AP Law 92 วิเคราะห์ข่าวจำคุกครูไพบูลย์ 8 ปี

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 4 жов 2024
  • Ap Law 92 วิเคราะห์ข่าวจำคุกครูไพบูลย์ 8 ปี
    เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู ให้จำคุกครูไพบูลย์ หรือนายไพบูลย์ แสงเดือน เป็นเวลา 8 ปีในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่อดีตภริยาซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้ จึงมีประเด็นต้องวิเคราะห์ดังนี้
    1.การกระทำของครูไพบูลย์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการยินยอมจากอดีตภริยา เหตุใดจึงยังเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์
    จากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีนี้ อดีตภริยาของครูไพบูลย์และครูไพบูลย์นั้น ได้ชอบพอกันตั้งแต่อดีตภริยายังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ส่วนครูไพบูลย์เป็นครูฝึกสอนที่โรงเรียนเดียวกัน แต่เนื่องจากมารดาของอดีตภริยาไม่เห็นด้วยกับความสัมพันธ์ดังกล่าว และมีการร้องเรียนและทำบันทึกต่อผู้ใหญ่บ้านระบุว่า ครูไพบูลย์ ล่วงละเมิดทางเพศเอ๋ ในขณะที่เอ๋เป็นผู้เยาว์อยู่ และแม่ไม่ยินยอม โดยมีการตกลงว่า ครูไพบูลย์ จะนำเงินมาชำระให้ 100,000 บาท ถ้าผิดนัดต้องจ่าย 200,000 บาท และยอมให้มารดาของอดีตภริยาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ครูไพบูลย์ ผิดสัญญา ไม่นำเงิน 100,000 บาทมาจ่าย ทั้งยังไม่ได้สู่ขออดีตภริยา และไม่ได้แต่งงานตามประเพณีอีกด้วย แม้ว่ามารดาของอดีตภริยา จะรู้สึกติดใจ ต้องการดำเนินคดี แต่ด้วยความที่ไม่อยากขัดลูกสาว จึงยอมปล่อยเลยตามเลย ทำให้อดีตภริยาคบหากับ ครูไพบูลย์ มาตั้งแต่อายุ 16 ปี กระทั่งจดทะเบียนสมรส และมีลูกด้วยกัน 1 คน กรณีจึงเป็นการพรากผู้เยาว์อายุมากกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ไปจากบิดามารดาเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 แล้ว ครูไพบูลย์จึงมีความผิดตามมาตรานี้
    2.การสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวในคดีนี้ เหตุใดจึงต้องให้ศาลฎีกาเป็นผู้สั่งคำร้อง
    ในกรณีนี้ เนื่องจากคดีของครูไพบูลย์ที่ได้อ่านคำพิพากษาไปนั้น เป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่ได้อ่านโดยศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่เป็นศาลชั้นต้นซึ่งได้ชำระคดีนี้ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 (4) ที่จำเลยสามารถยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น ถึงแม้ว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วก็สามารถยื่นต่อศาลชั้นต้นได้ตามผลของมาตรานี้ โดยในกรณีที่ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวแก่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดี ให้ศาลชั้นต้นนั้นรีบส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งคำร้อง ตามมาตรา 106 วรรคท้าย
    เนื้อหาโดย
    กิตตินันท์ จารุกิจไพศาล
    ทนายความ
    นบ.ธรรมศาสตร์

КОМЕНТАРІ •