มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร 般若波羅蜜多心經 (สูตรหัวใจแห่งโลกุตรปัญญาแห่งการหลุดพ้น)

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 18 жов 2024
  • มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
    般若波羅蜜多心經
    (สูตรหัวใจแห่งโลกุตรปัญญาแห่งการหลุดพ้น)
    กวัน จื้อ ไจ้ ผู ซ่า สิง เซิน ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตวอ สือ
    觀自在菩薩,行深般若波羅蜜多時,
    พระผู้ทอดสายตาคอยช่วยเหลือสรรพสัตว์ ยามปฏิบัติลึกซึ้งซึ่งปัญญาและบารมี
    เจ้า เจี้ยน อู่ อวิ้น เจีย คง
    ตู้ อี๋ เชี่ย ขู่ เอ้อ
    照見五藴皆空,度一切苦厄。
    เห็นแจ้งว่าสิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นมนุษย์ล้วนว่างเปล่า จึงข้ามพ้นทุกข์ทั้งหลาย
    เซ่อ ลี่ จื่อ เซ่อ ปู๋ อี้ คง คง ปู๋ อี้ เซ่อ
    舍利子,色不異空,空不異色,
    สารีบุตร รูปลักษณ์ไม่ต่างจากความว่างเปล่า ความว่างเปล่าไม่ต่างจากรูปลักษณ์
    เซ่อ จี๋ ซื่อ คง คง จี๋ ซื่อ เซ่อ
    色即是空,空即是色。
    รูปลักษณ์คือความว่างเปล่าโดยแท้ ความว่างเปล่าโดยแท้คือรูปลักษณ์
    โซ่ว เสี่ยง สิง ซื่อ อี้ ฟู่ หยู ซื่อ
    受、想、行、識:亦復如是。
    ความรู้สึก ความจำ การปรุงแต่ง และการรับรู้ ก็เช่นเดียวกัน
    เซ่อ ลี่ จื่อ ซื่อ จู ฝ่า คง เซี่ยง
    舍利子,是諸法空相。
    สารีบุตร,ธรรมชาติทั้งปวงล้วนแต่มีลักษณะที่ว่างเปล่า
    ปู้ เซิง ปู๋ เมี่ย
    ปู๋ โก้ว ปู๋ จิ้ง
    ปู้ เจิง ปู้ เจี่ยน
    不生不滅,不垢不淨,不增不減。
    ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่เต็ม ไม่พร่อง
    ซื่อ กู้ คง จง อู๋ เซ่อ
    是故空中無色,
    ดังนั้น ภายในความว่างเปล่าจึงปราศจากรูปลักษณ์
    อู๋ โซ่ว เสี่ยง สิง ซื่อ
    อู๋ เหยี่ยน เอ่อ ปี๋ เสอ เซิน อี้
    無受、想、行、識;無眼、耳、鼻、舌、身、意,
    ไร้ความรู้สึก ความจำ การปรุงแต่ง และการรับรู้ ไร้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    อู๋ เซ่อ เซิง เซียง เว่ย ชู่ ฝ่า
    อู๋ เอยี่ยน เจี้ย ไหน่ จื้อ อู๋ อี้ ซื่อ เจี้ย
    無色、聲、香、味、觸、法,無眼界,乃至無意識界,
    ไร้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ที่ใจคิด ,ไร้ผัสสะแห่งดวงตา แม้กระทั่งไร้ผัสสะแห่งดวงใจ
    อู๋ อู๋ หมิง
    อี้ อู๋ อู๋ หมิง จิ้น
    ไหน่ จื้อ อู๋ เหลา สื่อ
    อี้ อู๋ เหลา สื่อ จิ้น
    無無明,亦無無明盡;乃至無老、死,亦無老、死盡。
    ไร้ซึ่งความไม่รู้แจ้ง และยังไร้การสิ้นสุดของความไม่รู้แจ้ง กระทั่งความไม่แก่ชราและความตาย ยังรวมถึงการสิ้นไปของความแก่ชราและความตาย
    อู๋ ขู่ จี๋ เมี่ย เต้า
    อู๋ จื้อ อี้ อู๋ เต๋อ
    無苦、集、滅、道,無智亦無得。
    ไม่มีทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ การสิ้นไปแห่งทุกข์และวิถีแห่งการสิ้นทุกข์ ไม่มีความรอบรู้ ไม่มีการได้มาซึ่งความรอบรู้
    อี่ อู๋ สว่อ เต๋อ กู้
    ผู๋ ถี ซ่า ตว่อ
    อี ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตัว กู้
    以無所得故,菩提薩埵,依般若波羅蜜多故。
    ด้วยเหตุที่ไร้การจะได้มาซึ่งความรอบรู้ พระโพธิสัตว์จึงดำเนินตามครรลองแห่งปัญญาและบารมีดังนี้
    ซิน อู่ กว้า ไอ้
    อู่ กว้า ไอ้ กู้
    心無罣礙,無罣礙故,
    จิตใจจึงไร้ความกังวล เมื่อจิตใจไร้ความกังวลดังนี้
    อู๋ โหยว ข่ง ปู้
    เอวี่ยน หลี เตียน เต่า เมิ่ง เสี่ยง
    จิ้ว จิ้ง เนี่ย ผัน
    無有恐怖,遠離顛倒夢想,究竟涅槃。
    จึงปราศจากความกลัว ห่างไกลภาพฝันอันเป็นมายา บรรลุความหลุดพ้นเป็นแน่แท้
    ซัน ซื่อ จู ฝอ
    อี ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตวอ กู้
    三世諸佛,依般若波羅蜜多故,
    พระพุทธเจ้าทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เนื่องด้วยปัญญา และบารมีดังนี้
    เต๋อ อา โน่ว ตวอ หลัว ซัน เหมี่ยว ซัน ผู ถี
    得阿耨多羅三藐三菩提
    จึงบรรลุถึงความรู้แจ้งอันสูงสุด
    กู้ จือ ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตวอ
    故知般若波羅蜜多。
    ด้วยเหตุนี้ พึงเข้าใจว่าปัญญาและบารมีนั้น
    ซื่อ ต้า เสิน โจ้ว
    ซื่อ ต้า หมิง โจ้ว
    是大神咒,是大明咒
    คือคำภาวนาอันทรงศักดาอานุภาพ คือคำภาวนาอันแจ่มแจ้ง
    ซื่อ อู๋ ซั่ง โจ้ว
    ซื่อ อู๋ เติ๋ง เติ่ง โจ้ว
    是無上咒,是無等等咒。
    คือคำภาวนาที่สูงสุด คือคำภาวนาที่ไร้เทียมทาน
    เหนิง ฉู อี๋ เชี่ย ขู่
    เจิน สือ ปู้ ซวี
    能除一切苦,真實不虛,
    สามารถเยียวยาความทุกข์ทรมานทั้งหลาย เป็นความจริงแน่แท้ไม่แปรผัน
    กู้ ซวอ ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตวอ โจ้ว
    故說般若波羅蜜多咒。
    จึงพึงสาธยายคำภาวนาแห่งปัญญา และบารมีดังนี้
    จี๋ ซวอ โจ้ว เอวีย
    即說咒曰
    เอ่ยคำภาวนาดังนี้ว่า
    เจีย ตี้ เจีย ตี้
    ปวอ หลัว เจีย ตี้
    ปวอ หลัว เซิง เจีย ตี้
    ผู ถี ซ่า ผวอ เฮอ
    揭諦,揭諦,波羅揭諦,波羅僧揭諦, 菩提,薩婆訶。
    คเต คเต ปารคเต ปารสัมคเต โพธิ สวาหา
    (ไป ไป ข้ามไปให้พ้น ให้พ้นที่สุด ถึงความรู้แจ้ง เทอญ)
    ม๋อ เหอ ปวอ เหย่อ ปวอ หลัว มี่ ตวอ ซิน จีง
    摩訶般若波羅蜜多心經。
    มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
    *
    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (สันสกฤต: प्रज्ञापारमिताहृदय, สันสกฤต- โรมาไนซ์ : Prajñāpāramitā Hṛdaya) คือพระสูตรที่สำคัญและเป็นที่นิยมยิ่งในพุทธศาสนา ชื่อ "ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร"
    มีความหมายตามตัวอักษรว่า "พระสูตรอันเป็นหัวใจแห่งปฏิปทาอันยวดยิ่งแห่งความรู้แจ้ง" ในภาษาอังกฤษมักแปลโดยสังเขปว่า "หฤทัยสูตร" (The Heart Sūtra)
    พระสูตรนี้มักได้รับการยอมรับว่าเป็นพระสูตรที่มีผู้รู้จัก และนิยมที่สุดมากกว่าพระสูตรใดของพุทธศาสนา (ฝ่ายมหายาน เซน, ตันตระ, วัชรยาน) โดยแต่งเป็นโศลกภาษาสันสกฤตจำนวน ๑๔ โศลก แต่ละโศลกมี ๓๒ อักขระ
    โดยสังเขปแล้วพระสูตรนี้พรรณนาถึงการบรรลุธรรมของ พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตตว์ 觀世音菩薩 อันเกิดจากการเพ่งวิปัสนาอย่างล้ำลึก จนบังเกิดปัญญา (ปรัชญา) ในการพิจารณาเล็งเห็นว่าสรรพสิ่งต่าง ๆ ล้วนว่างเปล่าและประกอบด้วย ขันธ์ ๕ (ปัญจสกันธะ)
    อันได้แก่ รูป, เวทนา, สัญญา (สังชญา), สังขาร (สังสการ) และวิญญาณ(วิชญาน) ทั้งนี้ หัวใจหลักของพระสูตร ดังที่ระบุว่า
    "รูปคือความว่างเปล่า ความว่างเปล่าคือรูป รูปไม่อื่นไปจากความว่างเปล่า ความว่างเปล่าไม่อื่นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ว่างเปล่า"
    นับเป็นแก่นแท้ของพุทธศาสนา เห็นแจ้งในรูปเป็นความว่างเปล่า เกิดมหาปัญญา เห็นแจ้งในความว่างเปล่าเป็นรูป เกิดมหากรุณา เมื่อเห็นแจ้งในรูปเป็นความว่างเปล่า ความ ยึดมั่นในอัตตาย่อมไม่มี ความหลงในสรรพสิ่งย่อมถูกทำลายไป ธรรมชาติแท้ของสรรพสิ่ง ก็บังเกิดขึ้นในจิต
    นั่นคือ มหาปัญญา ได้บังเกิดขึ้น และเมื่อได้เห็นแจ้งถึงความว่างเปล่าได้ กำเนิดรูป ความรัก ความเมตตากรุณาในสรรพสิ่งที่เป็นธรรมชาติแท้ย่อมบังเกิดขึ้น ความ เมตตากรุณาที่เกิดจากปัญญาจะไม่มืดบอด หลงไหล ความรักของบิดามารดาที่มีต่อบุตรเป็น เช่นเดียวกั

КОМЕНТАРІ •