ผื่นกุหลาบหรือผื่นร้อยวันและยาบรรเทาอาการ

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 16 вер 2024
  • ตัวผู้ลงคลิบ เป็นมาสองครั้ง ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์า-ต้นเดือนพฤษภาคม เหมือนกันทั้งสองรอบ อาการจะกำเริบช่วงค่ำๆจนถึงสายๆของอีกวัน แล้วค่อยๆจางหาย พอค่ำๆก็กำเริบอีกขึ้นตรงจุดอื่นๆ เป็นแบบนี้ โดยทานยาTaraxin บรรเทาอาการไม่ให้ผื่นขึ้นเยอะเกิน ไม่งั้นเวลาเป็นเยอะจะคันยุบยิบๆเหมือนมี เข็มจิ้มตามตัวคันมากกกก ถึงเวลาก็หายไปเอง
    กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง แนะนำ "โรคผื่นกุหลาบ" โรคผิวหนังที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน เป็นโรคไม่ติดต่อที่มีอาการเฉียบพลัน สามารถหายเองได้ มักเกิดในวัยหนุ่มสาว พบไม่บ่อยในเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ
    นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า โรคผื่นกุหลาบเป็นโรคผิวหนังมีอาการเฉียบพลัน ยังไม่มีสาเหตุแน่ชัด พบมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส ผื่นมีลักษณะเฉพาะ รูปร่างกลมหรือรี มีการกระจายเป็นแนวตามร่องบนผิว คล้ายกับลักษณะของต้นสน โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดในคนอายุน้อย โดยเฉพาะช่วงอายุ 10-35 ปี พบได้ในทุกเชื้อชาติ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตรา 2:1
    ผื่นมักเกิดอยู่นานประมาณ 6-8 สัปดาห์แล้วหายได้เอง แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเป็นนานถึง 5 เดือนหรือมากกว่า การวินิจฉัยแยกกับผื่นผิวหนังอักเสบอื่นๆ และมีรายงานว่าการเกิดผื่นกุหลาบในผู้ป่วยตั้งครรภ์ เป็นความเสี่ยงทำให้เกิดการแท้งได้ โดยเฉพาะช่วง 15 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
    ทางด้าน แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ระบุว่า ผื่นแรกมักเกิดขึ้นบริเวณลำตัวและมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งอาจพบบริเวณคอ หรือแขนขาส่วนบนได้ โดยมักจะเกิดนำผื่นอื่นๆ เป็นชั่วโมงหรือวัน ลักษณะเป็นผื่นเป็นสีชมพู สีแซลมอน หรือสีน้ำตาล อาจจะมีขอบยกเล็กน้อย ขนาดประมาณ 2-4 เซนติเมตร แต่บางกรณีอาจมีขนาด 1 เซนติเมตร หรือใหญ่ถึง 10 เซนติเมตร ตรงกลางของผื่นมีขุยขนาดเล็ก ขอบขยายใหญ่ขึ้น ประมาณ 5% ของคนไข้มีอาการนำมาก่อน เช่น ปวดหัว มีไข้ ปวดข้อ และปวดเมื่อย อาจพบตุ่มหนองเล็กๆ ในช่วงแรกของโรค มักไม่พบผื่นบริเวณหน้า มือและเท้า อาการคันในโรคผื่นกุหลาบพบได้ประมาณ 25%
    ผื่นกุหลาบมักไม่มีอาการแสดงและสามารถหายได้เอง โดยไม่ทิ้งร่องรอย การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการเป็นหลัก การใช้ครีมชุ่มชื้นผิวที่เหมาะสม ร่วมกับยาทาสเตียรอยด์ หรือยากินในกลุ่ม antihistamines สามารถช่วยลดอาการคันได้ แต่ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การรับประทานยาในกลุ่มสเตียรอยด์ช่วงสั้นๆ การฉายแสง UVB (Narrowband or broadband) สามารถช่วยควบคุมโรคได้
    อาการโรคผื่นกุหลาบ ผื่นจะขึ้นตามตัว โดยที่สุขภาพทั่วไปยังแข็งแรงดีและมักไม่มีอาการไข้ แต่ในบางรายก็อาจพบอาการนำมาก่อนมีผื่นขึ้น ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ และคลำพบต่อมน้ำเหลืองโต โดยผื่นปฐมภูมิ (ผื่นอันแรก) เกิดขึ้นในช่วง 1 สัปดาห์หรือนานกว่านั้นและผื่นขนาดเล็กจะขึ้นตามมาภายหลัง โดยผื่นปฐมภูมินี้มักมีจำนวนเพียง 1 ผื่น มีขนาดประมาณ 2 - 6 เซนติเมตร ใหญ่กว่าผื่นทุติยภูมิ ผื่นมักจะหายไปได้เองภายใน 2 - 6 สัปดาห์ แต่บางรายอาจมีผื่นอยู่นานถึง 3 - 4 เดือนหรือนานกว่านี้ ทำให้โรคนี้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "โรคผื่นร้อยวัน"
    ลักษณะโรคผื่นกุหลาบ เป็นรูปวงรี รูปไข่ หรือวงกลม ตรงกลางของผื่นมีลักษณะย่น มีสีชมพู สีส้ม หรือสีเนื้อปลาแซลมอน ส่วนบริเวณรอบนอกของผื่นจะเป็นสีแดงเข้ม (ขอบผื่นชัด) ทั้ง 2 บริเวณนี้จะแยกจากกันด้วยขุยหรือเกล็ดบางๆ ที่ขอบของผื่นและมักจะขึ้นบนลำตัว
    การรักษาโรคผื่นกุหลาบ
    ไปพบแพทย์เพื่อวินิฉัยแยกจากโรคอื่น
    หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ผื่นมีอาการคันมากขึ้น เช่น การมีเหงื่อออก การอาบน้ำอุ่น/ร้อนจัดจนผิวแห้ง
    พยายามให้ผิวสัมผัสแสงแดดบ้างทุกวัน จะช่วยให้ผื่นไม่ขึ้นมากและหายเร็ว
    CR:www.posttoday....

КОМЕНТАРІ • 2

  • @Nonnon12k
    @Nonnon12k 11 днів тому

    เป็นเหมือนกันจะมีขุยๆตอนเริ่มหายแต่ไม่อันตรายหายเองอยู่ที่ระยะครับ อาบน้ำเช็ดให้แห้งทาแป้ง

  • @ชายแท้ค่ะ

    ผมเคยเป็นแล้วคับ เป็นแล้วกว่าจะหาย แล้วเหมือนจะเริ่มแดงขึ้นมาอีกรอบ 🥺🥺🥺