อ้อย - ตอนที่ 1 - การกำหนดสูตร อัตรา และวิธีการใส่ปุ๋ยอ้อย

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 7 січ 2025

КОМЕНТАРІ • 108

  • @phud2940
    @phud2940 4 роки тому +6

    ขอบคุณสำหรับVDOนี้นะคะ เป็นประโยชน์มากค่ะอาจารย์
    ขอสรุปตามความเข้าใจนะคะ การให้ปุ๋ยที่อายุ 90 วันคือเหมาะสุดเพราะใส่ถูกระยะตามที่พืชต้องการ นาทีที่ 14:49 เป็นต้นไปจะเห็นว่าพืชต้องการธาตุไหนมากน้อยกว่ากันกี่กิโลกรัมต่อไร่ สรุปสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมและผลผลิตที่ได้นาทีที่ 21:05
    เหนือสิ่งอื่นใดอิทรีย์วัตถุในดินขาดไม่ได้เพราะเป็นตัวเก็บกักปุ๋ยไว้

  • @greentiger8814
    @greentiger8814 4 роки тому +1

    มีการวิจัยนักศึกษา กำลัง ทำถ่านชาโคล จากใบอ้อย ยังมีธาตุอาหารจากการเผา ยังมี K จะได้ไม่เสียประโยชน์จากการเผาทิ้งแล้ว ขอให้มีงานวิจัยแบบนี้เยอะๆ ครับ

  • @กมลชนกเจริญชัย-ช3ฒ

    กราบเรียนอาจารย์ค่ะ ตอนนี้หนูปลูกอ้อยค้้นน้ำ จะใช้ปุ๋ยสูตรของอาจารย์แนะนำจะได้ไหมค่ะ

  • @anubistj8995
    @anubistj8995 4 роки тому +1

    คลิปนี้สุดยอดมากครับ ชาวไร่อ้อยต้องดู

  • @zzzzzzknab
    @zzzzzzknab 4 роки тому +2

    ขอบพระคุณอาจารย์ครับ ได้ความรู้ใหม่ๆมากเลยครับ อยากให้ลงคลิปเรื่องอ้อยอีกครับ

  • @สวนมะม่วงแก้วขมิ้น-กําแพงเพชร

    ได้ความรู้มากๆๆครับ ขอบคุณครับนำคลิปดีๆสู่เกษตรกร

  • @พรชัยศักดิ์อุบล

    ขอบคุณมากครับอาจารย์ ที่มาให้ความรู้

  • @49405308
    @49405308 4 роки тому +1

    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ

  • @aaas9267
    @aaas9267 6 місяців тому

    ขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง

  • @phraiwanseankham3139
    @phraiwanseankham3139 4 роки тому +1

    ขอบคุณมากครับ ผมติดตาม อาจารย์ได้จากช่องนี้ครับ

  • @nucharinkeawsai3974
    @nucharinkeawsai3974 4 роки тому

    สุดยอดค่ะ ความรู้แน่มากๆตามไม่ทันอาศัยดูย้อนหลังอันไหนไม่เข้าใจ

  • @aaas9267
    @aaas9267 2 роки тому

    ขอบพระคุณมากครับอาจารย์

  • @ohmwijittsompon9380
    @ohmwijittsompon9380 4 роки тому +1

    ขอบคุณครับอาจารย์

  • @uthainanny6446
    @uthainanny6446 4 роки тому +1

    ขอบคุณครับ มีสูตรปุ๋ยและวิธีใส่ปุ๋ยยางพาราไหมครับ

    • @uthainanny6446
      @uthainanny6446 4 роки тому

      @@CABKUChannel ขอบคุณครับ

  • @ยาวนิตยหนึง

    อ้อยนี่ราคาไม่ดีเท่าไหร่กิโลกรัมละ 2 บาทเกษตรกรชาวไร่อ้อยน่าจะไปรอดผมถึงคิดคำนวณแบบนี้ต้นทุนกับผลผลิตมันไม่เท่ากันเลยปุ๋ยราคาแพงขึ้นแต่ราคาอ้อยไม่ขึ้นเลย

  • @rutsameephachara6164
    @rutsameephachara6164 4 роки тому +4

    ใส่ปุ๋ยหลายอ้อยก็งามหลายอยู่แล้วจารย์แต่ทำไมโรงงานหรือฝ่ายส่งเสริมตามเขตไม่เห็นมีปุ๋ยที่เหมาะสมกับอายุอ้อยมาให้ใช้เลยตั้งแต่ปลูกจนโตขึ้นลำมีให้ยืมใช้เครดิตสูตรเดียวตลอดปี#เขต3ครบุรี

  • @burinruantip145
    @burinruantip145 4 роки тому +1

    ขอบคุณครับ

  • @ปฐมาวดีบัวสาย-ฅ1ภ

    ขออนุญาตสอบถามค่ะอาจารย์ ปลูกปุ๋ยพืชสดแล้วไถกลบเป็นอินทรียวัตถุในดินหลังจากนั้นควรใส่โดโลไมท์หลังไถกลบปุ๋ยพืชสดกี่วันคะ และหลังใส่โดโลไมท์กี่วันถึงสามารถปลูกอ้อยได้คะ

  • @sanddystartup1820
    @sanddystartup1820 4 роки тому +2

    ขอขอบพระคุนมากๆเจ้าค่ะ 1:75 เจ้าค่ะ ฮาาาาาาาาาา
    ค้ากำไรเกินควรใช่ไหมค่ะ,,

  • @kriengsakboonchoo2938
    @kriengsakboonchoo2938 4 роки тому +1

    จารย์ครับ รอดูทำคลิปข้าวนะครับ

  • @สมควรสมประสงค์-ช7ฃ

    มีเรื่องมันสำปะหลังไหมคับ
    อยากสอบถามเรื่องการใส่ปุ๋ย ปูนขาว ในการปรับปรุงดิน
    จากสูตร ปูนขาว 200โล/ไร่
    ขี้ไก่1ตัน/ไร่
    ยิปซั่ม400โล/ไร่
    ปุ๋ยเคมี50โล/ไร่
    อยากถามว่าถ้าปลูกมันผลจะเป็นยังงัยบ้างคับ

  • @ลาวา-ธ5ผ
    @ลาวา-ธ5ผ 2 місяці тому

    อ้อยตอต้องใส่โดโลไมค์ด้วยมั้ยคับอ.

  • @ขวัญขวัญ-อ9ฉ
    @ขวัญขวัญ-อ9ฉ 4 роки тому +2

    ขออภัยครับผมฟังวิชาการไม่เข้าใจครับ เออคือผมปึกครับ...ผมอยากรู้ว่าปุ๋ยที่ต้องใช้ในระยะ1เดือนขึ้นไปจนถึงตัด ต้องใช้ปุ๋ยสูตรไหน เท่าไหร่ ระยะไหนบ้าง มีท่านไหนช่วยสรุปให้หน่อยนะครับ ขอบคุณมาล่วงหน้าครับ

    • @aaatit5555
      @aaatit5555 4 роки тому

      ดูที่นาทีที่25.00เป็นต้นไป

  • @suputtrathongchak
    @suputtrathongchak Рік тому +1

    อาจารย์คะ อ้อยปี 4 ใส่ปุ๋ยอะไร สูตรอะไรดีคะ แถว ต.ซับสมบูรณ์ อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรค่ะ

  • @dejkho695
    @dejkho695 2 роки тому

    การวัดพืชแต่ชนิด(ทั้งต้น) ดูข้อมูลได้ที่ไหนครับ จะได้รู้สูตรปุ๋ยครับ

  • @คนสวนอินดี้
    @คนสวนอินดี้ 4 роки тому +1

    ตอนนี้อ้อยผม8เดือนน้ำท่วมพึ่งจะแห้ง ผมอยากจะใส่ปุ๋ย จะได้มั้ยเพราะดินยังเปียก จะช่วยให้อ้อยมีน้ำหนักเพิ่มมั้ย

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 4 роки тому

      ถ้าเข้าแปลงได้โดยดินไม่เละ ก็ยังให้ได้อีกสักรอบ ลองดูคะ เพราะไม่ได้บอกว่ามีการใส่ปุ๋ยอะไรมาแล้วบ้าง เลยบอกรายละเอียดเพิ่มเติมกว่านี้ได้ยาก

  • @ศุภานันขันต์ภิณโญ

    ปุ๋ยโลละ10กว่าบาทอ้อยโลละไม่ถึงบาทแม่

  • @นายรังสรรค์เจนการ

    สอบถามเพิ่มเติมครับ อัตราส่วนใส่คงที่ 3 ครั้งเลยใช่ใหมครับ หรือว่าต้องแบ่งตามช่วงอายุว่าแต่ละช่วงอายุอ้อยจำเป็นต้องใช้สัดส่วนธาตุตัวใหนมากกว่ากันครับ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 роки тому +1

      ใช้สูตร 15-5-35 สูตรเดียวตลอดช่วงเติบโตของอ้อยได้คะ ใส่ 50 กก/ไร่เป็นปุ๋ยรองพื้น อีก 50 กก/ไร่ช่วงอายุ 3 เดือน และอีก 50 กก/ไร่ช่วง 5-6 เดือน ถ้าสภาพอ้อยเติบโตดี อยากให้ใส่อีก 50 กก/ไร่ช่วง 7.5-8 เดือน สำหรับผลผลิต 20 ตัน/ไร่ ต้องใส่โดโลไมท์ช่วงแรกตอนปลูกด้วย เราเก็บเกี่ยวในช่วงที่อ้อยยังมีการเติบโตทางลำต้น ไม่ได้เปลี่ยนไปสู่ช่วงออกดอก การใช้ปุ๋ยของอ้อยจึงมีสัดส่วนที่ค่อนข้างคงที่มาก

    • @นายรังสรรค์เจนการ
      @นายรังสรรค์เจนการ 3 роки тому +2

      @@suntareeyingjajaval6739 ขอบคุณมากครับอาจารย์ ผมเป็น เภสัชกร และมีความสนใจเรื่องการเกษตร เลยหันมาทำการเกษตรร่วมด้วย คงต้องหาความรู้และประสบการณ์อีกเยอะเลยครับ

    • @นายรังสรรค์เจนการ
      @นายรังสรรค์เจนการ 3 роки тому

      รบกวนถามเพิ่มนิดครับ คือการใส่รองพื้นที่มีปริมาณ K สูง ไม่มีผลต่อระบบรากใช่ใหมครับ บางสำนักเขาไม่แนะนำให้ใส่น้อยเพราะจะทำให้ระบบรากเน่า (เพราะ K มันเค็มว่างั้นครับ) ผมเลยไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวกันใหมครับ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 роки тому

      จริงๆแล้ว ปุ๋ยทุกชนิดเค็มหมด เพราะเป็นสารประกอบเกลือพร้อมละลาย (เภสัชกรจะเข้าใจเรื่องนี้ได้มากกว่า) อันตรายอยู่ที่ใส่ในดินเป็นกองจำนวนมากขณะดินมีน้ำน้อย ทำให้ปุ๋ยยึดน้ำ จนรากใช้น้ำยาก แต่ปริมาณที่เราใส่ในการปลูกพืชเป็นจำนวนน้อยมาก คิดเล่นๆ ปุ๋ย 1 กระสอบ (50 กก) ต่อไร่ มีธาตุอาหารพืชประมาณ 20 กรัมต่อตารางเมตรเอง เมื่อผสมลงในดิน จะกลายเป็นจำนวนที่เจือจางมาก และโอกาสถูกรากโดยตรงก็น้อย ยิ่งเป็นอ้อยที่มีอาหารและน้ำเลี้ยงจากท่อนพันธุ์ในช่วงแรกที่สร้างราก เราจะไม่กังวลเลยคะ

    • @นายรังสรรค์เจนการ
      @นายรังสรรค์เจนการ 3 роки тому

      @@suntareeyingjajaval6739 ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ อาจารย์

  • @jakkapanbaoau7046
    @jakkapanbaoau7046 4 роки тому

    มีเรื่องปุ๋ยผักไหมครับ

  • @voeechannal2355
    @voeechannal2355 4 роки тому +1

    การเข้าพรวนดินในร่องอ้อยบ่อยๆมีผลกระทบต่อรากอ้อยหรือไม ่บางอาจารย์บอกว่าเข้าพรวนบ่อยทำรากขาดไม่ดีทำให้อ้อยไม่โตสรุปดีหรือไม่ดีคับ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 4 роки тому +1

      การพรวนดินมีผลให้รากขาด ประเด็นคือพรวนดินในร่องอ้อยบ่อยๆเพื่ออะไรคะ ถ้าทำในช่วงแรกที่รากอ้อยยังอยู่ตื้นก็น่าจะถูกกระทบ แต่ถ้าพรวนดินช่วงที่ต้นโตแล้วรากลงลึกก็น่าจะกระทบน้อย

    • @voeechannal2355
      @voeechannal2355 4 роки тому +1

      @@suntareeyingjajaval6739 พรวนเพื่อเก็บหญ้าจะได้ไม่ใช้ยาเคมีคับ

    • @voeechannal2355
      @voeechannal2355 4 роки тому

      ขอบคุณมากคับ

    • @voeechannal2355
      @voeechannal2355 4 роки тому

      เเละพรวนเพื่อให้น้ำซึ่มใด้ลึกฝนตกจะได้อยู่นานเพราะตอนนี้หน้าดิน
      เเห้งเเละเเข็งเนืองจากใบโดนไฟ้ไหม้คับ

  • @สวนเกษตรทฤษฎีใหม่

    ขออนุญาต​สอบถาม​อาจารย์ครับ​ ถ้าเราปลูกอ้อยระบบน้ำหยด​ แล้วเราให้ปุ๋ยตามสายน้ำหยด​ สามารถทำได้ไหมครับ​ ขอบคุณ​ครับ​

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 роки тому +2

      ทำได้คะ ได้ผลผลิตดีขึ้นด้วย

    • @สวนเกษตรทฤษฎีใหม่
      @สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ 3 роки тому

      @@suntareeyingjajaval6739 กราบขอบพระคุณ​มาก​ครับ​ผม

    • @สวนเกษตรทฤษฎีใหม่
      @สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ 2 роки тому

      @@suntareeyingjajaval6739 ขออนุญาต​สอบถาม​ครับ​ โรคใบขาว​ กับอา​การขาด​ธาตุเหล็กนี้ยังไงครับ​ ผมดูแล้วอาการคล้ายๆกัน​ ขอบคุณ​ครับ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 2 роки тому

      @@สวนเกษตรทฤษฎีใหม่
      เรื่องโรคนี่ไม่มีความรู้จะตอบได้คะ แต่เมื่อใบไม่ปรกติ ย่อมนำเข้าธาตุอาหารพืชหลายชนิดได้ลดลง เพราะฉะนั้น หากวิเคราะห์ใบก็จะแสดงความเข้มข้นที่ระดับต่ำว่าขาดธาตุได้
      ส่วนการขาดเหล็ก ดินในเขตร้อนของไทยที่มีการสลายธาตุเหล็กและแมกกานีสออกมามาก มักไม่พบอาการขาด 2 ธาตุนี้ในพืชทั่วไป เท่าที่พบอาการขาดเหล็กจะเป็นในดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดเป็นหินปูน มีระดับพีเอชสูง เช่นแถบกาญจนบุรี (ด่านมะขามเตี้ย) และแถบตาคลี ใบอ่อนมีอาการเหลืองซีด เกิดเป็นบริเวณกว้าง
      ถ้าสงสัยว่าใบอ้อยขาดเหล็กไหม ลองฉีดจุลธาตุเหล็ก (เหล็กอีดีทีเอ) ที่ใบอ่อน ที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ใบจะเขียวขึ้น แต่ถ้าเป็นใบแก่ แล้วขาดเหล็ก ถึงฉีดให้เหล็ก ต้นก็ไม่มีการแก้ไขใบแก่ให้เขียวขึ้นได้แล้ว

    • @สวนเกษตรทฤษฎีใหม่
      @สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ 2 роки тому

      @@suntareeyingjajaval6739 กราบ​ขอบพระคุณ​อาจารย์​มากครับผม

  • @chinnjungpeepee2829
    @chinnjungpeepee2829 2 роки тому

    แคลเซียม กับ แมกนีเซียม ฉีดทางใบในอ้อยจะได้ผลดีไหมครับอาจารย์

  • @พันธ์ศักดิ์บุตรศรี-ฑ3จ

    เรียนถาม อาจารย์ ครับสำหรับอ้อยตอ ผมต้องการใส่สังกะสีกับทองแดง โดยใช้คอปเปอร์ซัลเฟตที่มี copper อยู่ 25% และซิงค์ซัลเฟตที่มีสังกะสีอยู่ 35% ถ้าใส่ตามคำแนะนำของอาจารย์เท่ากับผมต้องใส่คอปเปอร์ซัลเฟต 0.12 กิโลกรัมต่อไร่ และซิงค์ซัลเฟต0.28 กิโลกรัมต่อไร่ ผมสามารถนำเอาคอปเปอร์ซัลเฟตและซิงค์ซัลเฟตมาละลายน้ำแล้วราดบริเวณตออ้อยได้เปล่าครับ เพื่อความสะดวกและควบคุมอัตราการใส่ ที่ง่ายกว่าการหว่านหรือฉีดพ่นทางใบ

  • @nattaponknt625
    @nattaponknt625 3 роки тому

    นาทีที่21ธาตุอาหาร10ตัวที่มีค่าวิเคราะห์ อาจารย์แนะนำให้ใส่8ตัว ทำไมถึงไม่แนะนำให้ใส่เหล็กกับแมงกานีสครับ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 роки тому +3

      ดินเขตร้อนทั่วไปมีธาตุเหล็กและแมงกานีสอยู่มากพอ โดยเฉพาะดินที่มีพีเอชเป็นกรดจะมี 2 ธาตุนี้ในปริมาณสูง ทำให้ไม่ค่อยพบปัญหาขาด ดินที่มีพีเอชเป็นด่างจึงแสดงอาการขาดได้ เช่นชุดดินตาคลี ในพื้นที่เกษตรส่วนใหญ่ไม่มีปัญหานี้ จึงไม่ได้แนะนำให้ใส่ ปัญหาขาดเหล็กแก้ไขค่อนข้างยากด้วยคะ ต้องอธิบายกันมาก

    • @nattaponknt625
      @nattaponknt625 3 роки тому

      @@suntareeyingjajaval6739 ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ ที่ตอบคำถามผมด้วยตัวเองเลย วนดูอาจารย์หลายรอบมากครับ

  • @surapholthongkaew8149
    @surapholthongkaew8149 3 роки тому +1

    สวัสดีครับอาจารย์
    การให้ปุ๋ย 50 กก.ต่อไร่
    - คิดเฉพาะพื้นที่ปลูกในร่อง
    หรือ
    - คิดจากพื้นที่ทั้งหมดครับ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 роки тому

      คิดเป็นต่อพื้นที่ทั้งหมดคะ

    • @surapholthongkaew8149
      @surapholthongkaew8149 3 роки тому

      @@suntareeyingjajaval6739
      ผมเป็นอ้อยคั้นน้ำครับ
      ระหว่างร่องทีปลูกอ้อย
      จะมีร่องน้ำครับ
      คิดเฉพาะร่องที่ปลูกอ้อย
      ไม่คิดร่องน้ำใช่ไหมครับอาจารย์

  • @ภุชงค์ครินทร์นาคเพชร

    มีเฟสมั้ยครับ

  • @bonjong
    @bonjong 3 роки тому

    ทำได้
    เกษตรกรไทยรวยแน่นอน

  • @zzzzzzknab
    @zzzzzzknab 3 роки тому

    เรียนสอบถามอาจารย์ครับ
    การใส่ปุ๋ยในช่วง 150 วันหลังปลูก
    กรณีเราใช้รถไถเล็กมุดเข้าไปพรวนดินฝังปุ๋ยในร่องอ้อย
    ไม่ทราบจะมีผลกระทบกับระบบรากมากน้อยแค่ไหนครับ
    รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยครับ
    ขอบคุณครับ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 роки тому +5

      ช่วง 5 เดือน รากอ้อยที่ศึกษามีมวล 1/4 อยู่ในชั้นลึก 0-10 ซม. และ 1/2 อยู่ในชั้น 10-20 ซม การไถดินที่ลึกกระทบระบบรากแน่นอน ถ้าต้องการกลบปุ๋ยไม่ต้องให้ลึกก็ได้ผลดีแล้ว แต่ถ้าไถเพื่อทำหญ้า ย่อมกระทบทุกอย่างในชั้นที่ไถคะ มักยอมรับว่าการทำหญ้าเป็นแนวทางปฏิบัติที่ให้ผลลัพธ์ดีเทียบกับผลที่กระทบราก ทางเราไม่มีการศึกษาเรื่องนี้คะ

    • @zzzzzzknab
      @zzzzzzknab 3 роки тому

      ขอบพระคุณอาจารย์มากๆครับ

  • @chaloratrungrueang3477
    @chaloratrungrueang3477 3 роки тому +1

    ชุดความความคิดที่ว่า ถ้าเราใส่ ตัว k มากตั้งแต่อ้อยยังเล็ก หรือตั้งแต่รองพื้นจะทำให้อ้อยแคะแกลน มันจริงไหมคับ ผมเพิ่งลองใส่ตามที่อาจารย์บอก ชาวบ้านมาเห็นก็มักพูดกันทำนองนี้หมดเลย

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 роки тому +6

      ต้นพืชจะแคระแกร็นแสดงว่าเซลล์มีการขยายขนาดได้น้อย ซึ่งสะท้อนว่า ผนังเซลล์ไม่เพิ่มตามการขยายขนาดของเซลล์ การสร้างผนังเซลล์ต้องใช้แคลเซียมและโบรอน ส่วนการขยายขนาดของเซลล์ต้องมีการเพิ่มของแรงดันน้ำภายในเซลล์ ซึ่งต้องมีปริมาณสารในการดำรงชีพที่เซลล์สังเคราะห์ได้มากพอควบคู่กับมีการรักษาดุลได้น้ำจนเกิดแรงเต่งได้ กระบวนการขยายขนาดเซลล์เช่นนี้ต้องอาศัยโพแทสเซียมในการขนส่งสารต่างๆ เพราะฉะนั้น การมีโพแทสเซียมเพียงพอจึงจะทำให้เซลล์เติบโตได้ ส่วนการให้มากเกินไป จะต้องได้สัดส่วนกับการให้ธาตุอาหารตัวอื่นโดยเฉพาะแคลเซียมกับแมกนีเซียม จึงจะทำให้มีการใช้ปุ๋ยได้เต็มที่ มิฉะนั้นจะเสียปุ๋ยโพแทสเซียมเสียเปล่า โดยสรุป โพแทสเซียมไม่มีบทบาททำให้ต้นพืชแคระแกร็น แต่มีบทบาทมากกับการขนส่งน้ำตาลไปทั่วต้น และต่อการสะสมปริมาณน้ำตาลในลำอ้อย

    • @chaloratrungrueang3477
      @chaloratrungrueang3477 3 роки тому

      @@suntareeyingjajaval6739 ขอบคุณครับ

    • @Channel-wx6bh
      @Channel-wx6bh 2 роки тому

      @@suntareeyingjajaval6739 อ้อยผมได้5 เดือนแล้วใส่อะไรดีครับ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 2 роки тому +2

      ตามที่อธิบายไว้ สูตร 15-5-35 อัตรา 50 กก/ไร่ คะ

    • @Channel-wx6bh
      @Channel-wx6bh 2 роки тому +1

      @@suntareeyingjajaval6739 ผมซื้อ15-15-15มาแล้วใส่ได้ไหมครับ

  • @warissarachida8403
    @warissarachida8403 2 роки тому

    นาทีที่ 12 น่าสนใจ

  • @boonpengkikulnitd2758
    @boonpengkikulnitd2758 11 місяців тому

    😊

  • @รัฐิสาจันทา

    ถ้าอ้อยตอล่ะครับอาจารย์ครั้งแรกและครั้งต่อๆไปใส่ตามกำหนดเดิมใช่ไหมครับ
    ตามที่แผนผังบอก

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 роки тому +1

      ปุ๋ยสำหรับอ้อยตอเหมือนปุ๋ยอ้อยปลูกใหม่คะ อยากแนะนำว่าให้ไถขุดตอทิ้งไปสักครึ่งหนึ่ง มิฉะนั้นจำนวนลำจะมากจนได้แดดไม่พอ ทำให้อ้อยตอมีผลผลิตลดลง

    • @รัฐิสาจันทา
      @รัฐิสาจันทา 3 роки тому

      @@suntareeyingjajaval6739หลังจากตัดเสร็จกี่วันเริ่มฝังปุ๋ยรอบแรกครับ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 роки тому +1

      @@รัฐิสาจันทา ให้ได้เลย ไม่ต้องรอคะ จริงๆไม่ต้องฝังปุ๋ยก็ได้ การใส่ปุ๋ยบนเศษใบอ้อย จุลินทรีย์จะใช้ในการย่อยสลายใบ เป็นการเปลี่ยนปุ๋ยเคมีให้อยู่ในรูปสารอินทรีย์ ทำให้ปุ๋ยคงอยู่ในดินได้นานขึ้น ใส่ 15-5-35 จำนวน 1 กระสอบ และใส่โดโลไมท์ 50 กก/ไร่ ถ้าจะให้ดี ใส่คนละเวลาหรือใส่ระยะห่างกันหน่อย กันการสูญเสียไนโตรเจน แม้จะน้อยนิด

    • @ศรัญญาประทินแสงทอง-ฅ2ษ
      @ศรัญญาประทินแสงทอง-ฅ2ษ Рік тому

      ถ้าเราใส่ปุ๋ยบนใบอ้อยเพื่อให้จุลินทรีย์กินก่อน เราต้องใส่ล่วงหน้าไหมคะ เช่นถ้าเราต้องการใส่ปุ๋ยที่ระยะ3เดือน เราต้องใส่ก่อนประมาณกี่วัน อ้อยถึงจะได้ธาตุอาหารคะ

    • @ศรัญญาประทินแสงทอง-ฅ2ษ
      @ศรัญญาประทินแสงทอง-ฅ2ษ Рік тому

      ​@@suntareeyingjajaval6739ถ้าเราใส่ปุ๋ยบนใบอ้อยเพื่อให้จุลินทรีย์กินก่อนเราต้องใส่ล่วงหน้าไหมคะ เช่นถ้าเราต้องการใส่ปุ๋ยเมื่อระยะ3เดือนเราต้องใส่ล่วงหน้ากี่วัน อ้อยถึงจะได้ธาตุอาหารจากจุลินทีย์คะ

  • @bunvern
    @bunvern 4 роки тому

    คือช่องนี้ อาจารย์มาตอบคำถามเองเลย

  • @juntangame1
    @juntangame1 Рік тому

    สวัสดีครับอาจารย์ ตอนนี้ผมหาปุ๋ย สูตร15-5-35 ไม่ได้เลยครับ มีแต่สูตร14-7-35 ไม่ทราบว่าพอจะใช้แทนกันได้ไหมครับ ผมอยู่ อำเภอกุมภวาปี จ.อุดรธานี

    • @VIPCrossbow
      @VIPCrossbow Рік тому +1

      ขออนุญาตตอบแทนนะครับ
      ใช้ได้ครับ

    • @juntangame1
      @juntangame1 Рік тому

      @@VIPCrossbow ขอบคุณครับ

  • @wanchaiphumee7504
    @wanchaiphumee7504 3 роки тому

    ขอบพระคุณมากครับผม

  • @นงคราญแสงทอง-ต2ผ

    อ้อยตอนนี้กำลังเท่าหัว
    ท้วมหัวควรใส่ปุ๋ยสูตร
    อะไรค่ะ

  • @aochan19bunmi33
    @aochan19bunmi33 3 роки тому

    สอบแรกหนูใส่ 15-15-15 กับขี้แพะค่ะ สอบ2ใส่ 46-0-0 ค่ะ ปล้องสั้นมากค่ะ แตกกอพอประมานค่ะ หนูใส่ผิดสูตร หรือป่าวค่ะ พึ่งปลูกครั้งแรกค่ะ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 роки тому

      ขาดตัวหลังอย่างมาก ต้องใส่ 0-0-60 เพิ่มคะ ถ้าจะให้ตรงสูตร 15-5-35 ต้องใส่ 0-0-60 อีก 2 กระสอบ แนะนำว่าใส่เพิ่มสักกระสอบก่อน

  • @suntareeyingjajaval6739
    @suntareeyingjajaval6739 Рік тому

    ตอบคำถามของคุณศรัญญา ประทินแสงทอง ที่ว่า
    ถ้าเราใส่ปุ๋ยบนใบอ้อยเพื่อให้จุลินทรีย์กินก่อนเราต้องใส่ล่วงหน้าไหมคะ เช่นถ้าเราต้องการใส่ปุ๋ยเมื่อระยะ3เดือนเราต้องใส่ล่วงหน้ากี่วัน อ้อยถึงจะได้ธาตุอาหารจากจุลินทีย์คะ
    คำตอบสั้นๆ คือใส่ล่วงหน้าตอนไหนก็ได้ เป็นเดือนก็ได้คะ กระบวนการปลดปล่อยธาตุอาหารเกิดได้ตลอดเวลา
    คำตอบแบบยาวเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนในดิน คือดังนี้คะ
    เมื่อใส่ธาตุอาหารลงดิน จะเป็นปุ๋ยเคมี หรือปุ๋นอินทรีย์ ในสภาพที่มีความชื้นและอากาศเพียงพอ จุลินทรีย์ดินจะใช้สารประกอบคาร์บอน(อินทรียวัตถุ) กับ ธาตุอาหารเป็นอาหารได้ทันที สร้างมวลของตัวเองแล้วเพิ่มประชากร ทำให้เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนธาตุอาหารในรูปเคมีล้วนๆกลายเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของร่างกาย
    ธาตุอาหารในรูปอินทรีย์นี้จะถูกปลดปล่อยออกเป็นของเสียหรือออกมาหลังจากตาย และโดยที่จุลินทรีย์มีหลากหลายมาก กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันเท่านั้น
    ประเด็นคือ ธาตุอาหารที่ถูกปลดปล่อยทั้งจากจุลินทรีย์และจากปุ๋ยเคมี จะถูกรากดูดไปใช้ได้เร็วเท่าไร ทั้งหมดนี้ขึ้นกับสภาพในดิน ซึ่งมีทั้งแบบที่ธาตุอาหารถูกลำเลียงไปหารากพืชและแบบที่รากงอกไปหา
    ถ้ารากรอให้ธาตุอาหารถูกลำเลียงมา ต้องเห็นภาพว่ากระบวนการนี้เป็นแบบแพร่โมเลกุล ที่โมเลกุลเดินทางแบบสุ่มไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงราก กระบวนการแพร่โมเลกุลจะเร็วต่อเมื่อเป็นระยะสั้นชนิดที่เรามองไม่เห็นง่ายด้วยตาเปล่า ถ้าระยะยาวขึ้นแม้เป็นระยะเพียงเซ็นติเมตร ก็จะใช้เวลาเป็นวันได้ ถ้าจะเร็วขึ้น คือธาตุอาหารถูกน้ำพาไหลไปด้วย โดยทั่วไปกล่าวได้ว่าอัตราเร็วของกระบวนการแพร่โมเลกุลในระบบดินเกิดได้ช้ามาก และการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารแทบไม่เกิดถ้าดินแห้ง
    ส่วนอีกวิธีคือรากงอกไปหาธาตุอาหาร ซึ่งรากต้องมีสารอาหารและความชื้นและอากาศให้งอกรากใหม่ได้
    อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีความสนใจและเข้าใจระบบอยู่ร่วมกันระหว่างรากกับจุลินทรีย์มากขึ้นมาก ดังนั้น การใส่ปุ๋ยเคมีควบคู่กับอินทรียวัตถุเป็นการให้รากได้ใช้กลไกที่มีมาแต่ดั้งเดิมในการแลกเปลี่ยนสารอาหารระหว่างกัน และเปลี่ยนกระบวนการใช้ธาตุอาหารจะที่เคยคิดว่าเป็นปฏิกิริยาเคมีในดิน มาเป็นทางชีวภาพ(ชีวเคมี) ซึ่งการย่อยสลายและดึงใช้ธาตุอาหารผ่านเอนไซม์มีประสิทธิภาพสูงกว่าการอให้ละลายออกมาตามค่าพีเอชดิน
    ราเป็นจุลินทรีย์ที่ยอมรับว่ามีบทบาทมากที่สุด เพราะมีการปรับตัวสร้างเอนไซม์ที่สามารถย่อยสารซับซ้อนต่างๆได้ อีกทั้งมีเส้นใยเป็นทางให้เกิดการเคลื่อนย้ายสารต่างๆเป็นระยะยาวในอัตราที่เร็วกว่าการแพร่โมเลกุล ดังนั้น เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงดินที่มีกระบวนการชีวภาพเกิดอยู่แล้ว เท่ากับเป็นการกระตุ้นให้จุลินทรีย์เพิ่มประชาการและเพิ่มอัตราปลดปล่อยธาตุอาหาร ส่วนรากจะได้ธาตุอาหารและสารประกอบจากจุลินทรีย์เร็วช้า จึงขึ้นกับว่าสภาพดินเอื้อต่อการเติบโตของชุมชนจุลินทรีย์เพียงไร และมีการติดต่ออยู่ร่วมกันระหว่างจุลินทรีย์กับรากมากน้อยเพียงไร
    ในปัจจุบัน ถึงกับพูดกันว่า ไม้ยืนต้นทุกชนิดไม่ใช่มีราก (root) แต่มีราก-รา (fungi-root)
    เพราะฉะนั้น ที่เราควรใส่ใจ คือรักษาให้ดินมีชีวิตให้มากที่สุด ทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีผ่านระบบชีวภาพรอบราก มากกว่าจะเป็นการผ่านปฏิกิริยาเคมีของดิน

    • @ศรัญญาประทินแสงทอง-ฅ2ษ
      @ศรัญญาประทินแสงทอง-ฅ2ษ Рік тому

      ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ สิ้นปีนี้จะปลูกอ้อยตามแนวทางของอาจารย์แล้วนะคะ เพิ่งหัดทำเป็นครั้งแรกเลยค่ะ

  • @ขวัญยืนใจเย็น

    ผม

  • @นายสถิตย์ศักดิ์พิพิธ

    เยิ่นเย้อไปทำยังไงจะให้พวกนักวิชาการทั้งหลายพูดให้สั้นกระชับเข้าใจง่ายจะได้นำเอาไปปฏิบัติให้ถูกต้องที่ฟ้งๆ มาส่วนใหญ่จะพูดโชว์กึ๋นวนไปมาชนิดน้ำท่วมทุ่งไม่ได้เรื่องเสียเวลาฟังแถมไม่ค่อยรู้เรื่องอีกด้วยทำอย่างไรจะได้รู้สิ่งเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องทนฟังเรื่องที่ไม่อยากรู้ตั่งนานสองนานอยากรู้เรื่องการใส่ปุ๋ยอ้อยเพื่อเอาไปใช้ในการปลูกอ้อยไม่ได้เอาไปทำข้อสอบอะไรที่ไหนอยากรู้ดังนี้. อ้อยมีอายุตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวนานกี่เดือนกี่ปีต้องใส่ปุ่ยประมาณกี่ครั้งถึงจะโตเต็มที่และเก็บเกี่ยวไปขายได้ช่วยอธิบายดังนี้
    1.อ้อยปลูกใหม่ต้องใส่ปุ๋ยสูตรไหน ( N.P.K ) เท่าไรยังไง ระยะเวลาที่ใส่ต้องใส่ตอนไหนหลังปลูกกี่เดือนกี่วัน
    2.ครั้งที่ 2 ต้องใส่หลังจากใส่ครั้งแรกกี่เดือนกี่วันแล้วใช้สูตรอะไร N.P.K. เท่าไร
    3 ครั้งที่ 3 ต้องใส่ไหมถ้าใส่ต้องใช้สูตรอะไร. ใส่หลังจากครั้งที่ 2 นานเท่าไรกี่เดือน
    ต้องการรู้แค่นี้คับ

    • @ดลโค้วลิ้มเส็ง
      @ดลโค้วลิ้มเส็ง 4 місяці тому

      คือถ้าขี้เกียจฟังขนาดที่ฟังจนจบแล้วสรุปประเด็นไม่ได้ ผมแนะนำให้ไปนอนตีลังกาอยู่ที่บ้านครับ เที่ยวสั่งสอนคนอื่นเข้าไปทั่วให้ทำยังงั้นทำยังงี้ คุณเป็นใครครับ ทำไมเขาต้องทำตามคุณต้องการ ผมชอบฟังแบบนี้ คุณไม่ชอบฟังคุณก็ไม่ต้องมาฟัง ในคลิปก็ตอบหมดอยู่แล้ว หัดตั้งใจฟังซะบ้าง มิน่าเล่าคนอย่างคุณมันถึงได้ดีแค่นี้ ดีกว่านี้ไม่ได้ แทนที่จะปรับสมองตัวเอง ดันไปสั่งสอนคนอื่นให้เค้าทำแบบนู้นทำแบบนี้ คุณสำคัญมากนักหรือ เค้าบรรยายให้คุณฟังฟรี ๆ แล้วยังจะเรื่องมากอีก นิสัยน่าประหลาดจริง ๆ

  • @อัครเดชภูนาเพชร

    เก่งแต่วิชาการลองมาทำดูบ้างจะได้รู้ว่าน้ำเยื่อกับน้ำลาย อันไหนมันจะเค็มกว่ากัน

  • @ปิยวัฒน์ชัยชววุฒิ

    ขอบพระคุณมากครับ อาจารย์

  • @ปภาวินลวขุมเหล็ก

    ขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้ความกระจ่างเรื่องการดูแลอ้อย ที่คาใจมาตลอดและมีข้อมูลไม่ถูกต้องมาตลอด

  • @ลิขิตตันเวียง

    ต้องลองปรับเปลี่ยนตามอาจารย์แล้วล่ะ