เอนั่งรถไฟเที่ยวผาเสด็จจุดเริ่มต้นที่เปลี่ยนจากดงพญาไฟอันเเสนอันตรายเป็นเขาใหญ่สวรรค์บนดิน

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 10 вер 2024
  • ข้อมูลตำนานผาเสด็จของโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟระบุต่างกับข้อมูเอเล็กน้อยว่า ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณของพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) พระองค์จึงโปรดให้นำตราแผ่นดินไปประทับตรงโคนต้นไม้ใหญ่บริเวณนั้นเป็นการเอาเคล็ด เล่ากันว่า พอต้นไม้ใหญ่แห่งนั้นถูกตราแผ่นดินพระราชทานตีประทับลงที่โคนแล้ว ก็ให้มีอันกิ่งใบแห้งเหี่ยวยืนต้นตายไป และมีพระราชกระแสรับสั่งให้นายช่างระเบิดหินต่อไป แต่ก็มีการเล่ากันว่าชาวบ้านบางคนกลัวไม่กล้าระเบิดต่อ เนื่องจากมีนายช่างและคนงานบางคนเป็นไข้ป่าเจ็บหนักจนถึงเสียชีวิต พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) จึงโปรดเกล้าให้สร้างศาลเพียงตาขึ้นที่ใกล้เงื้อมผา การระเบิดทำทางรถไฟ จึงดำเนินต่อไปโดยไร้อุปสรรคต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2439 (ร.ศ.๑๑๕) พระองค์จึงเสด็จประพาสต้นมาพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ตามลำน้ำป่าสักและเสด็จขึ้นบก เสด็จฯ ต่อโดยรถไฟจากที่ประทับแรมเข้าในดงถึงที่สุดทางรถไฟในเวลานั้น (ตำบลหินลับ) เวลาบ่าย 3 โมงเศษ เสด็จลงจากรถไฟเสด็จพระราชดำเนินต่อไปตามทางที่ยังไม่ได้วางเหล็กรางข้ามห้วยสองแห่ง เสด็จต่อมาถึงศิลาใหญ่ ณ ผาแห่งนี้ เวลาบ่าย 5 โมง ทรงได้โปรดให้มีการจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” หมายถึง พระปรมาภิไธยของพระองค์ , “ส.ผ.” หมายถึงพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ และเลข “๑๑๕” หมายถึงปีที่เสด็จมา และพระราชทานนามศิลาตำบลนี้ว่า “ผาเสด็จพัก” ติดไว้บนชะง่อนหินแห่งนั้น พอเวลาจวนค่ำ ก็เสด็จกลับมาประทับยังที่พักรถไฟ เสด็จขึ้นรถไฟกลับมาถึงพลับพลาที่ประทับเวลาทุ่มเศษ” เมื่อประชาชนทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จมาถึงผาแห่งนี้ก็พากันชื่นชม และผู้คนต่างพากันเรียกเงื้อมผาแห่งนี้ในเวลาต่อมาว่า “ผาเสด็จ”ถ้าเอให้ข้อมูลผิดพลาดบ้างขออภัยด้วยครับ เอนั่งรถไฟไปผาเสด็จมาเมื่อวันพฤหัสบดีที่15/ส.ค./พ.ศ.2567

КОМЕНТАРІ •