ลายฟ้อนไทพวน วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 11 жов 2024
  • “ไทยพวน” เป็นชื่อที่กลุ่มชาติพันธุ์เรียกแทนตนเอง คำว่า “พวน” เป็นชื่อเรียกชาวเมืองพวนเมื่ออาศัยอยู่ในประเทศลาว ชื่อเรียกนี้มีทั้งเขียนด้วย “ไท” และคำว่า “ไทย” โดยคำว่า “ไท” นั้นหมายถึง “คน เมื่อย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทยถูกเรียกว่า “ลาวพวน” เพื่อบ่งบอกว่ามาจากลาว ภายหลังมีการเขียนว่า “ไทยพวน” เพื่อแสดงถึงความเป็นกลุ่มคนเชื้อสายพวนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกอื่น ๆ ในหลากหลายบริบท ได้แก่ “ไทพวน” “ลาวพวน” “ไทยพวน” “พวน” “ลาวกะเลอ” และ “ไทยกะเลอ” ซึ่งเป็นชื่อเรียกที่หมายถึงชาวไทยพวนทั้งสิ้น
    จากข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชาวพวน ระบุว่า ในคริสตศตวรรษที่ 16 มีรัฐขนาดเล็กที่ปกครองด้วยตนเอง โดยใช้ชื่อว่า “เมืองพวน” ปัจจุบันคือเมืองคุน แคว้นเชียงขวาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบกับในแคว้นเชียงขวางปรากฏว่ามีแม่น้ำสายที่ชื่อว่าแม่น้ำพวน ทั้งนี้ เมืองพวนตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างเวียดนามและลาว จึงถูกกองทัพเวียดนามและลาวรุกรานอยู่บ่อยครั้ง กษัตริย์เมืองพวนต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้เวียดนาม ต่อมาเมื่อเจ้าฟ้าเมืองพวนมีความขัดแย้งกันรุนแรง เวียดนามจึงเข้ามาแทรกแซง กระทั่งสุดท้ายเมืองพวนจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของสยามและเวียดนาม ชาวพวนถูกกวาดต้อนเข้ามาในฐานะเชลยสงคราม จากข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์การอพยพ แบ่งการอพยพของชาวพวนออกเป็น 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่หนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2322 เมืองพวนตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงธนบุรี แต่ยังไม่มีการกวาดต้อนชาวพวนเข้ามา และครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2369-2380พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ในพ.ศ. 2369 ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการกวาดต้อนชาวลาวพวนและชาวลาวเวียงจำนวนมากเข้ามาในประเทศไทย ปัจจุบันชาวไทยพวนส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคตะวันออกครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ 1) จังหวัดนครนายก ในอำเภอปากพลี และอำเภอเมือง 2) จังหวัดฉะเชิงเทรา ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว และ 3) จังหวัดปราจีนบุรีในอำเภอประจันตคาม ส่วนใหญ่นิยมตั้งถิ่นฐานใกล้กับแม่น้ำ เพราะมีชีวิตผูกพันกับอาชีพเกษตรกรรม นอกจากนี้ชาวพวนยังอาศัยกระจัดกระจายในหลายจังหวัดของประเทศไทย อาทิ จังหวัดแพร่ อุดรธานี เพชรบุรี และสุพรรณบุรี
    ชาวไทยพวนมีวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น โดยเฉพาะด้านภาษาพวนที่ยังคงใช้ในการสื่อสารกันในชุมชนควบคู่ไปกับการใช้ภาษาไทย ด้านอาหาร นิยมทานปลาร้า และนำมาเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารหลายประเภท ด้านการแต่งกาย นิยมแต่งกายด้วยผ้าหม้อห้อมและผ้าซิ่นในชีวิตประจำวัน ในบางพื้นที่มีการประยุกต์เสื้อผ้าให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น ด้านประเพณี มีประเพณีสำคัญที่คนในชุมชนยังคงปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น ประเพณีฮีต 12 คอง 14พิธีเลี้ยงผีปู่ตา ประเพณีกำฟ้า นอกจากนี้ชาวไทยพวนหลายพื้นให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ทั้งยังร่วมมือกันกับหลายภาคส่วนในการประยุกต์หัตถกรรมท้องถิ่นให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และประเพณีให้คงอยู่สืบไป

КОМЕНТАРІ •