วิธีแก้กิเลส ฝึจิตเพื่อรู้ละ เสียงธรรม หลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 19 вер 2024
  • กิเลส หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง กิเลสมี 3 ระดับ คือได้แก่
    1.อนุสัยกิเลส (Latent Defilements) กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
    2.ปริยุฏฐานกิเลส (Internally Active Defilements) กิเลสอย่างกลางคือกิเลสที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งทางความคิด ได้แก่ กิเลสประเภทนิวรณ์ 5
    3.วีติกกมกิเลส (Externally Active Defilements) กิเลสอย่างหยาบคือกิเลสที่ทะลักออกมาทำให้สัตว์สร้างกรรมขึ้นมาทางกายและวาจา
    กิเลส หมายถึง เครื่องที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว มีจิตอันไม่บริสุทธิ์ และขัดขวางความความสงบทางจิตใจ ประกอบด้วยกิเลส 3 ประเภท คือ
    1. โลภะกิเลส คือ กิเลสแห่งความโลภ
    2. โทสะกิเลส คือ กิเลสแห่งความโกรธ
    3. โมหะกิเลส คือ กิเลสแห่งความหลง
    คำว่า “กิเลส” มาจากฐานศัพท์ภาษาบาลี คือ กิลิส แปลว่า ความเร่าร้อน หรือ การเบียดเบียน แปลโดยนัยแห่งธรรม หมายถึง เครื่องที่ทำให้จิตใจเร่าร้อนหรือเข้าเบียดเบียนจิตใจให้เศร้าหมอง
    กิเลสอย่างละเอียด สงบได้ด้วยปัญญา, กิเลสอย่างกลาง สงบได้ด้วยสมาธิ และ กิเลสอย่างหยาบ สงบได้ด้วยศีล
    สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ
    โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
    1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าขันธ์ 5 คือตัวตน
    2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยลังเลในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    3. สีลัพพตปรามาส - มีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือการถือข้อปฏิบัติที่ผิด
    4. กามราคะ - มีความพอใจในกามคุณ
    5. ปฏิฆะ - ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง
    อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
    6. รูปราคะ - มีความพอใจในรูปสัญญา
    7. อรูปราคะ - มีความพอใจในอรูปสัญญา
    8. มานะ - มีความถือตัว ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ความรู้สึกสำคัญตัวว่าดีกว่า เลวกว่า หรือเสมอกัน
    9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
    10. อวิชชา - มีความไม่รู้ในอริยสัจ 4
    พระโสดาบัน ทำสังโยชน์ 3 ข้อให้สิ้นไปได้ คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
    พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ 3 ข้อให้สิ้นไปได้ และมีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง
    พระอนาคามี ทำสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ข้อ หรือโอรัมภาคิยสังโยชน์ให้สิ้นไปได้
    พระอรหันต์ ทำสังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงทั้ง 10 ข้อให้สิ้นไปได้
    อ้างอิง วิกิพีเดีย
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม". เก็บถาวร 2015-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
    พุทธทาสภิกขุ. "ตัวกู-ของกู ฉบับย่อความ เก็บถาวร 2016-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". บทที่ 6 วิธีลดอัตตา

КОМЕНТАРІ • 6