“ร่มธรรม” เสนอ 3 ทาง แก้ลักลอบตัดสายไฟทำให้ขโมยยาก-เพิ่มโทษให้ได้สัดส่วน-แก้ที่แรงจูงใจ

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 24 жов 2024
  • 8 ส.ค. 2567
    นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้ความเห็นต่อรายงานผลการศึกษาแก้ไขปัญหาการลักลอบขโมยสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ของคณะกรรมาธิการการตำรวจ ว่า ปัญหาโจรลักลอบสายขโมยสายไฟ สายเคเบิล หม้อแปลง และขโมยอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นปัญหาเรื้อรังและระบาดไปทั่วประเทศ อีกทั้งเป็นหนึ่งในปัญหาที่สร้างความเดือดร้อน หลายพื้นที่ไฟส่องสว่างดับ เป็นอันตราย ไม่ปลอดภัย ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ เสียชีวิต ตลอดจนสร้างความเสียหายต่อรัฐ คิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท หากไม่มีมาตรการแก้ไข นานวันก็จะยิ่งสร้างความเสียหายมากขึ้น ผู้กระทำผิดเกิดความย่ามใจแต่งกายเลียนแบบเจ้าหน้าที่ มีการกระทำเป็นกระบวนการ เป็นปัญหาวนเวียนไม่รู้จบ
    นายร่มธรรม มองว่า ปัญหาการลักลอบขโมยสายไฟฟ้า มี 3 ประเด็น
    ประเด็นที่ 1 อุปสรรคในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
    เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีการวางแผน หรือมาตรการเพื่อป้องกันการขโมยอย่างมีประสิทธิภาพ ขาดแคลนบุคลากร ทั้งการดูแลหรือตรวจสอบ พื้นที่ในการดูแลสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้ากว้างมาก บางแห่งอยู่ห่างไกล ไม่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด อีกทั้งการแก้ไขปัญหาและดำเนินคดีเป็นไปด้วยความล่าช้า
    ประเด็นที่ 2 ปัญหาบทลงโทษตามกฎหมายเพื่อเอาผิดผู้ลักลอบขโมยสายไฟ และร้านค้าของเก่าที่รับซื้อทองแดง
    ปัจจุบันบทลงโทษ หรืออัตราโทษต่อผู้กระทำผิดตามกฎหมายค่อนข้างต่ำ ไม่ได้สัดส่วนกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้ทั้งคนร้าย และร้านรับซื้อกระทำความผิดได้อย่างต่อเนื่องและไม่เกรงกลัว
    ประเด็นที่ 3 ปัญหาแรงจูงใจของมิจฉาชีพในการผู้ก่อเหตุ
    ผู้ลักลอบขโมยสายไฟ มีหลายประเภท มีตั้งแต่ผู้อาศัยในพื้นที่ คนเร่ร่อน คนติดยา หลายครั้งมีแรงจูงใจที่เกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ความยากจน หรือปัญหาสังคม ไปจนถึงผู้ลักลอบมีความเชี่ยวชาญ ทำเป็นกลุ่มกระบวนการมีลักษณะเป็นมืออาชีพ ใช้ประโยชน์จากช่องว่างและความหละหลวมของรัฐ
    “วันนี้ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการวางแผนการจัดการ เพื่อป้องกันการขโมยทรัพย์สินของราชการอย่างเป็นระบบ วันนี้เราวิ่งตามโจรไม่ได้แล้ว เราต้องวิ่งนำหน้าโจร ต้องคิดว่าจะป้องกันอย่างไรไม่ให้สายเหล่านี้ถูกขโมย ทำอย่างไรไม่ให้ร้านรับซื้อของเก่ารับซื้อ จะดำเนินคดีมีบทลงโทษอย่างไร และซ่อมแซมแก้ไขอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว” นายร่มธรรม กล่าว
    พร้อมกับได้สนับสนุนรายงาน และเพิ่มเติมแนวทางของแก้ไขปัญหาดังกล่าวว่า
    1. มีมาตรการเพื่อป้องกันการลักขโมยทรัพย์สินของทางราชการ ให้ขโมยยากมากขึ้น เช่น
    เพิ่มบุคลากร หรืออาสาสมัคร เพื่อตรวจสอบ สอดส่องดูแล พร้อมกับให้อำนาจหน้าที่ที่เหมาะสม
    ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับอย่างกล้องวงจรปิด หรือมีระบบแจ้งเตือนหากทรัพย์สินของรัฐถูกขโมย
    เปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ให้ขโมยยากขึ้น มีการสัญลักษณ์ทางราชการเพื่อไม่สามารถนำไปขายต่อได้
    มองหาวิธีการใหม่ ๆ นวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วย เช่น การตีเส้นถนนด้วยสีเรืองแสง ซึ่งมีหลายประเทศทำแล้ว
    2. แก้ไขและเพิ่มบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายการค้าของเก่า ให้รุนแรงขึ้น หรือเพิ่มอัตราโทษให้สัดส่วนกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้ผู้ลักลอบไม่กล้ากระทำความผิด และผู้รับซื้อของเก่าไม่รับซื้อทรัพย์สินของทางราชการ
    3. แก้ปัญหาที่เป็นแรงจูงใจของผู้ก่อเหตุ โดยรัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง ความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและประชาชน
    ทั้งนี้นายร่มธรรมได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนจะติดตามความคืบหน้าต่อไป เพื่อไม่ให้รายงานเล่มนี้ เป็นเพียงกระดาษที่กองทิ้งไว้ และเพื่อไม่ให้สภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ถูกมองว่าเป็นเพียงเสือกระดาษ พูดอะไร เสนออะไรก็ไร้ความหมาย
    #พรรคประชาธิปัตย์ #democratpartyth

КОМЕНТАРІ •