การพัฒนาหน่วยบริการทางการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดศรีสะเกษ (SSK MODEL)

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 16 вер 2024
  • การพัฒนาหน่วยบริการทางการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน SSK Model
    การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาครบทั้ง 5 ขั้นตอนเพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันและก่อให้เกิดการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทางโรงเรียนจึงได้สร้างรูปแบบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา คือ รูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามหลักของ“SSK Model” ดังนี้
    1.ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันวางระบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยเน้นการทำงานเป็นทีมและการสร้างเครือข่ายทางการดำเนินงาน คือ
    - จัดโครงสร้างและคณะกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
    - จัดทำแผนงาน/โครงการ/ปฏิทินปฏิบัติงานตามแผนที่ชัดเจน
    - กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาและการบริหารงานสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา
    - พัฒนาครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความสามารถในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
    - ให้การศึกษาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ปกครอง (Parent Education) ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
    - สนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ได้แก่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์สื่อ เครื่องมือต่าง ๆ
    2.คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะทำงานทุกคนมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม (Teamwork) มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบและติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด มีการประชุมหารือร่วมกันและสรุปผลหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานและการแก้ไขปัญหาร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
    3.ครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษาและผู้ปกครองนักเรียนทุกคนได้ทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ในการให้ความร่วมมือในการติดตามและดูแลช่วยเหลือผู้เรียนร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อปลูกฝัง ส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
    4.ศูนย์ฯจัดให้มีศูนย์ประสานงานเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ของนักเรียนซึ่งศูนย์ฯได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
    5.ศูนย์ฯได้จัดให้มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างทั่วถึง 100% (ภาคเรียนละ 1 ครั้ง)
    6.ศูนย์ฯจัดให้มีการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนภาคเรียนละ 1 ครั้ง
    7.ศูนย์ฯจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
    8.ศูนย์ฯจัดโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
    9.ศูนย์ฯจัดโครงการปลูกฝังความเป็นไทยและความเป็นท้องถิ่นโดยนำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางชาติ ศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้านและประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
    10.ศูนย์ฯจัดโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีค่านิยมหลัก 12 ประการ
    11.ศูนย์ฯจัดโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะชีวิตและงานอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์ของพระราชา
    12.ศูนย์ฯจัดโครงการส่งเสริมนักเรียนเพื่อพัฒนาด้าน กาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา โดยใช้กีฬา ศิลปะ
    13.ศูนย์ฯจัดโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข
    14.ศูนย์ฯจัดโครงการศูนย์ฯปลอดขยะ ปลอดภัย
    15.ศูนย์ฯจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
    16.ศูนย์ฯจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสานำพาสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
    17.ศูนย์ฯจัดโครงการปลูกฝังอัตลักษณ์
    18.ศูนย์ฯจัดหาทุนการศึกษาจากภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง/ห้างร้าน/ส่วนราชการ/ชุมชน/ผู้นำชุมชน/องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อมอบให้กับนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เช่น การสร้างบ้าน และปรับปรุงบ้าน
    19.ครูและบุคลากรทางการศึกษามีเจตคติที่ดีและมีความรู้ ความสามารถ มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครูในการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน
    20.ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นที่ยอมรับของสังคม ชุมชน และท้องถิ่น
    21. ศูนย์ฯได้ทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ในการให้ความร่วมมือพัฒนาหน่วยบริการช่วยเหลือเด็กพการเเละเด็กโอกาสระดับจังหวัด โดยหัวหน้าส่วนราชการและผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

КОМЕНТАРІ •