อริยสจฺจ (อริยสัจจ) คำสอนพระพุทธเจ้า สำนวนแปลไทย

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 11 гру 2024
  • อ้างอิง -
    พระไตรปิฎก
    ฉบับบาลีสยามรัฐ พ.ศ.๒๔๗๐
    "เนื้อหาในส่วนเฉพาะ พระพุทธเจ้าตรัส"
    (อ้างอิง สำนวนแปลแล้วนำมา
    เรียบเรียงใหม่ให้ใกล้เคียง
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ
    พ.ศ.๒๔๗๐)
    -พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (๑)
    -พุทธวจน
    -พจนานุกรม บาลี-ไทย
    แอป E-TIPITAKA
    -พจนานุกรม ไทย-ไทย
    แอป E-TIPITAKA
    ---------------------
    *ศัพท์เฉพาะแปลสำนวน
    (*ฐานข้อมูล ณ
    วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2567
    วันที่ 10 มีนาคม ค.ศ.2024
    10 March 2024)
    อ้างอิง พจนานุกรม ไทย-ไทย
    แอป E-TIPITAKA
    ญาณ (ยาย,ยานะ-,ยานนะ-)คือ
    ปรีชาหยั่งรู้ หรือกำหนดรู้ที่เกิดจากอำนาจสมาธิ , ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ.
    ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์;
    สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฎิบัติ;
    องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
    รู้ตัว คือ
    รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว ,
    รู้มาก่อน เช่น ได้รับแต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว ,
    รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า;
    รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัว เช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน;
    รู้ว่าใครเป็นผู้ทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
    เช่น รู้ตัวคนส่งบัตรสนเท่ห์ รู้ตัวคนส่งดอกไม้มาอวยพรวันเกิด.
    รู้สึก คือ รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุกเท่าไรก็ไม่รู้สึก,
    รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว,
    รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด,เกิดอาการที่รับรู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึกสนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ,เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่าจะมีใครมาหา,
    มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้องยกเลิกบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.
    ความเฉลียวฉลาด คือ มีปัญญา และไหวพริบดี , ฉลาดเฉลียว ก็ว่า.
    ปัญญา คือ ความรอบรู้ , ความรู้ทั่ว , ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด , เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา.
    เรียน คือ เข้ารับความรู้จากผู้สอน รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ หรือความชำนาญ
    เรียนรู้ คือ เข้าใจความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยประสบการณ์
    ประสบการณ์ คือ ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทำหรือได้พบเห็นมา.
    จัดเจน คือ สันทัด , ชำนาญ , มีประสบการณ์มาก , เจนจัดก็ว่า.
    ความเข้าใจ คือ รู้เรื่อง , รู้ความหมาย.
    รู้ คือ แจ้ง , เข้าใจ , ทราบ
    ทราบ(ซาบ) คือ รู้ (ใช้ในความสุภาพ)เช่น ทราบข่าวได้รับทราบแล้ว เรียนมาเพื่อรับทราบ.
    แจ้ง คือ ก.แสดงให้รู้ บอกให้รู้ เช่น แจ้งความประสงค์. ว. กระจ่าง ,สว่าง,ชัด เช่น แจ้งใจ.
    รู้แจ้ง คือ เข้าใจตลอด , รู้ตามเหตุผลอย่างชัดเจน , รู้แจ้งแทงตลอดก็ว่า
    สัตว , สัตว-(สัดตะวะ-),สัตว์(สัด) คือสิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมากมีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง , ความหมายที่ใช้กันเป็นสามัญหมายถึง สัตว์ ไม่ใช่คน,เดรัจฉาน.
    สามัญ , สามัญ-(สามันยะ) , สามัญ-๑ คือ ความเป็นสมณะ เช่น สามัญผล.
    สามัญ,สามัญ-๒ คือ ปกติ , ธรรมดา , เช่น ชนชั้นสามัญ คนสามัญ.
    จิตต(จิดตะ) คือ จิต
    จิต คือ มีหน้าที่รู้ คิดและนึก
    ("รู้แจ้ง" สำนวนพุทธวจน)
    ใจ คือ มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด
    ความคิด คือ รู้ขึ้นในใจ
    ตั้งใจ คือ เอาใจจดจ่อ
    เจตนา คือ ตั้งใจ , จงใจ , มุ่งหมาย
    หมด คือ สิ้น
    สิ้น คือ หมด
    ยินดี คือ ชอบใจ , ดีใจ
    ชอบใจ คือ ถูกใจ , ยินดี , พอใจ
    ดีใจ คือ ยินดี , ชอบใจ , พอใจ
    พอใจ คือ สมใจ,ชอบใจ ,เหมาะ
    ตรึก คือ นึก , คิด
    ใคร่ครวญ คือ ตรึกตรอง,พิจารณา, คิดทบทวน
    ตรึกตรอง คือ ใคร่ครวญ ,
    คิดทบทวน ,ตริตรอง
    ตริตรอง คือ ใคร่ครวญ ,
    คิดทบทวน ,ตรึกตรอง
    -----------------------
    อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้ง หมายถึง ไม่รู้แจ้งในอริยสัจ
    วิราคะ คือ ความปราศจากราคะ , ความ หน่าย , ความไม่ใยดี , พระนิพพาน
    ราค,ราค-,ราคะ คือ ความกำหนัดยินดีในกามารมณ์,ความไคร่ในกามคุณ.
    กำหนัด คือ ความใคร่ในกามคุณ.
    กามคุณ คือ สิ่งที่น่าปรารถนา ห้าประการ รูป , เสียง , กลิ่น , รส , สัมผัส.
    กามเทพ คือ เทพเจ้าแห่งความรัก .
    กาม,กามมะ คือ ความใคร่ในทางเมถุน.
    อยาก คือ ปราถนา , ประสงค์ , ต้องการ , ใคร่
    เช่น อยากเป็นใหญ่เป็นโต,
    อยากมีเงิน ; หิว , กระหาย
    (ใช้แก่อาหาร) เช่น อยากข้าว อยากน้ำ.
    ใคร่ คือ อยาก , ต้องการ , ปราถนา , ใฝ่ ; ใช้เป็นคำกริยาแสดงการขอร้องอย่างสุภาพ เช่น ใคร่ขออนุญาตดำเนินการ.
    ประสงค์ คือ ต้องการ , อยากได้ ;
    มุ่งหมาย , มุ่ง.
    ต้องการ คือ อยากได้ , ใคร่ได้ , ประสงค์.
    ความกระหาย คือ รู้สึกคอแห้งด้วยอยากดื่มน้ำเพราะมีอาการร้อนใน เป็นต้น ; อยากเป็นกำลัง.
    ความดิ้นรน คือ กระตือรือร้นขวนขวาย เพื่อให้พ้นจากความยากลำบาก ความทุกข์ทรมาน หรือเพื่อให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่น ดิ้นรนให้พ้นทุกข์ ดิ้นรนอยากเป็นนั้นเป็นนี้.
    ธิดา คือ ลูกหญิง.
    เมถุน คือ การร่วมสังวาส.
    สังวาส คือ การอยู่ด้วยกัน , การอยู่ร่วมกัน.
    ตัณหา คือ ความทะเยอทะยานอยาก,โดยทั่วไปใช้หมายถึง ความใคร่ในกาม.
    -----------------------
    เพ่งเล็ง คือ มุ่งจะเอา , มุ่งจะติโทษ ,
    มุ่งถึง
    อภิชฌา คือ ความโลภ , ความอยากได้
    โลภ คือ ความอยากได้ไม่รูจักพอ
    โทมนัส คือ ความเสียใจ,ทุกข์ใจ
    -----------------------
    ปราศจาก คือ พ้นไป , ไม่มี
    ละ คือ อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งที่ เกี่ยวข้องอยู่
    ละทิ้ง คือ ละด้วยวิธีทิ้ง
    ทิ้ง คือ ทำให้หลุดออกไป
    ละเว้น คือ งดเว้น
    งดเว้น คือ เว้นด้วยการงด
    หยุดไม่กระทำ หรือ ไม่กระทำตามปกติ
    ------------
    น้ำกาม คือ น้ำเชื้อที่เกิดจากความกำหนัด แล้วเคลื่อนออกมาจากอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย.
    เสียงพากย์
    ระบบอ่านอักษร Android
    จากบริษัทGoogle
    เทปบันทึกนี้
    อนุญาตให้นำไปใช้ต่อได้ทุกกรณี
    โดยไม่ต้องขออนุญาต
    และไม่มีค่าใช้จ่าย
    เพียงช่วยกันรักษาคำสอนดั้งเดิม
    ศึกษา ปฎิบัติ และเผยแพร่
    คำสอนพระพุทธเจ้า

КОМЕНТАРІ •