ระบบชลประทานชาวนาญี่ปุ่น

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 15 жов 2024
  • ระบบชลประทานนาข้าวญี่ปุ่น
    (น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีกับเกษตรกร)
    รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนระบบชลประทานให้กับเกษตรกรอย่างเต็มที่ โดนจะมีรางส่งน้ำเล็กๆ ไปตามคันนาต่างๆ ใช้หลักการของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ โดยรางน้ำดีจะอยู่สูงกว่าพื้นนา เพื่อให้ชาวนาสามารถเปิดให้ไหลลงสู่นาของตนเองได้ตลอดเวลา โดยชาวนาไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ ก็สามารถมีน้ำเลี้ยงนาข้าวของตัวเองได้ ส่วนท่อระบายน้ำทิ้งของนาข้าวก็จะอยู่ต่ำกว่าพื้นนา ถ้าชาวนาต้องการผันน้ำออกจากนา ชาวนาก็สามารถเปิดท่อน้ำทิ้งของตัวเอง น้ำก็จะถูกปล่อยออกมาจากนา โดยใช้หลักการน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเช่นกัน เพื่อลดต้นทุนให้ชาวนา รวมถึงการจัดทำถนนรอบๆนาให้ดีๆ ให้รถยนต์วิ่งได้อย่างสะดวกสบาย เพื่อที่ชาวนาจะได้ลำเลียงวัตถุดิบ-ปุ๋ยหรือผลผลิตต่างๆ เข้าออกนาข้าวได้อย่างสะดวกสบาย
    จากการที่ผมเคยช่วยชาวนาญี่ปุ่นทำนามา 2 ปี ผมจึงถามชาวนาเกี่ยวกับระบบชลประทาน ว่าเป็นอย่างไร ชาวนาญี่ปุ่นบอกว่า
    “ระบบชลประทาน ไม่จำเป็นต้องดูดี หรือยิ่งใหญ่ ขอแค่มีน้ำไหลตลอดตามที่ชาวนาต้องการก็พอ”
    เทคนิคสำคัญคือ ในกลางเดือนสิงหาคม มีอากาศร้อนจัด เกษตรกรญี่ปุ่นจะระบายน้ำออกจากแปลงนา 4 ครั้ง แต่ละครั้งทิ้งระยะให้ดินแตกระแหง แล้วจึงเปิดน้ำเข้าแปลงนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ก๊าซไข่เน่าและหญ้าที่ไถกลบลงดินก่อนการปักดำ ให้ระเหยไปในอากาศ เพราะว่าก๊าซชนิดนี้เป็นพิษกับระบบรากของต้นข้าว ครั้งสุดท้ายคือ ครั้งที่ 4 เป็นระยะข้าวใกล้ออกรวง เมื่อดินแตกระแหง เกษตรกรจะหว่านปุ๋ยแต่งหน้า ให้เม็ดปุ๋ยตกลงตามรอยแยกของดิน เข้าใกล้ระบบรากมากที่สุด แล้วจึงเปิดน้ำเข้ามา น้ำจะละลายดินปิดรอยแยกของผิวดิน เก็บรักษาปุ๋ยไว้ให้ละลายออกมาอย่างช้า ให้ต้นข้าวนำไปใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
    การปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้น 7-10 เปอร์เซ็นต เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีใส่ปุ๋ยด้วยวิธีหว่านลงดิน-พื้นนาโดยตรง ระยะนี้ต้นข้าวในแปลงจะเริ่มแทงช่อให้เห็นพอดี ด้วยชาวนาญี่ปุ่นได้นำเอาวิธีการมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ ทำให้สามารถยกระดับผลผลิตเฉลี่ยทั่วประเทศสูงถึง 79 ถัง ต่อไร่ นี่เป็นน้ำหนักของข้าวกล้อง แต่หากคิดรวมทั้งเปลือกข้าวด้วย ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 120 ถัง ต่อไร่

КОМЕНТАРІ • 1