เทสโทสเทอโรน ฮอร์โมนเพศชายที่ต้องรู้ !

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 18 гру 2024

КОМЕНТАРІ • 14

  • @doctortumm
    @doctortumm  9 місяців тому +3

    คุณผู้ชายท่านใดมีอาการดังต่อไปนี้บ้าง ?
    - อารมณ์/ความรู้สึกทางเพศลดลง
    - การแข็งตัวของอวัยวะเพศน้อยลง
    - สมรรถภาพทางเพศลดลงจากเดิม
    - น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ไขมันส่วนเกินเพิ่มขึ้น อ้วนลงพุง
    - กล้ามเนื้อลดลง ออกกำลังกายกล้ามขึ้นยากกว่าเดิม
    - เหนื่อยล้าอ่อนเพลียเรื้อรัง มากกว่า 3 เดือนขึ้นไป
    - ต้องใช้ตัวช่วยปลุกพลังชีวิตมากขึ้น เช่น กาแฟ
    - ไม่ค่อยมีแรงในการออกกำลังกาย
    - นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ
    - มีภาวะซึมเศร้า หรือ หงุดหงิดง่าย
    - ไม่มีสมาธิ ความจำไม่ค่อยดี
    - และอาการอื่น ๆ

  • @doctortumm
    @doctortumm  9 місяців тому +2

    TESTOSTERONE [Male Hormone]
    เทสโทสเทอโรน หรือ ฮอร์โมนเพศชาย เป็นฮอร์โมนตัวหลักตัวสำคัญของผช. ทำหน้าที่ช่วยสร้างสเปิร์ม และทำให้มีลักษณะเพศชาย เช่น รูปร่างที่เป็นผู้ชาย มีหนวดเครา มีกล้ามเนื้อที่ใหญ่ มีกระดูกที่แข็งแรง ช่วยให้เกิดอารมณ์ความต้องการทางเพศ การแข็งตัวของอวัยวะเพศ ส่งเสริมด้านอารมณ์ พฤติกรรม ความคิด การมั่นใจในตัวเอง และอื่น ๆ อีกมากมาย

    ใน ผญ. ก็มีฮอร์โมนชนิดนี้ แต่มีปริมาณน้อยกว่าผช. หน้าที่สำคัญ คือ เทสโทสเทอโรนในผู้หญิงมีบทบาทสำคัญในเรื่องการเกิดอารมณ์ความต้องการทางเพศ/ความรู้สึกทางเพศ ช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก การเผาผลาญของร่างกายและอื่น ๆ

  • @ifof8882
    @ifof8882 9 місяців тому +1

    ❤😂🎉🎉😂❤หมายความว่า ถ้าผู้หญิงมีฮอโมนชายเยอะ จะมีกล้ามไหมค่ะ พูดจริงๆผู้สูงอายุหญิงควรจะมี จะแข็งแรงเพิ่มไหม

    • @bhobbawannasing271
      @bhobbawannasing271 9 місяців тому

      ถ้าตอบแบบ 1+1=2 คือ ใช่ครับ ถ้าเทสในผู้หญิงเท่าผู้ชาย แต่ความเป็นจริงผู้หญิงมีเทสน้อยกว่าผู้ชายมาก เอาว่าผู้ชายยังยกเหล็กกันแรมปีเพื่อให้ขนาดขยายได้นิดเดียว ผู้หญิงที่ส่วนใหญ่กลัวกล้ามขึ้นอยู่แล้ว ยกเบากว่า ความเข้มข้นน้อยกว่ามาก ไม่มีทางที่จะกล้ามขึ้นเป็นมัดใหญ่ๆแบบผู้ชายแน่นอน คนที่ใหญ่จริงๆ คือนักเพาะกายหญิงครับ แต่เขาใหญ่ได้ขนาดนั้นเพราะเทคฮอร์โมนเพศชาย แถมเล่นหนัก และเข้มข้นแบบสุดครับ

  • @jamechannel8643
    @jamechannel8643 8 місяців тому

    ซื้อยามากินได้ไหมครับ

    • @doctortumm
      @doctortumm  8 місяців тому

      ไม่ได้ครับ ต้องให้หมอเป็นคนสั่งจ่ายครับ

  • @นายโต่ยคราฟ
    @นายโต่ยคราฟ 8 місяців тому

    คุณหมอพี่มีข้อสงสัย คือฮอร์โมนสูงมาก 2160 จะมีผลกระทบอะไรไหม ในอนาคต

    • @doctortumm
      @doctortumm  8 місяців тому

      ได้ใช้ฮอร์โมนแบบ ทาน ทา หรือ ฉีดไหมครับ ? ปกติ Total Testosterone จะไม่สูงมากเกิน 1000 ng/dL (10 mg/dL)

    • @นายโต่ยคราฟ
      @นายโต่ยคราฟ 8 місяців тому

      @@doctortumm ไม่ได้ใช้อะไรทั้งสิ้น มันเพิ่มขึ้นเรื่อยทุกปี แต่อาหารเสริม คือ vit c 1000 มก. และทาน ไบโอติน ปีที่แล้ว 1421 ปี 65=870

  • @dekdeeish
    @dekdeeish 7 місяців тому

    ถ้า 48 ปี อยู่ที่ 290 นี่ถือว่าต่ำหรือเปล่าครับ

  • @doctortumm
    @doctortumm  3 місяці тому +2

    👨🧔 8 แนวทางในการเสริมสร้างกระบวนการผลิตฮอร์โมนเพศชายให้อยู่ในระดับที่ดีอยู่เสมอนั้น ประกอบไปด้วยหลายปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ครับ
    .
    [1] ไม่ปล่อยให้ตัวเองอ้วน หรือ มีไขมันสะสมมากไป
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันที่สะสมภายในช่องท้อง (Visceral fat) ถ้าหากมีอยู่แล้ว แนะนำว่าควรพยายามลดให้ได้ เพราะไขมันที่สะสมมากในช่องท้องจะเพิ่มการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) มากเกินไปจากการมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า #อะโรมาเตส (Aromatase) การมีระดับเอสโตรเจนสูงมากกว่าปกติ จะทำให้เสี่ยงต่อการมีบุตรยากและโรคต่าง ๆ อีกหลายอย่าง
    .
    [2] มาออกกำลังกายสม่ำเสมอกันเถอะ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง (เล่นเวท) เพราะจะช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเทอโรน) ได้มากขึ้น สร้างมวลกล้ามเนื้อ รวมถึงโกร๊ทฮอร์โมนอีกด้วย
    .
    [3] หันมาใส่ใจเรื่องอาหารการกินให้ดียิ่งขึ้น
    เน้นการกินโปรตีนดีจากธรรมชาติ เช่น ไก่ ไข่ ปลา เนื้อหมู วัว เนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการแปรรูปมาก แหล่งโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว ธัญพืชชนิดต่าง ๆ เต้าหู้ เน้นไขมันดีจากธรรมชาติ เช่น ไขมันจากพืช จากเนื้อสัตว์ จากเนื้อปลา จากน้ำมันปลา จากถั่ว ธัญพืช เป็นต้น และกินอาหารอื่น ๆ ให้สมดุลกัน เช่น คาร์โบไอเดรต วิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร เป็นต้น
    .
    [4] นอนให้เพียงพอ
    ไม่ควรนอนดึก เพราะช่วงหลับร่างกายได้พักผ่อนและสร้างฮอร์โมนออกมาได้มากขึ้น
    .
    [5] ลดอาหารและลดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน
    เช่น ของกินที่มีน้ำตาลมาก ๆ และควรลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และ คาเฟอีนสูงร่วมด้วย เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะความเครียดสะสมในร่างกาย ที่จะเร่งผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมามากขึ้น (Adrenal stress) ซึ่งจะส่งผลให้ระดับเทสโทสเทอโรนผลิตได้น้อยลง
    .
    [6] พยายามหลีกเลี่ยงความเครียดให้ได้มากที่สุด
    ควรเลี่ยงความเครียดที่จะเข้ามา ทั้งทางร่างกาย (Physical stress) และจิตใจ (Mental stress) เท่าที่จะสามารถทำได้ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะความเครียดสะสมในร่างกาย ที่จะเร่งผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมามากขึ้น (Adrenal stress) ซึ่งจะส่งผลให้ระดับเทสโทสเทอโรนผลิตได้น้อยลง
    .
    [7] เสริมสารอาหารบางชนิดในการผลิตฮอร์โมนเพศชาย
    ได้แก่ กรดอะมิโนต่าง ๆ ได้แก่ L- Arginine, L- Glutamine, L- Ornithine, BCAAs (Valine, Leucine & Isoleucine) ร่วมกับ Zinc, Copper, Selenium, Vitamin C, D, E, Whey protein ตามความเหมาะสม หรือ บางกรณีหากตรวจระดับพบว่าฮอร์โมนต่ำลงมาก แพทย์อาจพิจารณาใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริมให้ได้อีกด้วย (Testosterone Replacement Therapy : TRT)
    [8] ข้อสุดท้ายสำคัญไม่น้อยไปกว่าข้ออื่น ๆ นั่นก็คือ #ไม่ควรใส่กางเกงชั้นในหรือกางเกงที่รัดมากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดมาที่อัณฑะได้ ซึ่งเป็นบริเวณที่ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนหลักในผู้ชาย ทำให้สร้างฮอร์โมนเพศชายรวมถึงสเปิร์มได้น้อยลง นั่นเอง

  • @Andrew-c3t1j
    @Andrew-c3t1j 9 місяців тому +1

    ไปตรวจได้ที่ไหนบ้างครับ คุณหมอ

    • @doctortumm
      @doctortumm  9 місяців тому

      เทสโทสเทอโรน สามารถตรวจได้ตาม รพ หรือ คลินิกทั่วไป ที่สามารถส่งตรวจระดับฮอร์โมนในเลือดได้ครับ

    • @นายโต่ยคราฟ
      @นายโต่ยคราฟ 8 місяців тому

      ผมตรวจสุขภาพประจำปีนะครับ อายุ 45 ขึ้นไป เขาตรวจให้ทุกคน