ลมใต้ปีกของนกแก้วโม่ง - รายการทำอะไรก็ธรรม ซีซั่น 2

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 12 вер 2024
  • “มนุษย์กับธรรมชาติ” จะอยู่ร่วมกันได้หรือไม่ ถือเป็นคำถามที่ชวนคิด มาหลายยุคหลายสมัย ว่าทางออกในเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ยิ่งในเขตพื้นที่เมืองใหญ่ ที่กระบวนการ “การพัฒนา” ดูเข้ามารุกล้ำพื้นที่สีเขียว และเปลี่ยนพื้นที่เขตเกษตรกรรมให้กลายมาเป็นพื้นที่รองรับความเจริญทางด้านวัตถุ จนบ่อยครั้งธรรมชาติที่เคยดำรงอยู่ถูกทำลาย และทำให้สัตว์จำนวนมากที่อยู่ร่วมกับมนุษย์มาอย่างช้านาน กลับกลายต้องอพยพ ย้ายถิ่นฐาน และหากไม่ได้รับการดูแล อย่างถูกวิธี ที่สุดแล้วก็จะสูญพันธุ์ไป เหมือนกับที่เรารับรู้มาในอดีตนับครั้งไม่ถ้วน
    กรณีศึกษาของ “นกแก้วโม่ง : สัตว์ป่านอกเขตพื้นที่อนุรักษ์” ก็มีชะตากรรมไม่ต่างจากที่เกริ่นไว้ในข้างต้น ยิ่งถิ่นที่พบเจออยู่ในเขตพื้นที่ปริมณฑลทางฝั่งตะวันตก อย่างจังหวัดนนทบุรี ที่ปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่ที่รองรับการขยายตัวเขตพื้นที่ทางเศรษฐกิจ ก็ทำให้ประชากรของ “นกแก้วโม่ง” ที่เคยใช้พื้นที่เหล่านี้เป็นแหล่งอาหาร และที่พักอาศัย กลับตกอยู่สถานการณ์ขั้นวิกฤตทีเดียว
    โชคยังดีในเขตอภัยทานหลายๆ พื้นที่ในจังหวัดนนทบุรี อาทิเช่นวัดสวนใหญ่ ยังคงมีต้นไม้ใหญ่ที่สมาชิกในชุมชนร่วมกันประกาศเป็นพื้นที่เขตอนุรักษ์เพื่อช่วยกันดูแล นกแก้วโม่ง ฝูงสุดท้ายในเขตจังงหวัดนนทบุรี ฝูงนี้อยู่ ในนามของกลุ่มชมรมอนุรักษ์นกแก้วโม่ง วัดสวนใหญ่ ที่นอกจากจะคอยเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวังภัยจากบุคคลภายนอก ก็ยังนำข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ สื่อสารออกไปบนโลกออนไลน์ เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับสัตว์ชนิดนี้ จนในที่สุดเรื่องราวนกแก้วโม่งก็ได้รับความสนใจจากสังคมเป็นอย่างมาก
    ท่ามกลางความสนใจจากบุคคลภายนอกที่รับรู้ถึงข่าวสาร และเดินทางเข้ามาในพื้นที่เพื่อติดตามเรื่องราวของนกแก้วโม่ง พร้อมกับให้กำลังใจคนทำงาน อย่างไม่ขาดสาย หนึ่งในนั้นก็คือ ดร.ศรันย์ภัทร์ สุวรรณรัตน์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมกับลูกศิษย์ ที่นอกจากเข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจแล้ว โครงการศึกษาประชากรและนิเวศวิทยาของนกแก้วโม่งในจังหวัดนนทบุรี ครั้งนี้ถืออีกก้าวหนึ่งในการหนุนเสริมงานด้านการอนุรักษ์ของนกแก้วโม่งเลย
    นับตั้งแต่ช่วงฤดูผสมพันธุ์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา มาจนถึงปัจจุบัน ที่คณะทำงานเข้ามาศึกษาข้อมูลโดยเริ่มต้นตั้งคำถามอย่างง่ายๆ ถึงวงจรชีวิตของนกแก้วโม่งฝูงนี้ และบันทึกข้อมูลโดยละเอียดที่สุด ถึงพฤติกรรมในช่วงฤดูผสมพันธุ์ของนกแก้วโม่ง จนถึงการให้กำเนิดชีวิตใหม่ รวมถึงการศึกษาในเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับองค์ประกอบแวดล้อมในปัจจุบันที่พยายามดำรงอยู่ ว่ามีการปรับตัวอย่างไร ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะนำกลับมาสู่การทำงานด้านการอนุรักษ์อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และสามารถนำฐานข้อมูลต่างๆ เหล่านี้นำไปขยายผลได้มากยิ่งขึ้นนี้เราก็พอใจแล้ว ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบก็ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี จากข้อมูลในการทำงานศึกษาในครั้งนี้ ก็มีแนวโน้มประชากรของนกแก้วโม่งที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งก็เกิดจากการคนกลุ่มเล็กๆในพื้นที่ที่ลุกขึ้นมาช่วยกันดูแล และมีความรักและเมตตา และช่วยกันดูแลรักษาเพื่อมิให้นกแก้วโม่งหายไปจากในพื้นที่ จ.นนทบุรี
    ย้อนกลับมาถึงคำถามที่ชวนคิดตั้งแต่เริ่มต้นว่า มนุษย์กับธรรมชาติ จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อีกนานแค่ไหน เรื่องราวของนกแก้วโม่ง ที่จังหวัดนนทบุรีก็น่าจะเป็นตัวอย่างที่ให้แง่มุมในเรื่องของการประคับประคองและอยู่ร่วมกันได้ หากเรายังเห็นคุณค่าและความหมายของกันและกัน และไม่ปล่อยให้กิเลส และความโลภเข้ามาครอบครองจิตใจและพื้นที่ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ดังเช่น ธรรมะบรรยายของพุทธทาสภิกขุ ที่ว่า “ความก้าวหน้าในทางวัตถุที่เป็นเหยื่อของกิเลสมีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างวิกฤตการณ์มากเท่านั้น”
    #ทำอะไรก็ธรรม
    #กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
    #สร้างสรรค์สังคมรมณีย์
    #12ปีสวนโมกข์กรุงเทพ

КОМЕНТАРІ •