สารคดีตอน อนิจจัง​ ทุกข์ขัง​ อนัตตา (Anicca, Dukkha, Anattaa )

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 14 жов 2024
  • These three basic facts of all existence are: Impermanence or Change ( anicca) Suffering or Unsatisfactoriness ( dukkha) Not-self or Insubstantiality ( anattaa ).
    ธรรมะของพระศาสดา ที่เรียกว่า “พระไตรลักษณ์” คือ ความเป็นธรรมดาของโลก ๓ ประการ คือ “อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา” หมายถึง ทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนตกอยู่ในสภาพไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ไม่เว้นแม้แต่ “องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
    ดั่งธรรมะที่พระสุคตประกาศ จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
    แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์
    แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์
    แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์
    แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
    ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
    ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
    มีความปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่น ก็เป็นทุกข์
    ดั่งพระพุทธเจ้า ทรงตรัสกับพระอานนท์ไว้ว่า
    “อานนท์เอ๋ย บัดนี้สังขารอันเป็นเหมือนเกวียนชำรุดนี้เราได้สละแล้ว เรื่องที่จะดึงกลับมาอีกครั้งหนึ่งนั้น ไม่ใช่วิสัยแห่งตถาคต บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พึงใจเป็นธรรมดา หลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์เอ๋ย ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุด สิ่งทั้งหลายมีความแตกดับไปสลายไปเป็นธรรมดา จะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้นเป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปเคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวทุกขณะ”
    การไม่ยึดมั่นถือมั่น มีสติรู้ทันธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง
    การปล่อยวางความทะยานอยาก หรือ กิเลส อันเป็นความเพลิดเพลินที่เกิดขึ้นในทางโลก แล้วสละ ละ วาง เพื่อการมุ่งสู่พระนิพพานนั้น เป็นธรรมชาติที่แท้จริงของธรรมะ
    แต่เมื่อคนเรานั้น บุญรักษา หมั่นเพียรสร้างคุณความดี ผลแห่งบุญก็สร้างปาฏิหาริย์ได้เสมอเช่นกัน ดั่งคำที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นแสงธรรม ผู้ใดเห็นแสงธรรม ผู้นั้นเห็นปาฏิหาริย์
    These three basic facts of all existence are:
    1. Impermanence or Change (anicca)
    2. Suffering or Unsatisfactoriness (dukkha)
    3. Not-self or Insubstantiality (anattaa).
    The first and the third apply to inanimate existence as well, while the second (suffering) is, of course, only an experience of the animate. The inanimate, however, can be, and very often is, a cause of suffering for living beings: for instance, a falling stone may cause injury or loss of property may cause mental pain. In that sense, the three are common to all that is conditioned, even to what is below or beyond the normal range of human perception.
    โดย : ทีมงานรายการสารคดีบุกเบิกอารยธรรมแดนสยาม
    ช่างภาพ : อนุชา สุวรรณรังสิกุล

КОМЕНТАРІ • 4