การหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน
Вставка
- Опубліковано 5 лют 2025
- การหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic respiration)
เป็นกระบวนการที่เซลล์ย่อยสลายอาหาร ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน
ทำให้เกิดกระบวนการหมัก (fermentation)
ในสิ่งมีชีวิตมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ
1. การหมักกรดแลกติก (lactic acid fermentation)
ในมนุษย์มักพบที่เซลล์กล้ามเนื้อ ในขณะที่มีการใช้งานหนัก เช่น การออกกำลังกาย
หากมีการสะสมกรดแลกติกในกล้ามเนื้อมาก จะทำให้เกิดการเมื่อยล้า และอาจเป็นตะคริวได้
2.การหมักแอลกอฮลล์ (alcohol fermentation)
พบในเซลล์ยีสต์ ซึ่งกระบวนการนี้จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และเอทานอล เป็นผลิตภัณฑ์ด้วย
ในการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจนจะได้พลังงาน 2 ATP ซึ่งน้อยกว่าการหายใจแบบใช้ออกซิเจนที่ได้พลังงาน 30-32 ATP
ทั้งนี้ตามงานวิจัยที่ทันสมัยขึ้น พบว่า
การสลายน้ำตาลกลูโคส 1 โมเลกุลจะสร้างได้
30-32 ATP เนื่องจาก
NADH สร้างได้ 2.5 ATP
FADH2 สร้างได้ 1.5 ATP
การสลายน้ำตาลจะได้
4 ATP
10 NADH = 10x2.5 = 25 ATP
2 FADH2 = 2x1.5 = 3 ATP
รวมทั้งหมด 32 ATP
อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ Biology :A global approach (2018) ผู้แต่ง Campbell และคณะ
อย่างไรก็ตามข้อมูลเดิม
การสลายกลูโคส 1 โมเลกุล จะได้พลังงาน
36-38 ATP เนื่องจาก
NADH สร้างได้ 3 ATP
FADH2 สร้างได้ 2 ATP
หากคลิปนี้มีเสียงเอฟเฟคที่ดังเกิน หรือ ดร.พู่กัน พูดเร็วไป ต้องกราบขออภัยอย่างสุดซึ้ง เนื่องจากคลิปนี้เป็นคลิปแรกๆ ที่ ดร.พู่กันทำ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีประสบการณ์ในการตัดต่อ และทำคลิปให้ความรู้
โดยคลิปที่โพสต์ในปี 2020 เป็นต้นไป ดร.พู่กันได้ปรับปรุง ด้วยการลดเสียงเอฟเฟค และพูดให้ช้าลงแล้วค่ะ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทุกคลิปมีเหมือนกันคือ ความทุ่มเท ความตั้งใจในการส่งมอบความรู้ทางชีววิทยาที่เข้าใจง่าย และเห็นภาพชัดเจน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ชมคลิปทุกคนจะได้รับความรู้ทางชีวิวทยาที่มากขึ้น สามารถนำไปใช้ได้ในการเรียนนะคะ :)
ได้ชีวะเกรด4ก็เพราะช่องดีๆแบบนี้แหละครับ ขอบคุณครับ😁
สุดยอดเลยค่ะ
ดีใจด้วยนะคะที่ได้เกรด 4 ชีวะ 👍🏻😀
หมักแบบไหนให้ได้อะซิโตนคะ
@@EasybiologybyDrPukan หมักแบบไหนให้ได้อะซิโตนคะ
⚪
ตอนเรียนในห้องเรียนไม่ค่อยเข้าใจ พอมาดูคลิปดร.พู่กันสอนเข้าใจเลยค่ะ 🙏🏻💗
เข้าใจง่ายมากๆเลยค่ะ อาจารย์ของหนูก็ใช้คลิปของดร.พู่กันเป็นสื่อการสอน เป็นกำลังใจให้ในการทำคลิปนะคะ
ดร.พู่กันสรุปองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ครอบคลุมและเข้าใจง่ายมากเลยครับ อธิบายอย่างเป็นขั้นตอน นึกภาพตามได้เลยครับ ตอนเรียนในห้องยัง งง อยู่ครับ แต่ตอนนี้เข้าใจมากเลยครับ ขอบคุณ ดร. มากเลยนะครับผม เป็นกำลังใจในการทำคลิปของ ดร. พู่กัน อีกนะครับผมมม
ขอบคุณมากครับ ผมเคยสงสัยมาตลอดว่าทำไมถ้าวันไหนออกกำลังหนักมันถึงได้กลิ่นเหมือนกลิ่นละมุดอ่อนๆลอยออกมา ที่แท้คือผลพวงของการหายใจไม่เต็มที่ทำให้ร่างกายเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจนมากกว่า เลยเกิดแอลกอฮอล์ข้างใน ขอบคุณมากครับ🙏
ขอบคุณมากครับ ชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย สื่อประกอบก็สวยงามน่ารักดีครับ เป็นกำลังใจให้ทำคลิปดีๆต่อไปนะครับ
เป็นการอธิบายที่ดีมากเลยค่ะชอบมากเข้าง่าย มีทับศัพท์ด้วยทำคลิปดีๆอย่างนี้นานๆนะคะ สู้ๆค่ะเป็นกำลังใจให้😀😀
ขอบคุณสำหรับกำลังใจในการทำคลิปให้ความรู้นะคะ ❤️❤️❤️
🙏🏻🙏🏻🙏🏻
ผมฟังรอบเดียวเข้าใจ💞💕เลยครับ
อธิบายเข้าใจมากเลยค่ะ ไปพรีเซ้นคุณครูก็ชมมาเพราะฟังสรุปจากพี่ค่ะ 💕
ขอบพระคุณดร.พู่กันมาก ๆ เลยค่ะ
สอนเข้าใจง่ายมากเลยค่าาา 🙏🏻💕✨
ขอบคุณมากๆเลยค่ะ สอนง่ายและเข้าใจ สรุปได้ดีมากๆเลยค่ะ
สอนเข้าใจมากๆเลยค่ะ ไขข้อข้องใจได้ตรงจุดเลยค่ะ
เข้าใจง่ายมากๆเลยค่ะ มีการสรุปในตอนสุดท้ายให้เห็นภาพรวมด้วย
อยากได้เรื่องการย่อยโปรตีนกับไขมันให้ได้พลังงานค่ะดร.พู่กัน
ปล.ดูก่อนสอบมาเรื่องแล้ว เข้าใจง่ายมากๆเลยค่ะ💖
ครูสอนในห้องไม่ค่อยเข้าใจ พอฟังคุณครูพู่กันสอนใน 5-6 นาทีอ๋อเข้าใจเนื้อๆทั้งนั้นเลยค่ะขอบคุณมากๆนะคะ😘🤗😊
สอนเข้าใจมากค่ะ อ่านหนังสือแล้วทวนดูคลิปเข้าใจมากๆขอบคุณค่ะ
ดร.พู่กันคะ หนูอยากดูเรื่องโครงสร้างของพืชค่ะ หนูดูครบทุกคลิปแล้วง่าา ชอบมากๆเลยค่ะ จากคนที่ไม่ตั้งใจเรียนชีวะ กลับกลายเป็นว่า เข้าใจมากขึ้นและพอมาอ่านกับหนังสือชีวะ ทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นไปอีก ติดตามเรื่อยๆนะคะ 💗💗
ดีใจจังเลยค่ะที่หนูทุกคลิป
และขอบคุณสำหรับคำแนะนำ ดร.พู่กัน จะพยายามทำคลิปเรื่องพืชให้มากขึ้น
แต่ถ้าช้าไปบ้าง อย่าว่ากันนะคะ เพราะ ดร.พู่กัน ตัดต่อเอง และทำเองทุกขั้นตอน
และขออวยพรให้หนูสอบวิชาชีววิทยาได้คะแนนเยอะๆ นะคะ ❤️
สอนเข้าใจดีมากๆเลยครับ
เข้าใจง่ายดีค่ะ ทำคลิปได้ดีมากค่ะชอบมาก อัพโหลดคลิปเรื่อยๆนะคะจะติดตามค่ะ 😁
Chananthon Tham ขอบคุณสำหรับกำลังใจในการทำคลิปนะคะ ❤️
นั่งเรียนงงๆมา2เดือน ได้คลิปนี้คลิปเดียวเคลียเลยค่ะ คิดว่าไม่ใช้O2มี 2 ขั้นตอนมาตั้งนาน ขอบคุณมากๆนะคะที่ทำคลิปดีๆออกมา🥺💗
เข้าใจง่าย ภาพสวยไม่น่าเบื่อ ชอบมากเลยค่ะ รอติดตามอยู่นะคะ
เข้าใจง่ายสุดๆเลยครับ
ชอบมาก ได้ใจความไม่น่าเบื่อ
ดร. พู่กัน น่ารักมากครับ
สอนดีมากๆค่ะ
เข้าใจทันทีเลยค่ะดร.พู่กัน
ต่อมลูกหมากโตและการรักษา
น่าดูมากเลยค่า ทำคลิปเรื่อยๆเลยนะคะ รอติดตามค่ะ
อยากให้ทำเรื่อง. การสังเคราะห์แสงครับ...
เข้าใจมากเลยค่าขอบคุณนะคะ
ขอบพระคุณครับ
ทำมาเยอะๆนะครับ
สอนชีวะม.4เยอะๆน่ะคะ ของเล่ม2ปิดเทอมจะได้เข้ามาดูตั้งไว้ค่ะ5555
สวย เก่ง แม่ชอบ
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณมากๆค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ เข้าใจมากเลยค่ะ
ขอบคุณครับผม บุญรักษา
เข้าใจมากเลยค่ะ
อจค่ะ ขอสอบถามว่าขั้นตอนการหมักด้วยยีสต์โดยให้ยีสต์เปลี่ยนเป็นแอลกอฮอลมี4ขั้นตอนคืออะไรบ้างค่ะ
ดีมากเลยค่ะ
❤ครูค่ะ
...ดีมาก ~
สอนเข้าใจมากค่ะ♡ แต่คือมีคำถามว่า ในหนังสือหนูมันบอกว่าการหายใจแบบใช้ออกซิเจนมันได้32-34 แต่ที่ครูสอนที่รร.บอกได้36-38 แล้วที่พี่สอนได้30-34 คืออยากรู้ว่าอันไหนกันแน่T^T
ตามงานวิจัยที่ทันสมัยขึ้น พบว่า
การสลายน้ำตาลกลูโคส 1 โมเลกุลจะสร้างได้
30-32 ATP เนื่องจาก
NADH สร้างได้ 2.5 ATP
FADH2 สร้างได้ 1.5 ATP
การสลายน้ำตาลจะได้
4 ATP
10 NADH = 10x2.5 = 25 ATP
2 FADH2 = 2x1.5 = 3 ATP
รวมทั้งหมด 32 ATP
อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ Biology :A global approach (2018) ผู้แต่ง Campbell และคณะ
* อย่างไรก็ตามข้อมูลเดิม
การสลายกลูโคส 1 โมเลกุล จะได้พลังงาน
36-38 ATP เนื่องจาก
NADH สร้างได้ 3 ATP
FADH2 สร้างได้ 2 ATP
ขอบคุณครับ
ดร.พู่กันคะ กระบวนการหมักเอทานอลนี้มีในเซลล์มนุษย์ไหมคะ🙏
เข้าใจง่ายมากๆค่ะ
ขอบคุณค่ะ🥰
ดูแล้วไม่น่าเบื่อเเถมเข้าใจง่ายกว่าที่ครูสอนเยอะ
ดร.พู่กันคะ🥺🙏
❓ในการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน ขั้นไกลโคไลซิสต้องมีการลงทุน ATP 2 โมเลกุลเหมือนกับการหายใจแบบใช้ออกซิเจนไหมคะ
การหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน ในขั้นไกลโคไลซิสมีการลงทุน ATP 2 โมเลกุล เหมือนกันค่ะ
เคยได้ยินว่าร่างกายสามารถนำกรดแลคติกที่เกิดขึ้นมาใช้เป็นพลังงานต่อได้ เช่น ในนักวิ่งที่มีการสะสมกรดแลคติกในปริมาณที่ร่างกายยังกำจัดทันไม่ทราบว่าจริงหรือเปล่า และมีกระบวนการอย่างไรครับ
ร่างกายสามารถนำกรดแลกติกในกล้ามเนื้อ ไปสร้างเป็นพลังงานได้ค่ะ
แต่จะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้มีการส่งกรดแลกติกในกล้ามเนื้อไปยังตับ. และเซลล์ตับจะเปลี่ยนกรดแลกติก ให้เป็นกรดไพรูวิก และกรดไพรูวิก จะถูกนำไปสร้างเป็นกูลโคส ซึ่งเซลล์สามารถนำไปสร้างพลังงานต่อได้ค่ะ
เรียกวัฏจักรการสร้างพลังงานจากกรดแลกติกนี้ว่า วัฏจักรคอริ (Cori cycle)
ดูภาพวัฏจักรจากลิงค์ด้านล่างนี้ค่ะ
en.wikipedia.org/wiki/Cori_cycle
@@EasybiologybyDrPukan ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ เข้าใจมากขึ้นเลย
@@EasybiologybyDrPukan แต่ถ้ากรดแลคติกถูกสะสมมากเกินกว่าที่ร่างกายจะนำกับไปใช้ทัน ก็จะเกิดตะคริวใช่ไหมครับ
@@pachmanpp705 ใช่แล้วค่ะ การสะสมกรดแลกติกในกล้ามเนื้อปริมาณมากจะทำให้เกิดการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ. และยังเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อค่ะ
ตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายของการสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนมีหรือไม่ ถ้ามีแล้วคือสารใด
ถ้าไม่มีก็ต้องใช้แอลกอฮอล์หรือสารหมักป่าวครับ เพราพอ๊อกซิเจนเป็นต้วเผาผลาญพลังงานนิคร้บ อันนี้ผมไม่แน่ใจนะ
แล้วถ้า Lactate ถูกปล่อยออกมาในกระแสเลือด จะถูกuptake โดยตับเพื่อเปลี่ยนกลับเป็น pyruvate และ glucose อันนี้เรียกว่ากระบวนการอะไรคะอาจารย์
ใช่ cori cycle ไหมคะอาจารย์ เหมือนมันจะเป็นการยัอนกลับกันจากที่อ.อธิบายเรื่องการหมักแลคติคค่ะ
วัฏจักรคอริ (Cori cycle) ค่ะ
ซึ่งเป็นวัฏจักรที่เซลล์ตับจะเปลี่ยน lactate กลับเป็น glucose เพื่อส่งคืนไปยังกล้ามเนื้อ
ขอบคุณค่ะ
อยากทราบว่าถ้าไม่มี oxygen มารับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย จะทำให้ขั้นตอนไหนไม่สามารถดำเนินต่อไปได้หรอคะ แล้วก็ส่งผลเสียยังไงค่ะ
เมื่อไม่มีออกซิเจนซึ่งเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย จะทำให้ NADH และ FADH2 ไม่สามารถส่งอิเล็กตรอนกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนได้
.
ในเซลล์จึงมี NADH และ FADH2 มาก และเหลือ NAD+ และ FAD+ น้อย
.
อย่างไรก็ตาม NAD+ เป็นสารตั้งต้นของปฏิกิริยาการสร้างแอซิติล โคเอนไซม์เอ และวัฏจักรเครปส์. ดังนั้นเมื่อมี NAD+ น้อย ปฏิกิริยาดังกล่าวก็จะไม่เกิดขึ้น.
.
ดังนั้น เมื่อไม่มีออกซิเจน จึงเกิดปฏิกิริยาในขั้นไกลโคไลซิสเท่านั้น และเกิดกระบวนการหมักเพื่อลดปริมาณ NADH และนำ NAD+ กลับมาใช้ใหม่
.
ข้อเสียที่เกิดขึ้นคือ การสลายกลูโคสโดยการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน ได้พลังงานต่อเซลล์น้อยกว่าการหายใจโดยใช้ออกซิเจนมาก อีกทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังมีความเป็นพิษต่อเซลล์ด้วยค่ะ
Easy biology by DrPukan ขอบคุณมากค่า
ทำไม NADH มีจำนวนมากแล้ว NAD จึงลดลงครับเพราะว่าอะไรครับ
ทำไมต้องเอา NADH 2.5*10หรอคะ 10นี่มาจากไหนหรอคะ
ในการหายใจแบบใช้ออกซิเจน จะเกิด NADH จำนวน 10 โมเลกุล
โดย NADH 1 โมเลกุล ให้พลังงาน 2.5 ATP
ดังนั้น พลังงานที่ได้จาก NADH คือ
2.5*10
ดูคำอธิบายในคลิปการหายใจแบบใช้ออกซิเจนประกอบนะคะ
ua-cam.com/video/ioy-PT2Ow9g/v-deo.html
มีแบบเปิดสอนพิเศษไหมคะ555
คอร์สสอนพิเศษจะมีเร็วๆ นี้ รอติดตามที่หน้าแฟนเพจ easy biology by drPukan นะคะ
👍👍👍👍👍👍👍👏👏👏👏👏👏👏
⚪⚪
ทำไมหายใจโดยไม่ใช้อ๊อกซิเจน งง
การหายใจระดับเซลล์ค่า
ขอบคุณมากค่ะ
ขอบคุณครับ
มีคริปการหายใจแบบใช้ออกซิเจนมั้ยคะ
Yupared Thongkum มีค่ะ ดูในเพลย์ลิส ของช่องได้เลยนะคะ :)
@@EasybiologybyDrPukan เจอแล้วค่ะ ขอบคุณนะคะ😊
ขอบคุณครับ
หนูสงสัยว่าแอลกอฮอล์กับเอทานอลนี่มันอันเดียวกันมั้ยคะ
junnynoey แอลกอฮอล์มีหลายชนิด แต่ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือ เอทิลแอลกอฮอล์ หรือ เอทานอล. ดังนั้น คนทั่วไปจึงนิยมเรียก เอทิลแอลกอฮอร์ แบบสั้นๆว่า แอลกอฮอล์ ค่ะ
ขอบคุณค่าา🤗
เราสามารถนำน้ำมาผลิตออกซิเจนเพื่อใช้ในการหายใจได้หรือไม่
กระบวนการหมักแอลกอฮอล์แตกต่างจากกระบวนการหมักกรดแลกติกอย่างไรหรอคะ🙏
การหมักแอลกอฮอล์ มีการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แต่การหมักกรดแลกติก ไม่มีการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ค่ะ
ทำไมแล็คโตสถึงไม่เกิดปฏิกิริยาในการหายใจระดับเซลล์แบบไม่มีออกซิเจนโดยการหมักค่ะ
เนื่องจากในกระบวนการหายใจระดับเซลล์ ทั้งแบบใช้ออกซิเจน และแบบไม่ใช้ออกซิเจน จะมีการย่อยสลายน้ำตาลกลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) เป็นหลักค่ะ
ดังนั้น จึงไม่สามารถย่อยสลายน้ำตาลแลกโทสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharide) ได้ แต่จะต้องมีการย่อยแลกโทส ให้เป็น กลูโคส และกาแลกโทส ก่อน ค่ะ
พี่สาวครับเราสามารสร้องออกซิเจนเองได้ไหมครับคือผมอยากรู้
มนุษย์ไม่สามารถสร้างออกซิเจนได้เองค่ะ :)
เราดูยังไงว่าร่างกายส่วนไหนใช้การหมักแบบไหนครับ
ตรวจสอบจากผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาค่ะ
@@EasybiologybyDrPukan ขอบคุณมากครับ
พี่ครับเเล้วถถ้าไม่เกิดกระบวนการเเลกติกมันจะเกิดอะไรขึ้นครับ
เข้าใจมากเลยครับชอบแบบสรุปมากครับขอบคุณครับ
ขอบคุณที่ทำคลิปดีๆแบบนี้มาแชร์ครับ
เหมาะสำหรับนักเรียนระดับชั้นอะไรค่ะ
เป็นเนื้อหาชีววิทยา ม.4 ค่ะ