อุโบสถศีล - ศีลที่รักษาเป็นประจำในวันพระ (Thai - Eng - Chai)

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 15 жов 2024
  • #อุโบสถศีล คือ ข้อปฏิบัติสำหรับพัฒนาตนให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเช่นเดียวกับ #ศีล 8 ของอุบาสกอุบาสิกา จะสมาทานรักษาเป็นประจำใน #วันพระ คือ วันขึ้น และแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ (แรม 14 ค่ำในเดือนขาด) มีองค์สิกขาบท และองค์แห่งศีลเหมือนกัน ต่างกันแต่คำอาราธนา คำสมาทาน และกาลเวลาที่กำหนดเท่านั้น
    #อุโบสถ แปลว่า การเข้าอยู่ หรือดิถีอันวิเศษที่จะเข้าจำศีล การถืออุโบสถจะมีเวลากำหนด เช่น หนึ่งวันกับหนึ่งคืน โดยกำหนดเอาอรุณแห่งวันรุ่งขึ้นหรือเวลาใกล้อาทิตย์จะขึ้น ซึ่งมีสองระยะ คือ มีแสงขาว เรื่อๆ (แสงเงิน)และแสงแดง (แสงทอง) ในเวลาย่ำรุ่ง เป็นการหมดเขตการสมาทานหรือหมดเวลา การรักษาอุโบสถศีล ส่วนศีล 8 ไม่มีเวลากำหนด สามารถรักษาได้ตลอดเวลา
    การสมาทานอุโบสถศีล จะสมาทานร่วมกันทุกข้อ เรียกว่า เอกัชฌสมาทาน ดังนั้นการรักษา อุโบสศีลจึงต้องรักษารวมกันทุกสิกขาบทหรือทุกข้อ ถ้าขาดข้อใดไปก็คือว่าศีลขาดจากความเป็นผู้รักษา อุโบสถศีล
    ประเภทของอุโบสถศีล
    อุโบสถศีล แบ่งออกตามช่วงเวลาในการรักษาศีลได้เป็น 3 ประเภท คือ
    1. ปกติอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่รักษากันในช่วงเวลา 1 วัน กับ 1 คืน โดยมากรักษากันในวันขึ้น หรือแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ หรือ แรม 14 ค่ำ ในเดือนคี่ หรือเป็นการรักษากันในวันพระนั่นเอง ปกติอุโบสถ จัดเป็นอุโบสถขั้นต้น
    2. ปฏิชาครอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่รักษากันในช่วงเวลานานถึง 3 วัน ตัวอย่างเช่น วัน 7 ค่ำ เป็นวันรับอุโบสถ วัน 8 ค่ำเป็นวันรักษาอุโบสถ วัน 9 ค่ำ เป็นวันส่งอุโบสถ รวมเป็น 3 วัน คือ วันรับ วันรักษา และวันส่ง ปฏิชาครอุโบสถจัดเป็น อุโบสถขั้นกลาง
    3. ปาฏิหาริยอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่มีกำหนดเวลาดังนี้
    1) อย่างต่ำ เริ่มตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึง แรม 14 ค่ำ เดือน11 รวม 14 วัน
    2) อย่างสูง เริ่มตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน12 รวม 4 เดือน ปาฏิ-หาริยอุโบสถจัดเป็น อุโบสถขั้นสูง
    kalyanamitra.o...
    www.trustgaew....
    th.wikipedia.o...

КОМЕНТАРІ • 29