สะพานคู่ขนาน สะพานพระราม 9 วันที่14 - 18กุมภาพันธ์2567เวลา

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 15 жов 2024
  • สะพานคู่ขนาน สะพานพระราม 9 เขาเปิดให้ประชาชนขึ้นมาเดินชิล กินลม ชมไฟ เติมความรักให้ล้นสะพาน ตั้งแต่วันที่ 14 - 18 กุมภาพันธ์ 2567 และ 23 - 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 16:00 - 22:00 น.
    กับงานฉลอง “Lock Luck Love รักล้นสะพาน” อาหารพร้อม ห้องน้ำพร้อม ขอเพียงเธอจะมีใจเท่านั้น
    เดินทางบนถนนรัชดาภิเษก
    มาจากแยกสาธุประดิษฐ์ มุ่งหน้าถนนพระราม 3 ผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษสาธุประดิษฐ์ 2 จากนั้นกลับรถ บริเวณใต้สะพานแขวน ชิดขวาก่อนถึงแยกสาธุประดิษฐ์ ขวามือจะเป็นบริเวณ จุดลงทะเบียนและทางขึ้นสะพานไปบริเวณจัดงาน
    แนะนำจุดจอดรถที่จะมาร่วมกิจกรรม Luck Lock Love รักล้นสะพานได้ที่
    -โลตัสพระรามสาม
    -วัดทองบน
    -วัดดอกไม้
    -วัดปริวาสราชสงคราม
    -วัดด่าน
    -วัดไทร
    สำหรับผู้ที่สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่ กทพ. เปิดให้ประชาชนทั่วไป ขึ้นไปร่วมกิจกรรมบนสะพาน
    ข้อมูลทั่วไปของสะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9
    สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 เป็นสะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร ในเส้นทางของทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกตะวันตก ดูแลโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่มีความกว้างมากที่สุดในประเทศไทย
    ตั้งตระหง่านเคียงคู่สะพานพระราม 9
    สามารถรองรับการสัญจร ถึง 8 ช่องจราจร มีความยาวช่วงกลางสะพาน 450 เมตร ความยาวของสะพาน 780 เมตร ท้องสะพานมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ปานกลาง 41 เมตร (สูงเท่าสะพานพระราม 9) โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณเชิงลาดสะพานพระราม 9 ฝั่งธนบุรี ในพื้นที่แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปเชื่อมต่อกับทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร และบรรจบกับทางแยกต่างระดับบางโคล่ ในพื้นที่แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชและทางพิเศษเฉลิมมหานครโดยตรง รวมระยะทางทั้งโครงการจำนวน 2 กิโลเมตร
    โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถรองรับปริมาณรถยนต์ได้มากถึง 150,000 คัน/ วัน
    สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมการก่อสร้างทางวิศวกรรมขั้นสูง ทำให้สะพานมั่นคงแข็งแรงสามารถรองรับแรงลมได้มากถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือเทียบเท่าความแรงของพายุทอร์นาโด สะพานแห่งนี้จึงมีความมั่นคงและแข็งแรงอย่างมากในการรองรับเหตุแผ่นดินไหวหรือพายุ แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงความสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานความเป็นไทยอันทรงคุณค่า
    สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 ถูกออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมผสมผสานความเป็นไทย พร้อมด้วยงานประติมากรรมลวดลายอันละเอียดประณีต อลังการ สื่อถึงคติความเชื่อที่แสดงเอกลักษณ์ไทยอย่างเด่นชัด ประกอบไปด้วย
    • ยอดเสาสะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 ฝาพระหัตถ์แห่งความเมตตา
    ส่วนยอดเสาสะพานเปรียบดั่งพระหัตถ์ในหลวงรัชกาลที่ 10 แสดงถึงการโอบอุ้ม ปกป้อง ความรักความห่วงใย และความเมตตาต่อพสกนิกร
    • รูปปั้นพญานาคตัวแทนความยิ่งใหญ่คู่ควรสถาบันอันสูงส่ง
    พญานาคสีเหลืองทอง แทนปีมะโรงหรือปีงูใหญ่(พญานาค) อันเป็นปีพระราชสมภพ ตั้งตระหง่านบริเวณโคนเสาสะพาน 4 ต้นตามความเชื่อที่ว่าพญานาค จะทำหน้าที่อารักขาสถาบันอันสูงส่งของไทย
    • รวงผึ้งทองอร่ามสัญลักษณ์แทนต้นไม้ประจำพระองค์
    รั้วสะพานกันกระโดดเป็นลวดลายดอกรวงผึ้งสีทอง ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ถูกออกแบบอย่างอ่อนช้อย มอบความรู้สึกสบายตาทั้งยังป้องกัน ไม่ให้ยานพาหนะตกสู่ด้านล่าง
    • สะพานขึงสีทองอร่าม เฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย
    ออกแบบภาพรวมสะพานด้วยโทนสีเหลืองทอง อันเป็นสีตัวแทนพระองค์ เพื่อเทิดทูนสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือเกล้าพสกนิกรไทย
    • สายเคเบิลสีเหลือง สื่อถึงความมงคลพระราชสมภพ
    สายเคเบิลสีเหลือง ตัวแทนสีวันจันทร์ อันเป็นวันพระราชสมภพ โทนสีที่เปรียบไปด้วยพลังแห่งความหวัง ความสุข ความสงบความรุ่งเรือง มั่งคั่ง อีกทั้งยังเป็นสีที่มองแล้วผ่อนคลาย
    • เสาสะพานโค้งมน งดงามอ่อนช้อย
    ออกแบบเสาสะพานให้โค้งมน เพื่อลดความแข็งกระด้างของโครงสร้างคอนกรีตภาพรวมของโครงสร้างจึงดูอ่อนช้อยไม่ว่าจะมองจากระดับพื้นดินหรือระดับทางพิเศษ
    • ราวกันตกออกแบบให้โปร่ง รับวิวแม่น้ำเจ้าพระยา
    ราวกันตกบริเวณด้านนอกสุดของสะพาน ออกแบบให้โปร่ง นอกจากเพื่อไม่ให้ต้านลมที่ปะทะ ตัวสะพานแล้วยังช่วยไม่ให้บดบังทัศนียภาพอันงดงามของแม่น้ำเจ้าพระยา

КОМЕНТАРІ • 2

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 5 місяців тому +1

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสะพานคู่ขนานสะพานพระราม ๙ ว่า ทศมราชัน อ่านว่าทด-สะ-มะ-รา-ชัน (Thotsamarachan) หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10