เชื้อดื้อยา มาจากไหน ทำไมถึงได้ดื้อ

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 18 січ 2024
  • สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
    ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

КОМЕНТАРІ • 194

  • @thisisnathathai
    @thisisnathathai 5 місяців тому +19

    เชื้อดื้อยา มาจากไหน ทำไมถึงได้ดื้อ
    สวัสดีครับ
    ผมคิดว่าหลายคนนะครับคงเคยได้ยินคำว่าเชื้อดื้อยานะครับ แล้วก็คงจะมีคนสงสัยว่าเชื้อดื้อยาตรงนี้เนี่ยมันเป็นเชื้ออะไร?
    มันมาจากไหน?
    แล้วเราติดเข้าไปได้อย่างไร?
    ทำไมมันถึงเกิดแบบนี้ขึ้นมาได้?
    แล้วทำไมหมอถึงบอกว่าเวลาเราทานยาฆ่าเชื้อควรจะต้องทานให้ครบนะครับ มันเกี่ยวอะไรกับเชื้อดื้อยานะครับ?
    วันนี้ผมก็จะมาเล่าให้ทุกคนฟังกันเลยนะครับ
    พบกับผมนะครับ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤตบำบัดนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 5 місяців тому +1

      1️⃣
      คำว่าเชื้อดื้อยาเนี่ยส่วนมากนะครับเราจะใช้หมายถึงเชื้อแบคทีเรียนะครับ แบคทีเรียก็คือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มันมีเซลล์เดียวนั่นเองนะครับ แต่ว่าลักษณะของเซลล์แบคทีเรียจะแตกต่างกับเซลล์ของมนุษย์นะฮะโดยที่มันมีลักษณะหลายๆอย่างที่เราอาจจะต้องไปดูรายละเอียดนะครับ อย่างไรก็ตามแบคทีเรียตัวนี้มันสามารถที่จะต่อต้านยาที่เราให้เขาไปได้นะครับ มันมีหลายเหตุผลและหลายกลไกในการที่มันจะต่อต้านยาที่เราให้เขาไป ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราให้ยาเข้าไปเนี่ยถ้าแบคทีเรียนะครับมันป้องกันไม่ให้ยามันเข้าไปถึงตัวมันได้ยาก็ไม่ได้ผลถูกไหมครับ หรือถ้ามันเข้าไปได้แต่ว่ามันโดนปั๊มทิ้งออกมายาก็เข้าไปแล้วก็ออกมามันก็ไม่มีผลต่อตัวแบคทีเรีย หรือบางกรณีเนี่ยมันเข้าไปปุ๊บมันทำลายทิ้งเลย หรือบางกรณียาบางตัวเนี่ยเข้าไปเพื่อที่จะจัดการกับกลไกบางอย่างของแบคทีเรียตัวนั้นแต่ถ้าแบคทีเรียมันฉลาดมันเปลี่ยนแปลงกลไกของมันมันก็จะทำให้ยาตัวนั้นน่ะใช้ไม่ได้ผลเรียบร้อยแล้วครับ
      ทีนี้เราพอเข้าใจว่ามันมีกลไกหลายๆอย่างที่ทำให้แบคทีเรียเนี่ยมันดื้อยา แล้วจริงๆเนี่ยนะครับทำไมมันถึงเกิดแบบนี้ขึ้น?
      ➡️อันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจละนะครับ เหตุผลที่มันเกิดขึ้นนะครับคือการใช้ยาฆ่าเชื้อขึ้นมาในโลกนี้แหละครับ การที่เรามียาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในตอนแรกสมัยที่เราเจอยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ใหม่ๆเนี่ยไม่ว่าเชื้อโรคตัวไหนเจอยาตัวนี้เข้าไปนะครับตายเกลี้ยงเลย แต่เดี๋ยวนี้ Penicillin มันแทบจะเป็นยาที่มันใช้อะไรไม่ได้ผล มันมีอยู่แค่บางโรคเท่านั้นเองที่สามารถที่จะใช้ Penicillin แล้วยังได้ผลอยู่นะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 5 місяців тому +4

      2️⃣
      เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นนะครับ?
      ➡️คุณเคยได้ยินคำๆหนึ่งไหมครับว่า “อะไรที่ไม่ฆ่าเรา มันจะทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น” นะครับ “What doesn't kill you makes you stronger!” เช่นเดียวกับแบคทีเรียครับถ้ามันไม่ตายสักอย่างแล้วล่ะก็มันจะแข็งแกร่งขึ้นครับ
      ทีนี้การที่จะฆ่าเชื้อแบคทีเรียนี้นะครับมันเกี่ยวอะไรกับยาฆ่าเชื้อ แล้วยาฆ่าเชื้อมันยังไงล่ะครับ คือถ้าสมมติว่าเราให้ยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสมแบคทีเรียมันตายแล้วทำไมมันถึงจะดื้อยาได้ ทำไมการที่หมอหลายๆคนบอกว่าการจ่ายยาฆ่าเชื้อถ้าเราให้โดยไม่สมเหตุสมผลโอกาสในการเกิดเชื้อดื้อยาในอนาคตในคนๆนั้นจะสูงขึ้นนะครับ แล้วก็ไม่ใช่แค่คนๆนั้นมันทั้งโลก ทำไมมันเป็นได้แบบนั้นนะครับ?
      ➡️มันเป็นแบบนี้ครับ สมมติว่าคุณไปหาหมอด้วยอาการเจ็บคอนะครับหลายๆคนจะอยากได้ยาอะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้มันหายเร็วๆนะครับก็บอกหมอ “จ่ายยาแรงๆเลย ถ้าเกิดว่าจ่ายยาไม่แรงในมันหายช้านะครับ” หรือบางทีไปหาหมอหมอเขาบอกว่า “เนี่ยมันเป็นจากการติดเชื้อไวรัสนะมันไม่ต้องกินหรอกยาฆ่าเชื้อยาแก้อักเสบนะครับ” แต่คุณก็ยังจะเอาให้ได้เพราะว่ามีหมอคนหนึ่งเขาเคยให้คุณมาหรือบางครั้งก็บอกว่า “ทุกครั้งพอป่วยมันต้องฉีดยา ต้องได้ยาตัวนี้ถึงจะหาย”

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 5 місяців тому +1

      3️⃣
      สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณได้ยาฆ่าเชื้อเข้าไปมันก็จะไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียนะครับ แต่ในร่างกายคุณไม่ได้มีแบคทีเรียอยู่อย่างเดียวนะครับร่างกายคุณสมมติว่าคุณได้เชื้อแบคทีเรียตัวนึงเข้ามาในการก่อโรคนะครับ คุณกินยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อโรคอาจจะตายไปแต่อาจจะไปไม่หมด ตัวที่ตายไม่หมดนี่แหละครับที่มันหลงเหลืออยู่แม้กระทั่งมันเหลืออยู่ไม่กี่ตัวสัก 5 ตัว 10 ตัวเนี่ยนะครับที่มันยังไม่ตายมันก็จะสร้างความทนทานต่อยาฆ่าเชื้อในอนาคตแล้ว
      ทีนี้เชื้อพวกนี้มันไปไหนล่ะ?
      ➡️มันก็อยู่ในตัวคุณนั่นแหละครับ แล้วยาฆ่าเชื้อเวลาคุณกินหรือคุณฉีดเข้าไปนะครับ เช่น คุณเจ็บคอ มันไม่ได้ไปเฉพาะตรงคอนะครับคุณกินเข้าไปเนี่ยมันเข้าไปในกระเพาะลำไส้ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้วกระแสเลือดเนี่ยมันถึงมาที่คอของคุณนะครับ แต่มันไม่มีมาแค่คออย่างเดียวนะครับมันไปทุกส่วนในร่างกายที่เลือดไปถึง
      แล้วมันเกิดอะไรขึ้น?
      ➡️ในส่วนต่างๆของร่างกายคุณนั้นนะครับมันจะมีแบคทีเรียเจ้าถิ่นอยู่ซึ่งเรียกว่า ไมโครไบโอม(Microbiome) เช่น ในลำไส้ใหญ่ของคุณ ในลำไส้เล็กของคุณก็มีแบคทีเรีย มีสังคมแบคทีเรียซึ่งมันมีแบคทีเรียเยอะแยะมหาศาล เหมือนผิวหนังคุณก็มีนะครับ ในช่องปากคุณก็มี ในปอดคุณก็มีนะครับ
      แบคทีเรียเหล่านี้เนี่ยนะครับมันมีความหลากหลายมีหลายชนิดแล้วถ้าเกิดมาได้ยาฆ่าเชื้อเข้าไปจะเกิดอะไรขึ้น?
      ➡️มันจะมีบางตัวนะครับที่ตายไป บางตัวที่ไม่ตาย

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 5 місяців тому +4

      4️⃣
      แล้วพอการที่เกิดบางตัวตายบางตัวไม่ตายจะเกิดอะไรขึ้น?
      ➡️สังคมของแบคทีเรียเหล่านี้จะเสียสมดุลไปนะครับ
      เสียสมดุลไปแล้วมันเกิดอะไรขึ้น?
      ➡️ตรงนี้สำคัญ มี 2 ประการหลักๆ
      🌀ประการแรกคือมันจะมีแบคทีเรียบางตัวที่เป็นแบคทีเรียในร่างกายคุณเนี่ยมันสร้างการต่อต้านกับยาฆ่าเชื้อเหล่านี้ พอมันสร้างการต่อต้านกับเชื้อเหล่านี้ปุ๊บนะถ้าคุณมีแบคทีเรียตัวใหม่ที่จะก่อโรคให้คุณเข้ามาในร่างกายแบคทีเรียตัวดีของคุณนี้แทนที่มันจะช่วยปกป้องร่างกายคุณนะครับมันอาจจะถ่ายทอดวิธีในการป้องกันยาฆ่าเชื้อให้กับแบคทีเรียตัวใหม่ที่เข้ามาในร่างกายคุณก็ได้ แล้วถ้ามันทำแบบนั้นแล้วเมื่อไหร่ล่ะก็คุณก็จะได้เชื้อที่ดื้อยา ต่อไปคุณก็จะมีปัญหาเชื้อดื้อยาไปเรื่อยๆนะครับยาตัวเดิมที่คุณเคยใช้แล้วได้ผลมันก็จะไม่ได้ผลอีกต่อไปแล้วครับ นี่คือประการแรกนะครับ คือมันสามารถถ่ายทอดวิธีในการต่อต้านยาฆ่าเชื้อได้
      🌀อันที่ 2 คือการที่สังคมของแบคทีเรียในร่างกายคุณนั้นมันเสียสมดุลไปมันก็จะทำให้คุณเกิดอาการต่างๆนานา เช่น บางคนมีอาการท้องเสียนะครับ บางคนมีอาการที่แปลกประหลาดหลายๆอย่าง เช่น รู้สึกเพลีย บางคนน้ำหนักลด บางคนน้ำหนักเพิ่ม บางคนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางสมอง บางคนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจนะครับ เรารู้ว่าสังคมแบคทีเรียในช่องท้องของคน ในลำไส้มันมีความแตกต่างกัน คนอ้วนกับคนผอมแบคทีเรียก็ไม่เหมือนกันนะครับ คนไหนป่วยบ่อยที่ได้ยาฆ่าเชื้อบ่อยๆสังคมแบคทีเรียก็เป็นอีกแบบหนึ่งนะครับ การที่เราไปศึกษาเรื่องพวกนี้มากขึ้นก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องพวกนี้มากขึ้นแต่การไปเปลี่ยนแปลงสังคมแบคทีเรียในตอนนี้มันยังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้ทุกอย่างที่เราทำขึ้นมานะครับ ปัญหาที่เราทำขึ้นมาคือการใช้งานฆ่าเชื้อโดยไม่สมเหตุสมผลนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 5 місяців тому +4

      5️⃣
      ทีนี้เวลาเราใช้ยาฆ่าเชื้อพวกนี้มันมีการส่งต่อยีนที่มันเกิดการดื้อยาได้ระหว่างแบคทีเรียที่อยู่ในตัวคุณนะครับหรือแบคทีเรียที่ติดเข้าไปในตัวคุณใหม่ๆ แต่มันไม่ได้อยู่แค่ตัวคุณครับเพราะว่าแบคทีเรียจากตัวคุณมันก็สามารถไปข้างนอกได้

  • @natjam9659
    @natjam9659 5 місяців тому +7

    ฟังแล้วรู้สึกสิ้นหวังจังเลยครับ 555 หวังว่าอัตราการดื้อยาจะไม่แซงอัตราการประดิษฐ์ยาใหม่ๆนะ วันหลังอยากขอให้หมอทำคลิปอธิบายเรื่องสิทธิบัตรยาคร่าวๆ ว่าเขามีการจัดการยังไงระหว่าง ธุรกิจกับจริยธรรมกันยังไงให้สมดุล

  • @paraneeplanantakuntorn
    @paraneeplanantakuntorn 5 місяців тому +5

    กราบขอบพระคุณคุณหมออย่างยิ่งค่ะ คำว่า”ดื้อยา”หลายคนคุ้นหู แต่หลายคนก็ฟังผ่านๆหูเช่นกัน ครั้นให้นั่งอธิบายกันจริงๆอาจจะพบว่าตัวเองงง และไม่รู้ว่าพฤติกรรมอะไรของเราส่งเสริมทำให้เชื้อดื้อยา แล้วการดื้อยานี่แหละทำให้เกิดผลเสียจนเป็นปัญหาระดับโลกได้ เรียกได้ว่าดื้อยาอาจไม่ใช่เรื่องส่วนตัวที่จะดื้ออยู่คนเดียว แต่มันจะไปพาให้คนอื่นเขาดื้อไปด้วย เพราะดันมีคนเอื้อให้เชื้อตัวธรรมดาในโลกนี้มีโอกาสพัฒนาเป็นเชื้อดื้อยาได้ ในคลิปนี้อาจารย์หมอได้กรุณาเล่าถึงสาเหตุหนึ่งอันเกิดจาก Biofilm ไว้ด้วย ซึ่งฟังคำนี้แล้วอ่อนใจเพราะเป็นปัญหาในทุกวงการ เจ้า Biofilm เป็นสาร Polymers อย่างนึงหลั่งมาจากเชื้อแบคทีเรียเจ้าปัญหาทั้งหลาย ประกอบด้วย extracellular DNA, โปรตีน และโพลีซัคคาไรด์ มีความต้านทานต่อยาปฏิชีวนะสูง อีกทั้งทำความสะอาดกำจัดจากพื้นผิวอุปกรณ์ เครื่องมือ ยากมากด้วย ทำให้เชื้อแบคทีเรียยังคงหลงเหลือปนเปื้อนบนพื้นผิวต่างๆก่อปัญหากับธุรกิจหลายหลาก เพราะ Biofilm กันไม่ให้สารฆ่าเชื้อเข้าถึงตัวเชื้อด้านในตามที่ในคลิปกล่าว เบื้องต้นง่ายที่สุดจะทำความสะอาดพื้นผิวเป้าหมายเพื่อป้องกัน Biofilm โปรแกรมการทำความสะอาดต้องมีความสม่ำเสมอ ใช้ความถี่ที่เหมาะสม โดยสารฆ่าเชื้อที่ความเข้มข้นเหมาะสม ตามธรรมชาติของแต่ละธุรกิจ ไม่ละเลยการทำความสะอาดจน Biofilm ก่อตัวขึ้นมาได้อีก

  • @gaewaleegaewalee7941
    @gaewaleegaewalee7941 5 місяців тому

    ขอบคุณมากๆค่ะคุณหมอ

  • @natthaphatwiphopphnuwat7119
    @natthaphatwiphopphnuwat7119 5 місяців тому

    ขอบคุณคะคุณหมอ 🙏👍❤️🙂

  • @nung-noppapat
    @nung-noppapat 5 місяців тому +1

    ขอบคุณค่ะอาจารย์🙏🥰

  • @user-fg3nl5dm7o
    @user-fg3nl5dm7o 5 місяців тому +4

    คุณหมอคะ ฟังทุกคลิปค่ะ ติดไปแล้ว ต้องดูทุกคลิป ชอบความชัดเจน ของข้อมูล และชอบความชัดเจน ของภาษาไทย ประทับใจมากๆ

  • @wannapornsathonphanit2371
    @wannapornsathonphanit2371 5 місяців тому

    ได้ประโยชน์จากคุณหมอทุกคลิป ขอบคุณ คุณหมอ มากค่ะ

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali 5 місяців тому +1

    😊🌼🍃ขอบคุณมากนะคะ🙏

  • @veenalohhem9146
    @veenalohhem9146 5 місяців тому

    วันนี้เข้าใจที่คุณหมอพูดแล้วค่ะ เรื่องดื้อยา 🙏👍

  • @Maneepatchaya
    @Maneepatchaya 5 місяців тому

    ขอบคุณมากคะ ❤🙏

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 5 місяців тому +1

    😊ขอบคุณอจ.หมอมากค่ะ🐰🍄

  • @patchareeudsaha4497
    @patchareeudsaha4497 2 місяці тому

    ขอบคุณ คะ คุณหมอ ได้ความรู้ มีประโยชน์ มากคะ

  • @user-kz8td5du7h
    @user-kz8td5du7h 5 місяців тому +1

    🙏สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ
    ขอบพระคุณมากค่ะ
    ใช้ประโยชน์มาก ๆ ค่ะ🙏

  • @user-js6ks5ry8o
    @user-js6ks5ry8o 5 місяців тому +2

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ ได้ความรู้มากเลยคะ

  • @__Nie__
    @__Nie__ 5 місяців тому +1

    ขอบคุณ​ค่ะคุณหมอ เรื่องนี้เป็นประโยชน์​มากๆ รีบแชร์ให้คนรอบตัวดูด้วยค่ะ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 5 місяців тому +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ😊😍😍

  • @itsariya.s3145
    @itsariya.s3145 5 місяців тому +1

    ขอบคุณมากกๆค่ะ คุณหมอ ความรู้ดีๆ หาดูได้จากช่องนี้ค่ะ 😊😊

  • @sujinsamolta8458
    @sujinsamolta8458 5 місяців тому +2

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ

  • @somchitpinkaeo2841
    @somchitpinkaeo2841 5 місяців тому

    ขอบคุณมากค่ะ ฟังเชื้อดื้อยาแล้วน่ากลัวนะค่ะ😮😮😮

  • @jackarpong_karbinsing
    @jackarpong_karbinsing 5 місяців тому +1

    ต้องออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอครับ เป็นเกราะคุ้มกันตัวเรา

  • @nongkook-nj7jh
    @nongkook-nj7jh 5 місяців тому

    สวัสดีค่ะ🙏🙏🙏วันนี้เรื่องราวโดนใจค่ะ❤❤❤..ฟังเพื่อแม่ค่ะ..ขอบคุณค่ะคะคุณหมอ

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov 5 місяців тому +3

    ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน
    สำหรับคำอธิบาย เข้าใจง่าย เป็นประโยชน์ค่ะ

  • @KunlayaneeToy
    @KunlayaneeToy 5 місяців тому +1

    ช่วงนี้ อากาศ...เปลี่ยนแปลง คุณหมอแทน ดูแลรักษา สุขภาพด้วยคะ

  • @NANA426-wf7lj
    @NANA426-wf7lj 5 місяців тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ( เสื้อน่ารักอีกแล้ว)

  • @user-js6ks5ry8o
    @user-js6ks5ry8o 5 місяців тому +3

    ขอขอบคุณ

  • @patchanok22
    @patchanok22 5 місяців тому +2

    พอรู้สึกว่าเริ่มเจ็บคอ จะอมสเตร็ปซิลก่อนเลยค่ะ ช่วยได้จริง

  • @geegee2465
    @geegee2465 5 місяців тому

    🙏กราบขอบพระคุณค่ะอาจารย์
    ทุกครั้งที่ไม่สบายไม่ว่าตัวเองหรือทุกคนในครอบครัวจะต้องให้คุณหมอเป็นคนตัดสินใจว่าควรทานยาปฏิชีวนะมั๊ยและเป็นคนสั่งยาปฏิชีวนะเท่านั้นค่ะ
    และเมื่อได้รับยาปฏิชีวนะมาทานจะต้องทานยาปฏิชีวนะจนครบทุกครั้งค่ะเพื่อตัวเราเองและเพื่อคนอื่นๆทุกคนจะได้ไม่ติดเชื้อดื้อยาในอนาคตค่ะ
    🙏♥️อาจารย์ ที่มีเมตตาและจริงใจต่อคนไข้และเป็นที่พึ่งที่ดีที่สุดในยามทุกข์ยากของคนไข้ทุกคนไม่เฉพาะในประเทศไทยแต่คนไทยทั่วโลกและคนต่างเชื้อชาติ ที่มีโอกาสเป็นคนไข้อาจารย์ด้วยค่ะ😍💐

  • @ALL86898
    @ALL86898 5 місяців тому +4

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอแทน 🙏😍วันนี้มาให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยา คืออะไร มาจากไหน ติดได้อย่างไร ทำไมเราต้องทานยาฆ่าเชื้อให้ครบ
    🌷เชื้อดื้อยา หมายถึงเชื้อแบคทีเรีย
    🌼เชื้อแบคทีเรีย คือสิ่งมีชีวิตเซลเดียว แต่มีลักษณะ แตกต่าง จากเชล ของมนุษย์
    🌼แบคทีเรียสามารถต่อต้านยาที่เราให้เข้าไป🌼มีหลายเหตุผลกลไกหลายอย่างเช่น
    🌼แบคทีเรียป้องกันไม่ให้ยาเข้าตัวมันได้ ยาก็ไม่ได้ผล
    🌼เข้าไปได้ แล้วโดนปั้มทิ้งออกมาไม่ได้ผล
    🌼เข้าไปแล้วทำลายทิ้ง
    🌼ให้ยาเข้าไปแต่แบคทีเรีย มันเปลี่ยนแปลง กลไก ให้ทำลายมันไม่ได้
    🌼เหตุ ผลที่เป็นอย่างนี้ เพราะมีการใช้ยาฆ่าเชื้อบนโลก
    🌼 สมัยก่อนยาเพนนิสซิลินใช้ฆ่าเชื้อได้ทุกอย่างแต่เดี๋ยวนี้แทบฆ่าเชื้ออะไรไม่ได้ จะใชัฆ่าเชื้อได้บางโรคบางอย่างเท่านั้น
    🌼What does n't kill You made it stronger การให้ยาฆ่าเชื้อ แล้ว ฆ่ามันไม่ตาย มันจะแข็งแกร่งขึ้น
    เราต้องกินยาฆ่าเชื้อ ให้เหมาะสมเหตุผลกับโรคตามคำสั่งแพทย์
    เชื้อแบคทีเรีย มีหลายชนิดอยู่ในทุกส่วนของร่างกาย แบคทีเรีย มีสังคมของมัน แบคทีเรียมีเชื้อแบคทีเรียทุกส่วนในร่างกายในข่องท้องในปาก ในปอด ในผิวหนัง และในลำไส้
    ในช่องท้อง แต่ละคนแตกต่างกัน มีการส่งต่อยีน การดื้อยาได้แบคทีเรีย จากเราไปสู่คนอื่นได้ ถ่ายอุจจาระ ไอจาม มีการเดินทางทั่วโลก แบคทีเรีย สอนกันให้ต่อต้านยาฆ่าเชื้อ เชื้อ สามารถย้ายที่ จากอวัยวะต่าง ๆ มันออกจากลำไส้ ไปเข้าสู่กระแสเลือดได้ ถ้าเรากิน ยาไม่สมเหตุผลแล้วก็จะเกิดเชื้อดื้อยาได้ การกิน ยาฆ่าเชื้อไม่ครบแล้วเชื้อไม่ตาย มีเชื้อ เหลืออยู่แม้แต่ตัวเดียว มันก็เกิดดื้อยาได้ เพราะมันสอนให้เชื้อแบคทีเรีย ตัวอื่น ป้องกันตัวเองจากยาที่เราให้ เราจึงได้เชื้อดื้อยา การให้ยาฆ่าเชื้อควรให้ตรงกับเชื้อ ที่เป็นมากที่สุด ถ้าตอนแรก คุณหมอให้ยาฆ่าเชื้อคุมหลายตัวก่อน ระยะสั้น แล้วเมื่อรู้ ว่าติดเชื้อตัวไหน ก็ให้ยาตรงเชื้อ เลย ก็มี
    1เชื้อไม่ตาย
    2เชื้อกลายพันธ์ การเป็นฝีหนอง ยาเข้าไม่ได้บางทีการมีน้ำในข่องท้องเราต้องเจาะระบายออก ตามหมอ เชื้อมันจะดื้อยา 🌼ในกรณีที่เชื้อ ไม่ถูกยาฆ่า มันสร้างไบโอฟิมล์ ป้องกันตัวเอง
    🌼ไวรัสก็มีเชื้อดื้อยา เช่นโรคHIVต้องให้ยาถึงสามตัว และวัณโรคเช่นกันต้องให้ยารักษาพร้อมกันหลายตัว
    คนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ ใช้ยากดภูมิ มีความเสี่ยง ถ้าเกิดเชื้อดื้อยา อันตรายถึงชีวิติ เชื้อดื้อยามีไปได้ทั่วโลก เพราะมีการเดินทาง ต้องช่วยกัน คุณหมอให้ยามาต้องกินให้หมด ถ้าบอกไม่ต้องกินก็ไม่ต้องกิน การติดเชื้อ ที่คอคออักเสบบางทีเกิดจากไวรัสก่อน แทรกซ้อน ด้วยแบคทีเรีย เชื้อไวรัสไม่ต้องกินยา ฆ่าเชื้อ จะหายเอง การติดเชื้อไวรัสก่อนแล้วมีแบคทีเรีย ตามมา ก็ได้ขอบคุณความรู้ค่ะ🙏👍❤️

  • @kanoky7076
    @kanoky7076 5 місяців тому +1

    ขอบคุณนะคะ เป็นเรื่องใกล้ๆตัวที่เป็นประโยชน์มากๆค่ะ เพิ่งทราบว่าไวรัสก้สามารถดื้อยาได้ด้วย 🙏

  • @samkk4474
    @samkk4474 5 місяців тому +2

    ชั้น14 น่าจะติดเชื้อดื้อยาแล้ว อยู่นาน อย่างไม่เคยเห็นมาก่อน คนดูแลเป็นเครียดเลยค่ะ😊

  • @sithaporn360
    @sithaporn360 5 місяців тому +1

    ขอบคุณค่ะ

  • @premshanapaa7114
    @premshanapaa7114 5 місяців тому +1

    ติดตามคุณหมอค่ะ😊❤

  • @TheKingChino
    @TheKingChino 3 місяці тому +1

    ขอบคุณครับหมอแทน❤

  • @audaudanut3068
    @audaudanut3068 5 місяців тому

    สวัสดืครับติดตามรับชมอยู่ครับ

  • @thanayulpongpan4962
    @thanayulpongpan4962 5 місяців тому +4

    Brilliant explanation, Dr. Thaniyawan!
    Your insights on antibiotic resistance, especially the mechanisms and consequences of bacterial adaptation, were eye-opening.
    It's a stark reminder of the importance of responsible antibiotic use.
    Thanks for shedding light on this crucial issue!

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 5 місяців тому +3

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์
    What doesn't kill you makes you stronger (เป็นบทเพลงนึงค่ะ)
    การดื้อยาเกิดจากการส่งต่อข้อมูล ของแบคทีเรียที่รอดชีวิตจากยา
    คลิปนี้คุณหมอให้ความรู้ความเข้าใจ
    - การดื้อยาของเชื้อโรค
    - สาเหตุการดื้อยา
    - การจัดการการดื้อยา
    เชื้อดื้อยาเป็นปัญหาระดับโลก นับวันจะรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่งอาจไม่มียาปฏิชีวนะให้เหลือใช้
    เรทุกคนจึงควรตระหนักถึงปัญหานี้ร่วมกัน ร่วมมือกันทุกฝ่ายทุกระดับ ในการจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาให้ได้ผลดี
    **ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม "ตามข้อบ่งใช้" **
    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน
    หนาวแล้ว ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ
    🏡🌻🌻🌻🧡🌻🌻🌻🏕

  • @Kamonpa33
    @Kamonpa33 5 місяців тому +3

    สวัสดีค่ะคุณหมอ วันนี้ได้รู้ว่า เชื้อดื้อยามาจากไหน และทำไมถึงดื้อยา ทำให้เข้าใจคุณหมอถึงเหตุผลที่ในบางครั้งไม่สั่งยาให้เวลาเราป่วยไข้ด้วยผลของการดื้อยาที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวนี่เอง การกินยาฆ่าเชื้อไม่ครบแล้วเชื้อไม่ตายทำให้เกิดการดื้อยาได้ เพราะมันสอนให้แบ็คทีเรียตัวอื่นป้องกันตัวเองจากยาที่เราให้ ทำให้เราได้รับเชื้อดื้อยา ดังนั้นหากคุณหมอให้ยามาก็ต้องกินให้หมด ในขณะเดียวกันหากคุณหมอไม่ให้ยาก็ไม่ต้องกินค่ะ ปกติจะป่วยเป็นไข้หวัดสองสามปีถึงจะเป็นครั้งค่ะ ก็จะกินไทลินอล ส่วนอม๊อกซี่สองแผงกินจนหมดค่ะ เพราะมักจะมีอาการไอร่วมด้วยค่ะ แบบนี้ควรเลิกกินรึป่าวคะคุณหมอ แล้วควรกินยาอะไรดีคะ ต้องขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ ขอให้คุณหมอและน้องโรซี่มีสุขภาพแข็งแรงมีความสุขมาก ๆ นะคะ ขอบคุณค่ะ

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 5 місяців тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากคะวันนี้มาให้ความรู้เรื่อง เชื้อดื้อยา มาจากไหน ทำไมถึงดื้อยา ได้ความรู้ดีดี มีประโยชน์มากคะ ช่วงตั่งแต่ต้นปีที่ผ่านมาตาไม่สบายทั้งไอมีเสมะมีไข้มีน้ำหมูก ตรวจโควิด ตรวจไข้หวัดใหญ่ไม่เจอะคะ กินยาฆ่าเชื้อไม่เคยหมดคะ ตอนนี้ยังมีไอบ้างมีเสมะในคออยู่คะยังไม่หายดีคะ😊👍 ตาขอให้คุณหมอสุขภาพข็งแรงและปลอดภัยนะคะ🙏🌹🌹

  • @rinkorinrinrin
    @rinkorinrinrin 5 місяців тому

    สวัสดีค่ะคุณหมอ❤

  • @alicealice1154
    @alicealice1154 5 місяців тому +1

    ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆค่ะ อยากทราบว่าเป็นไปได้ไหมที่ในอนาคตจะมียาฆ่าเชื้อที่เชื้อไม่สามารถดื้อยาตัวนี้ได้

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +2

      ไม่มีครับ

  • @phasudakoenig7468
    @phasudakoenig7468 5 місяців тому +1

    ขอบคุณคุณหมอที่นำเสนอความรู้ค่ะ ชอบฟังคุณหมอมากเลย ปกติแล้วพี่ชอบศึกษาหาความรู้ใส่ตัวเองเสมอค่ะ ไม่เคยรู้สึกเบื่อที่เข้ามาฟังคุณหมอเลยค่ะ❤❤❤

    • @user-yl8dv2zr4k
      @user-yl8dv2zr4k 5 місяців тому

      ขอบคุณคุณหมอนะคะเข้าใจเรื่องการดื้อยาแล้วค่ะฟังทุกวันนะคะ

  • @GuGu2213
    @GuGu2213 5 місяців тому +2

    🙏 Thanks ka

  • @sangduanbarnes6102
    @sangduanbarnes6102 5 місяців тому

    Good information, again!

  • @kanjanaanyrukratchada2719
    @kanjanaanyrukratchada2719 5 місяців тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @bemiracle
    @bemiracle 5 місяців тому

    ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กินเฉพาะถ้าจำเป็น และเมื่อกินต้องกินให้ครบโดส เพื่อลดการเกิดเชื้อดื้อยา
    ขอบคุณอ.หมอนะคะ เมตตาให้ความรู้เราๆมาตลอดๆๆๆ กราบสวัสดีค่ะ 🙏🙂

  • @ELLEGENIE
    @ELLEGENIE 5 місяців тому

    จริงค่ะคุณหมอ กำลังต้องเข้ารับยาฆ่าเชื้อทางเส้นเลือดเลยค่ะ ต้องไปโรงพยาบาลทุกวัน เพราะผลการเพาะเชื้อออกมาแล้วเจอเชื้อดื้อยาจริงๆ ค่ะ คุณหมอที่รักษาก็อธิบายเรื่องเชื้อดื้อยาให้ฟังอยู่เหมือนกัน 😢

  • @topsuwicha
    @topsuwicha 5 місяців тому +3

    ผมเป็นเภสัชกรร้านยา ยาฆ่าเชื้อคือปัญหาโรคแตกของร้านยาเลยครับ😂

  • @Natty200733
    @Natty200733 5 місяців тому +2

    ขอบคุณค่ะ คุณหมอ ขอถามอีกนีดค่ะ แล้วที่ได้ยินมาว่ายาฆ่าเชื้อมันฆ่าภูมิคุ้มกันเราด้วยจริงหรือป่าวค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +4

      ไม่จริงครับ

  • @Chefaey
    @Chefaey 5 місяців тому +3

    ทำไหมเวลามีชีวิตคนเราถึงไม่เน่าเปื่อยแต่เวลาคนเสียชีวิตถึงมีการเน่าเปื่อยได้
    ขอบคุณมากๆคะ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +5

      ภูมิต้านทานเวลาเราตายมันก็สลายไปด้วยครับ

  • @AMMY.SKM1985
    @AMMY.SKM1985 5 місяців тому +3

    สวัสดีค่ะ อาจารย์​🙏🏻🧸​✨​😅
    ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาในวันนี้นะคะ เจ้าพวกแบคทีเรียนี่มันร้ายจริงๆ แต่ทำให้รู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นไวรัสหรือแบคทีเรีย​มันก็มีวิวัฒนาการ​ปรับตัวกลายพันธุ์เพื่อให้อยู่รอด แต่มาอยู่ในร่างกายเรา เราก็ต้องกำจัดโดยการทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง 🦠
    #เชื้อดื้อยา คำนี้เราได้ยินมานานแล้ว เพราะป่วยออดแอดมาตั้งแต่เด็กเลยไม่ใช่คนกินยายากอะไรค่ะ
    แผลหนองที่นิ้วหายแล้ว ขอบพระคุณอาจารย์ 🧸ที่ช่วยดูแลและให้คำแนะนำนะคะ นึกว่าจะต้องไปเจาะหนองออกที่รพ.ซะแล้วค่ะ😅 🙏🏻​✨​❤​

  • @user-ev2nk6yv6d
    @user-ev2nk6yv6d 5 місяців тому +1

    พูดเรื่องจิตวิทยาในคดีป้าบัวผันได้ไหมครับ อยากฟังจากคุณหมอ

  • @user-gy3ec2ls1r
    @user-gy3ec2ls1r 5 місяців тому +1

    หนูเคยศึกษาเรื่องจุลลินทรีย์ตัวดี กับ ไม่ดี กับตัวกลาง มันคล้ายๆกันเลยนะคะ

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 5 місяців тому +3

    ขอเรียนถามคุณหมอนะคะ ถ้าเราทานยาธาตุน้ำขาวสำหรับแก้ท้องเสีย การทานบ่อย จะทำให้เชื้อดื้อยาไหมคะ หรือควรทำอย่างไรคะ ขอบคุณค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +4

      ไม่ครับ

  • @yolomct2073
    @yolomct2073 5 місяців тому +2

    บางทีผมเจ็บคอคุณหมอเขาก็สั่งยาปฏิชีวนะมาโดยที่ไม่ได้ขอเลยครับ ผมก็กลัวเชื้อดื้อยาเหมือนกันครับ

  • @monthachok5438
    @monthachok5438 5 місяців тому

    ฟังเรื่องน่าสนใจดีๆจากคุณหมออย่างสม่ำเสมอ ขอบคุณค่ะ❤❤😊😊❤

  • @kodkanjanasuthanarak1042
    @kodkanjanasuthanarak1042 5 місяців тому

    สวัสดีค่ะคุฯหมอ

  • @CherryChonny
    @CherryChonny 5 місяців тому +3

    ตอนเด็กเด็กกินยาแก้อักเสบที่โรงพยาบาลให้กินห้าแผงแต่ตอนไปซื้อยาที่ร้านขายยาให้กินสามแผงเราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต่างกันแต่ทุกคนก็บอกว่าให้กินจนยาหมด เค้าประเมินยังไงหรอคะคุณหมอว่าต้องกินเท่าไร ถึงจะจัดการเชื้อได้หมดพอดี เพราะไม่มีใครเอาเชื้อไปตรวจด้วยว่ามันเป็นเชื้ออะไรและแรงแค่ไหนค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +4

      ประเมินจากประสบการณ์การรักษาโรคชนิดเดียวกันที่ผ่านมาครับ

  • @yingtuang
    @yingtuang 5 місяців тому +2

    คือ หนูปวดใจมากจารย์ลูกค้ามาร้านด้วยแค่อาการเจ็บคอขอcravitค่ะ.. แล้วเขามาจะอ้างว่าก็หมอจะให้มาอย่างนี้แล้วมันก็หายไวดี หนูต้องมานั่งซักเขาเพิ่มว่าพี่แยกระหว่างแบคทีเรียกับไวรัสออกไหมคะ ต้องดูเป็นกรณีไปคุณจะเหมารวมว่ายาฆ่าเชื้อตัวนี้สามารถฆ่าได้สารพัดโรคมันไม่ใช่ นัดลูกค้าหลายคนก็มักจะบอกว่า หมอให้ตัวนี้ เพื่อนบอกมาด้วยสิคะ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +3

      ตอนนี่ถึงเจอเชื้อดื้อยาตัวนี้เยอะขึ้นละไงครับ

  • @CherryChonny
    @CherryChonny 5 місяців тому +2

    คุณหมอคะขอถามว่าถ้าเชื้อแบคทีเรียชนิดที่อยู่กับคนนึงไม่ได้มีอันตรายอะไรแต่พอแพร่ออกมาให้กับอีกคนกลายเป็นอันตรายได้ไหมคะเหมือนคนแรกเค้าอาจจะชินแล้ว แต่อีกคนเพิ่งเคยเจอค่ะ ขอบคุณค่ะ

    • @AvecBella
      @AvecBella 5 місяців тому +3

      Yes. A good example of that is traveler’s diarrhea. Residents of the countries may have developed immunity to the organisms that make travelers sick.

    • @CherryChonny
      @CherryChonny 5 місяців тому +1

      @@AvecBella Yes, my Japanese friend told me that she was warned not to eat street fruit ผลไม้รถเข็น in Thailand. I also never tried it. Some of them wear gloves for hygiene but use that gloves to collect money 🤔

    • @AvecBella
      @AvecBella 5 місяців тому +2

      @@CherryChonnyWhat doesn’t kill you, makes you stronger! (Doctor Tany) 😊

    • @CherryChonny
      @CherryChonny 5 місяців тому +1

      @@AvecBella increase the Flora 🤭🤭

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 5 місяців тому +2

    ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาค่ะ

  • @eBeiChannel
    @eBeiChannel 5 місяців тому +1

    สถานที่ที่จะเจอเชื้อดื้อยามากที่สุดน่าจะอยู่ในโรงพยาบาลนั่นแหละค่ะเพราะฉะนั้นสถานที่ที่ควรเลี่ยงคือโรงพยาบาลไม่ควรไปโรงพยาบาลเพราะแค่ปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้เท่านั้น

  • @Smoot24
    @Smoot24 3 місяці тому +1

    คุณหมอพูดว่าแพทย์บางคนอาจจะจ่ายยาผิด คือทำให้รู้สึกว่าชีวิตนี้จะเจอแพทย์ที่จ่ายยาผิด ชีวิตจะเป็นยังไงรู้สึกไม่ปลอดภัย 😂😂😂😂

  • @nancynee7680
    @nancynee7680 5 місяців тому +1

    Content วันนี้สั่นๆ ฟังจบไปทำงานพอดี ขอเรียนถาม เมื่อวานพี่ไปทำ Implant หมอฟันก็ให้ยา Amoxicillin 875 M'G-Potassium Clavulanate 125 twice a day with food กินแล้วง่วงนอนค่ะ หวังว่าหมอฟันคนนี้คงให้ยาถูกนะคะ

    • @piew.sujitra
      @piew.sujitra 5 місяців тому +3

      ขออนุญาติมาช่วยตอบนะคะ
      หมอฟันให้ถูกแล้วค่ะ ยาที่ได้เป็นยาฆ่าเชื้อ (antibiotic drug) ในการฝังรากเทียมต้องมีการกรอกระดูก แล้วใส่ implant ลงไป ทำให้ทันตแพทย์ต้องสั่งยาชนิดนี้เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังทำหัตถการค่ะ

  • @user-yv7qx9uc2v
    @user-yv7qx9uc2v 5 місяців тому +1

    ทุกวันนี้หมอหลายๆท่านจ่ายยาแบบไม่สนใจผลกระทบที่จะเกิดกับคนไข้เยอะมากค่ะ โดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อ แม้แต่ในเด็กจ่ายยาโดยที่ไม่มีอาการบ่งชี้ที่ต้องจ่ายยานั้นเลย

  • @laodee17
    @laodee17 5 місяців тому +3

    กรณีนี้ทำให้เกิดปัญหาเชื้อจุลินทย์ดีๆ ตายไปด้วยใช่ไหมครับ เช่น เชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้ช่วยย่อยลำไส้ สูญเสียไปด้วย แบบนี้จึงไม่ควรกินแบบกว้างใช่ไหมครับ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +4

      มีส่วนครับ

  • @BOATFERN3125
    @BOATFERN3125 5 місяців тому

    คุณหมอครับ มีอาการปัสสาวะเป็นเลือดไม่มีอาการปวด ตรวจท่อปัสสาวะ กระเพราะปัสสาวะไม่มีนิ่ว หรืออาการอักเสบ อาจจะเป็นอะไรครับ ขอบคุณครับ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +3

      กรณีนี้ต้องระวังโรคมะเร็งเป็นโรคแรกและต้องไปส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะเดี๋ยวนี้เลยครับ ต่อเมื่อไม่ใช่มะเร็งแน่ๆถึงค่อยไปหาโรคอื่นครับ

  • @gob2004
    @gob2004 3 місяці тому

    ตามมาจากคลิปคุณเมฆครับ ลองมาหาดูคลิปเรื่องเชื้อดื้อยาที่ อ. บอกว่า มักจะเจอใน รพ. 7:24 เพราะเป็นแหล่งรวมของผู้ป่วยที่มักจะหาหมอเพราะเชื้อดื้อยาใช่ไหมครับ

  • @Antejud
    @Antejud 5 місяців тому

    อยากฟังเรื่องการรักษา ด้วยการฉีดพาสม่าของเราเองไปตรงบริเวณที่ปวด เพื่อรักษาตัวเองครับ ว่าได้ผลดีไหม

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +3

      แล้วแต่คนครับ ส่วนมากไม่ค่อยได้ผลครับ

  • @pannko8888
    @pannko8888 5 місяців тому +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอที่รักคิดถึงเหลือเกินสบายดีนะต่ะ❤❤❤

  • @fangirl5757
    @fangirl5757 5 місяців тому +1

    เมื่อไม่กี่วันก่อนเป็นหอบแต่หายช้ากว่าทุกครั้งเลยกลัวและไปหาหมอรพ.เอกชนแห่งหนึ่ง เอ็กซเรย์ปอดก็ปกติ หมอบอกว่าน่าจะติดเชื้ออะไรสักอย่างเลยให้ยาฆ่าเชื้อมากินประมาณ5วัน กินหมดแล้ว ฟังคลิปนี้แล้วกลัวเลยค่ะ🥺

  • @yenjitdaoyaem5385
    @yenjitdaoyaem5385 5 місяців тому

    สวัสดีค่ะ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 5 місяців тому +8

    คลิปใหม่มาแล้วค่ะ...
    หัวข้อวันนี้ เรื่อง... เชื้อดื้อยา มาจากไหน ทำไมถึงได้ดื้อ
    ◾"เชื้อดื้อยา" ซึ่งเชื้อที่ว่า ก็คือ "เชื้อแบคทีเรีย"
    ◾เชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยา เกิดจากการที่เรากินยา หรือ ฉีดยาฆ่าเชื้อเข้าไปนั่นเอง
    ◾คนที่จำเป็นต้องได้ยาฆ่าเชื้อ แม้ว่าจะได้ยาที่ตรงกับเชื้อนั้นในปริมาณที่เหมาะสมก็ตาม ก็สามารถเกิด "เชื้อดื้อยา" ได้ เพราะจะมีเชื้อบางตัวในร่างกายที่ "ไม่ตาย" ทำให้เกิดการสร้างความแข็งแรงให้กับตัวมันเอง สามารถต่อต้านยาฆ่าเชื้อได้ และกลายเป็นเชื้อที่ดื้อยานั่นเอง
    ◾เวลาป่วยไข้ไม่สบาย หลายๆคนมักขอ "ยาฆ่าเชื้อ" กับหมอไว้ก่อน (โดยไม่ได้คำนึงถึงเลยว่าติดเชื้ออะไรมา ไวรัส หรือ แบคทีเรีย) และขอยาฆ่าเชื้อแบบแรงๆ สามารถฆ่าเชื้อได้หลายชนิดเป็นวงกว้าง ซึ่งยาแบบนี้จะทำให้เกิดอาการ "เชื้อดื้อยา" ได้มากกว่ายาฆ่าเชื้อเฉพาะทาง ในอนาคตยาแรงๆที่เคยใช้ก็อาจจะไม่ได้ผลแล้วค่ะ
    ◾เชื้อแบคทีเรีย เป็นเชื้อที่ "กลายพันธุ์" ได้ ในระหว่างที่กำลังให้ยา เชื้อก็สามารถต่อต้านกับยาฆ่าเชื้อได้ทันที... ยกตัวอย่างเช่น คนที่เป็นฝี หนอง บางครั้งยาฆ่าเชื้อไม่สามารถเข้าถึงเชื้อที่อยู่ตรงกลางได้ จึงต้องมีการเจาะ หรือผ่าตัดเพื่อระบายเอาหนองออกมาให้หมดเพื่อให้ยาจัดการเชื้อได้ดีขึ้น
    ◾ปัจจุบันก็มีแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนหลายคนจ่ายยาที่ไม่เหมาะสมให้กับคนไข้เช่นกัน เช่น จ่ายยาชนิดที่แรงๆ หรือ จ่ายยาฆ่าเชื้อชนิดที่ครอบคลุมเชื้อหลายชนิด ทั้งนี้ก็เพื่อเอาใจคนไข้ที่มารักษา คือ ต้องการให้คนไข้มีอาการดีขึ้นโดยเร็วที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่ "ไม่ถูกต้อง" เพราะจะทำให้เกิดอาการ "เชื้อดื้อยา" ได้
    ◾สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อ แนะนำว่า ขอให้กินยาให้ครบโดส กินให้ครบคอร์ส กินให้หมดตามที่แพทย์สั่งจ่ายมา อย่าหยุดกินเพราะเห็นว่าอาการดีขึ้นแล้ว เพราะการทำเช่นนั้นจะเพิ่มโอกาสให้เชื้อที่ยังไม่ตาย กลับมาแข็งแรงและต่อต้านยาได้ในอนาคตค่ะ

    • @nung-noppapat
      @nung-noppapat 5 місяців тому +4

      ขอบคุณค่ะพี่ทริป🙏💕🥰

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 5 місяців тому +4

      @@nung-noppapat ยินดีค่ะคุณหนึ่ง...🥰

    • @nung-noppapat
      @nung-noppapat 5 місяців тому +3

      @@FragranzaTrippa ❤️💕🥰

  • @chotikorn1122
    @chotikorn1122 5 місяців тому +1

    ทาน amoxicillin and clavulanateครบคอร์ส ปีละประมาณ2-3ครั้ง สองปีติดกัน แบบนี้จะมีโอกาสดื้อยาตัวนี้ไปแล้วไหมครับ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +3

      มีครับ

  • @hataya54
    @hataya54 Місяць тому +1

    คุณหมอ ขอปรึกษาด้วยค่ะ ลืมกินยาฆ่าเชื้อเพราะมันไม่มีอาการอะไรหลังจากฉีดยากระตุ้นต่อต้านบาดทะยัก คุณหมอสั่งยานี่มาให้ด้วยค่ะ ลืมไปแล้วตั้ง 2-3 วันแน่ะค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  Місяць тому

      ก็แนะนำกินต่อให้หมดครับ

    • @hataya54
      @hataya54 Місяць тому

      @@DrTany ขอบคุณมากค่ะ

  • @sopamungkietsakul5087
    @sopamungkietsakul5087 5 місяців тому +1

    รบกวนสอบถามคุณหมอนอกเรื่องนี้นิดหนึ่งนะค๊ะคือจะสอบถามเกี่ยวกับวัคซีน งูสวัด ค่ะอายุ67 จำเป็นต้องฉีดไหมค๊ะเป็นโรคไตด้วยค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 5 місяців тому

      ช่วยตอบนะคะ... จำเป็นค่ะ แนะนำเป็นวัคซีน Shingrix ค่ะ

    • @sopamungkietsakul5087
      @sopamungkietsakul5087 5 місяців тому +1

      @@FragranzaTrippa
      ขอบพระคุณค่ะ
      ตอนนี้คนที่รู้จักกันเป็นงูสวัดไปแล้ว3คนค่ะ เลยกังวลใจ ขอบคุณค่ะ🙏🙏

  • @user-df4dg8pf2j
    @user-df4dg8pf2j 5 місяців тому +1

    ถ้ามีคนมีชื้อดื้อยาอยู่ที่บ้าน ต้องระมัดระวังอะไรไหมคะ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +2

      รักษาความสะอาดให้ดีครับ

  • @pechr2249
    @pechr2249 4 місяці тому

    ผมไปผ่าฟันคุดมาหมอเอายา amoxicillin 500mg ให้มากิน 4 วัน จำเป็นต้องกินมั้ยครับ ผมพยายามเลี่ยง ไม่อยากให้เชื้อดื้อยา

    • @DrTany
      @DrTany  4 місяці тому +1

      ถ้าหมอให้ก็ควรจะต้องกินครับ

  • @NickyDIY101
    @NickyDIY101 5 місяців тому +1

    จารย์ครับ ถ้าดื้อแล้ว ดื้อเลยไม่ครับ
    ถ้าเคยพลาดกิน cephalexin ไม่ครบโดสตอนเด็กๆ แล้วรู้สึกเหมือนจะดื้อยาตัวนี้ไปแล้ว ดังนั้น ผมจะดื้อยาตัวนี้ตลอดชีวิตยันแก่เลยรึเปล่าครับ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +2

      มักจะไม่ ถ้ากินแค่ทีเดียว แต่ก็แล้วแต่ดวงครับ ผมก็ตอบไม่ได้ครับ

  • @chaiyen3751
    @chaiyen3751 5 місяців тому +2

    ท่านอาจารย์ครับบบ บุคลากรทางการแพทย์คลุกคลีอยู่ที่โรงพยาบาล เป็นสิบปี ทำแผล ฝีหนอง ไม่เห็นจะค่อยติดเชื้อดื้อยาเท่าไหร่เลย ทำไมคนป่วยอยู่โรงพยาบาลไม่กี่วันติดเชื้อดื้อยากันจัง มันมีอะไรมากกว่านี้หรือเปล่าครับ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +7

      ภูมิต้านทานไงครับ บุคลากรทางการแพทย์ไม่ได้ป่วย แค่คนไข้ที่เข้ามานอน รพ เขาป่วย มันก็เลยติดเชื้อง่ายครับ

    • @chaiyen3751
      @chaiyen3751 5 місяців тому +1

      @@DrTany ขอบคุณครับท่านอาจารย์ แบบนี้ใครสำมะเลเทเมา ทำให้ร่างกายอ่อนแอก็แย่หน่อยนะครับ

  • @Phanita999
    @Phanita999 5 місяців тому

    เป็นคนที่กินยาฆ่าเชื้อตาม หมอสั่ง ตลอดค่ะ และไม่เคยขอเอง เพราะ เข้าใจว่า เราไม่รู้จักเชื้อดีเท่าหมอ...
    ข้างหลัง หมอกหรือควัน สวยจริง ดู นุ่มนวล อบอุ่น ✌❤👨‍⚕❤🐶

  • @user-bz8vr2en9b
    @user-bz8vr2en9b 5 місяців тому

    ผมซื้อยาฆ่าเชื้อจากร้านขายยามาทานอยู่บ่อยมากเวลาเป็นหวัดเจ็บคอ เลิกทานตอนนี้คงไม่ทันละมั๊งครับ😷😷😷

  • @The-spsp
    @The-spsp 5 місяців тому +2

    ยาแก้ภูมิแพ้อากาศฯ มีการดื้อยามั้ยคะคุณหมอ?

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +3

      ไม่มีครับ

    • @The-spsp
      @The-spsp 5 місяців тому +1

      ขอบพระคุณๆหมอมากค่ะ🙏 ถามคำถามได้รับคำตอบจากคุณหมอเสมอไม่เคยผิดหวังเลย เปิดยูทูปขึ้นมาช่องคุณหมอจะเด้งขึ้นหน้าฟีดมาช่องแรกตลอดทีนี้ฟังแล้วก็ต้องแชร์ไปยังกลุ่มlineพี่-น้องที่เราห่วงใยเขา ปัญหาที่ถกเถียงกันก็ยกเอาโพสต์ของคุณหมอนี่แร่ะค่ะไปวางให้ฟังกัน🤭 ได้ประโยชน์มากค่ะช่องนี้บอกเลย 👍👍👍

  • @FOXXX10
    @FOXXX10 5 місяців тому

    ตอนอายุ 20 คิดเชื้อ Neisseria gonorrhoeae ทานยาฆ่าเชื้อไม่ครบโดส
    ตอนนี้ 60 ระหว่างนั้นทานยาฆ่าเชื้อเช่นเจ็บคอบ้าง แผลผิวหน้งบ้าง ไม่ทราบ
    ว่าตอนนี้ Neisseria gonorrhoeae มันยังอยู่ในร่างกายรึป่าวครับ ขอบคุณมาก/

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +2

      ไม่น่าอยู่ครับ

  • @narlaw1342
    @narlaw1342 5 місяців тому +1

  • @EedWatcharapornTubrutn
    @EedWatcharapornTubrutn 5 місяців тому +2

    😆😆😁😁🐶🐶👩‍💻📃📄 🩼🩼 ทำงานเสร็จแล้วจะเข้ามาฟังต่อยาว ๆ ค่ะ 🚙🚙🏠🏠⏱️⌚️🏬🏬

    • @EedWatcharapornTubrutn
      @EedWatcharapornTubrutn 5 місяців тому

      ขอบคุณค่ะ Tany สำหรับ 🧡🧡🧡🧡🧡🧡💛💛💛💛💛💛💖💖💖 Have a wonderful & happiness moment time together with an adorable Rosy ค่ะ ฟังจบ แล้ว 1 รอบ ค่ะ เดี๋ยวฟังใหม่ อีก 1 รอบ ค่ะ
      The saying, originally penned by German philosopher Friedrich Nietzsche was actually “That which does not kill us makes us stronger.” A corollary to this saying is that suffering is good for you, and makes you more resilient. 🐶🐶💋💋🩺👨‍⚕️🌹🌹🌸🌸🌷🌷💐💐

  • @ployployprapai3809
    @ployployprapai3809 5 місяців тому +1

    ❤❤❤🙏

  • @dhammavijjani
    @dhammavijjani 5 місяців тому +1

    ถ้าเคยดื้อยาฆ่าเชื้อ แต่ไม่ได้กินยาฆ่าเชื้อชนิดนั้น ( หรือชนิดอื่นๆ)อีกเป็นเวลา 2-3 ปี มันจะยังดื้ออยู่มั้ยคะ หรือพอทิ้งระยะเวลาไว้หลายปีก็ไม่ดื้อแล้วคะ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +3

      ก็ดื้อได้อยู่ดีครับ

  • @ALL86898
    @ALL86898 5 місяців тому +3

    ยินดีกับยอดผู้ติดตามFC5.5.2
    คนค่ะ
    💙💙💙💙💙.💜💜💜💜💜.❤️❤️
    🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀

  • @a-o-yi
    @a-o-yi 5 місяців тому +1

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอในอดีตขอยาแรงมาเกือบครึ่งชีวิต แม้กระทั่งตอนลูกเล็กๆก็ขอยาแรงๆให้ลูกหาย.. จะได้ไปรร.ได้​ ตอนนี้คงต้องรอรับผลกรรมซะแล้ว😅

  • @tanbo6267
    @tanbo6267 5 місяців тому

    ขอสอบถามครับคุณหมอ ไปหาหมอที่คลินิกเนื่องด้วยอาการไอ เจ็บคอ หมอให้ยาปฏิชีวนะ (Roxithromycin) มาทาน หลังจากทานได้ 2 วัน ได้ทำการตรวจ ATK covid 19 ออกมาเป็น positive ครับ อยากสอบถามว่าต้องหยุดทานยาปฏิชีวนะไหมครับ

    • @DrTany
      @DrTany  5 місяців тому +3

      ทานแล้วทานให้ครบครับ

    • @tanbo6267
      @tanbo6267 5 місяців тому +1

      @@DrTany ขอบคุณครับ คุณหมอ

  • @penpugsuwan7447
    @penpugsuwan7447 5 місяців тому +1

    สาเหตุที่เชื้อดื้อยา ได้แก่ การใช้ยาไม่ถูกกับโรค ใช้โดยไม่จำเป็น ใช้ปริมาณแรงมาก/ น้อยเกินไป ผิดเวลา ใช้ยาซ้ำซ้อน กินอาหารยาหักล้างกัน

  • @user-bp1ds5cl5u
    @user-bp1ds5cl5u 5 місяців тому

    ❤❤❤❤❤

  • @user-wm9mt1fj9g
    @user-wm9mt1fj9g Місяць тому

    เช่นนี้ พวกยาทา อย่างเบตาดีน หากใช้ผิดวิธี ใช้ระยะนานๆ จะดื้อได้เหมือนกันด้วยหรือเปล่าคะคุณหมอ

    • @DrTany
      @DrTany  Місяць тому

      ไม่ครับ

  • @ideakmw
    @ideakmw 5 місяців тому +1

    🙏🙏🙏🙏🙏👍👍👍

  • @ilovebayern134
    @ilovebayern134 5 місяців тому

    จริงครับเมื่อก่อนพอได้ยาแรงแรงแล้วรู้สึกดีเพราะคิดว่าหายชัวร์ เดี๋ยวนี้พึ่งภูมิตัวเองก่อน ถ้าจำเป็นจริงๆค่อยกินยาครับ

  • @johnlo397
    @johnlo397 5 місяців тому +1

    แม่ผมเอะอะ อะไรก็ อมอคสลิน ผมก็เตือนหลายครั้งแล้วเมืองไทยไม่ควรขายยานี่

  • @user-kb9jo6eg4h
    @user-kb9jo6eg4h 5 місяців тому +1

    👍👍🙏👍👍

  • @AvecBella
    @AvecBella 5 місяців тому +3

    G’Day cheers ka Doctor Tany. Wishing you an Easy Peasy kinda Friday 🍂❄️🍎

    Origins of Antimicrobial Resistance
    💊💊💊💊💊
    Most antimicrobial compounds themselves are derived from nature; therefore, it is no surprise that resistance itself is the result of "ongoing" evolution. The misuse and overuse of antimicrobials in humans are the main drivers that aid in the development of drug-resistant pathogens.
    A given antimicrobial agent is chosen to be taken at a particular dose, in a particular manner, and at a particular length of therapy for a specific reason.
    Thanks for the talk today ka Doctor Tany.

    Hot Toddy Cheers kinda day. Woo Hoo!!!
    Happy Fridayyy 😄
    🍂❄️🌲🧦🧣

  • @luxanawadeeboonyasirinun6378
    @luxanawadeeboonyasirinun6378 5 місяців тому

    ขอบคุณค่ะเข้าใจง่ายดีค่ะพอฟังคุณหมออธิบาย ก็ยังไม่เคยเจอกับตัวนะคะเรื่องเชื้อดื้อยา แต่ถ้าคนดื้อมาก เจอกับตัวเองเลยค่ะ ตอนส่องกระจก 555