้ถูกต้อง เพื่อให้คนอื่นสามารถฟังเราเข้าใจได้
    .
    *อยากเก่งภาษาเหมือน ดร.วิทย์ ## พิเศษ ELSA สตาร์ทอัพ ซีรี่ย์ A จาก Silicon Valley ออกแคมเปญช่วยเหลือสังคมช่วงวิกฤตโควิด-19 มอบสิทธิการฝึกพูดภาษาอังกฤษกับ AI ฟรีเป็นเวลา 3 เดือนแก่ นร.ป.1-ปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนภายใน 13-27 เม.ย.63 (ติดตามรายละเอียดได้จากเฟสบุ๊ค SEAC)
    .
    ฟัง FastFish พอดแคสต์ของคนปลาไว ได้หลายช่องทาง
    Apple Podcast
    bit.ly/FastFis...
    Podbean
    bit.ly/FastFis...
    Spotify
    bit.ly/FastFis...
    Google Podcast
    bit.ly/FastFis...
    SEAC Homepage
    www.seasiacent...
    -------------------------------
    Credit
    The Host: เก๋ - สิรยา คงสมพงษ์
    Show Creator: อาร์ต - พิชญ ช้างศร
    Sound Designer & Engineer: เอิร์ธ - ร่มธรรม มานะตั้งสกุลกิจ
    #How to เก่งภาษา #ดร.วิทย์ #สิทธิเวคิน #เรียน #แอพ #ELSA #SEAC #podcast #fastfish #YourNextU #Online Learning #LifelongLearning #EmpowerLiving #อัพสกิล
    .

КОМЕНТАРІ • 18

  • @jzbkk1019
    @jzbkk1019 Місяць тому

    จังหวะสำคัญ ผู้ดำเนินรายการ ควรให้เกียรติแขกรับเชิญ เป็นผู้ฟังที่ดี อย่าแย่งพูดครับ! เสียงทับกันแล้วฟังแขกพูดไม่รู้เรื่อง ไม่ต้องตื่นเต้นกับความคิดที่ผุดในหัวจนอยากจะรีบแสดงความเห็นทันที รอให้แขกพูดจบก่อน จะได้รู้ว่าเขาต้องการสื่อสารว่าอย่างไร
    ยิงคำถามไปก่อนได้ตามที่เตรียมไว้
    แต่ถ้าจะสรุปประเด็น รอสรุปช่วงท้ายทีเดียวดีกว่า เสียงผู้ถามแหลมเล็กเสียงไมค์ดังกว่าด้วย ยิ่งน่ารำคาญไปใหญ่ รบกวนช่วยพิจารณาปรับแก้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

  • @wittayakanjanakanho6952
    @wittayakanjanakanho6952 Рік тому +2

    พิธีกรพูดแทรกจังหวะที่อาจารย์เขาอธิบาย เสียงดังไปครับ จนบางครั้งฟังแล้วจับความไม่ได้ต้องมารีดู
    ด้วยความเคารพนะครับผม

  • @zelfiroze
    @zelfiroze 2 роки тому +3

    ขอบคุณอ.วิทย์ครับ ผมว่าแรงบันดาลใจที่ดีที่สุดคือคนที่เริ่มจากไม่เก่งเลย มาเก่งแบบอาจารย์ครับ มันทำให้หลายๆคนเชื่อมโยงกับตัวเค้าได้และมองเห็นความเป็นไปได้มากกว่าคนที่มาถึงก็เก่งเลยครับ ศิษย์รุ่นน้องซ.ค. ขอคารวะครับ🙏☺️

  • @seguiiltuocuorefollowyourh3693

    ชื่นชอบในความพยายามและความใจกว้างของดร.วิทย์ มากค่ะ การเรียนภาษาต่างประเทศได้ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการเปิดใจกว้างที่จะเข้าไปสัมผัสเรียนรู้ภาษานั้น ส่วนตัวเห็นคนไทยหลายคนยังติดกับดักวาทกรรมที่ว่า ภาษาต่างประเทศ = อังกฤษ หรือไม่ก็ จีน เรียนแล้วอนาคตดี มีงานทำ ส่วนภาษาอื่นๆ เรียนไปทำไม เรียนไปไร้ประโยชน์ เลยกลายเป็นการสถาปนาความชอบธรรมและอภิสิทธิให้แก่คนกลุ่มหนึ่งที่รู้แค่ภาษาอังกฤษหรือจีนให้มีอำนาจเหนือกว่าคนอีกกลุ่มหนึ่ง อันนำไปสู่การด้อยค่าภาษาและวัฒนธรรมของคนกลุ่มนั้นค่ะ นี่ก็เรียนจบภาษาอิตาเลียนมา โดนคนที่จบเอกอังกฤษค่อนขอดว่า เรียนทำไม ภาษาตาย ไม่มีใครใช้ ไม่มีใครเรียนกัน

  • @naretklomjan8108
    @naretklomjan8108 Рік тому

    ได้ความรู้มาก ครับ

  • @chaiyakam70
    @chaiyakam70 2 роки тому

    ขอบคุณมากค่ะ ได้ข้อคิดที่ดีมากๆ

  • @chantrathipwancharoenthain1090

    ขอบคุณคะ

  • @ananthachaiphetthong4119
    @ananthachaiphetthong4119 8 місяців тому

    ผมชอบภาษาตระกูลละตินโดยเฉพาะภาษาอิตาลี

  • @chatmongkhonpakthongchai9734

    พูดภาษาจีนหน่อยครับ

  • @user-hv2mu6zp6c
    @user-hv2mu6zp6c 2 роки тому +4

    นับเราไปด้วย ....สมัยมัธยม อังกฤษเรา F ทุกเทอม .....ตอนหลังเราพูดได้เพราะ >>> เราเรียนเอง แบบไร้แรงกดดัน
    สารพัดสขา ...เราจะทำได้เร็ว ทำได้ดี ตอนที่ "อยู่นอกห้องเรียน และ ไม่มีครู"

  • @tomkitti916
    @tomkitti916 4 роки тому +4

    พูดไม่ค่อยได้ ฟังไม่รู้เรื่อง อ่าน text ไม่รู้เรื่อง แล้วทางมหาลัยที่อังกฦษรับเข้าเรียนปริญญาโทได้ไง มันต้องผ่าน ielts ได้ไง งง มากกกกกกก

    • @BTS-Thailand
      @BTS-Thailand  4 роки тому

      ไม่แน่ใจสมัยนั้นยังไงนะครับ

    • @zelfiroze
      @zelfiroze 2 роки тому +1

      ผมเดาว่าสอบกับชีวิตประจำวันมันอาจจะไม่จำเป็นต้องเหมือนกันครีบ เหมือนที่บางคนเรียกเก่งเฉพาะในห้องสอบ การสอบปัจจัยแน่นอน รู้ว่าถามอะไร จะตอบอะไร มันเลยมีคนติวสอบได้ แต่ชีวิตจริงแัจจัยร้อยแปดไม่รู้เลยว่าเค้าจะพูดอะไร ผมว่าครับ

    • @RomiSalek
      @RomiSalek 2 роки тому +2

      เพื่อนเราคนจีนเยอะแยะ โตมากับการแข่งขันด้วยการสอบ เรื่องสอบไว้ใจได้ ผ่านหมด ไอเอล โทเฟลสอบได้หมด แต่เวลาฟังพูดจริงๆมึนไปหมด บางคนเค้าไปติวมาเพื่อสอบโดยเฉพาะ เลยไม่แปลกที่พอสถานการณ์จริงกลับเอาตัวรอดไม่ได้ เพราะวัตถุประสงค์การใช้งานมันต่างกัน

    • @yyw.6197
      @yyw.6197 2 роки тому +4

      เคยไปเรียนสเปนที่ซาลามังก้า ประเทศสเปน เดือนแรก.พูดเร็วลบกระดานเร็ว เราเลยบ่นกันเพื่อนชาวเยอรมัน นางบอกว่าเราโง่เองแต่ไปโทษคนสอน เราเลยโหมอ่านหนังสือ ท่องตำราอย่างหนัก เดือนถัดมาคะแนนเทสเราได้ที่หนึ่งในห้อง

    • @user-zt6qe8ep9k
      @user-zt6qe8ep9k 2 роки тому +1

      @@RomiSalek ที่ดร.วิทย์ เรียนมันเหมาะสำหรับใช้ในการพูดการฟังใช้ไหมครับ แต่ถ้าเน้นเรื่องไวท์ยากรแบบที่เราเรียนกัน เหมาะสำหรับใช้ในการเขียน เช่นเขียนบทความต่างๆ หรือว่าอย่างไรครับ ช่วยอธิบายหน่อย