แขกลพบุรี สามชั้น

Поділитися
Вставка
  • Опубліковано 15 гру 2024
  • เพลงแขกลพบุรีของเก่าเป็นเพลงประเภทหน้าทับสองไม้ มีท่อนเดียว ครูมนตรี ตราโมทและครูวิเชียร กุลตัณฑ์ ได้กล่าวถึงประวัติของเพลงนี้ไว้ในหนังสื่อชื่อ "ฟังและเข้าใจเพลงไทย" ว่า
    " เพลงแขกลพบุรีนี้ แต่โบราณมาทำนองดนตรีมีแต่เพียงอัตรา ๒ ชั้น และท่อนเดียว เป็นเพลงที่รวมอยู่ในชุดเพลงสองไม้ ซึ่งบรรเลงติดต่อในเพลงเรื่องแขกมอญและบางโอกาสก็แยกออมมาใช้เป็นเพลงร้องประกอบการแสดงโขนละคอนในอารมณ์โศกหรือเปลี่ยวเปล่าวังเวงใจ ภายหลังได้มีผู้เพิ่มเติมทำนองดนตรีขึ้นอีกท่อนหนึ่งเป็นท่อน ๒ หรือเที่ยวหลัง แต่ในทำนองร้องคงร้องเหมือนกันทั้ง ๒ ท่อน (หรือ ๒ เที่ยว)
    ต่อมาถึงสมัยที่นิยมร้องและบรรเลงเพลงอัตรา ๓ ชั้นกันมาขึ้น ก็ได้มีครูบาอาจารย์ทางดุริยางคศิลป และคีตศิลป นำเพลงแขกลพบุรีนี้มาแต่งขึ้นเป็น ๓ ชั้น ทั้งทางร้องและทางดนตรีหลายท่านด้วยกัน และแต่ละท่านก็ดำเนินทำนองเพลงต่างกันออกไปตามความคิดและสติปัญญา ซึ่งล้วนแต่ไพเราะน่าฟังไปคนละแบบ เนื่องจากเพลงนี้เป็นเพลงประเภทที่มีโยน ท่านผู้แต่งจึงมีทางที่จะพลิกแพลงออกไปได้มากมาย เช่น การร้องสักวาก็ได้แทรกการร้องดันสองไม้ ทำนองเพลงแขกภาษาแขกแทรกในบางตอน ส่วนทางดนตรีก็สอดแทรกลูกล้อลูกขัด และวิธีการอื่น ๆ เข้ามาซึ่งล้วนแต่ทำให้ไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น แต่ทำนองดนตรีที่ใช้บรรเลงกันแพร่หลายจนปัจจุบันนี้ คือ ทางที่ครูช้อย สุนทรวาทิน ได้แต่งขึ้น ในราวสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
    ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ทำนองในอัตรา ๒ ชั้น ซึ่งเป็นของเดิมนั้น เป็นเพลงที่แสดงถึงอารมณ์อันโศกสลดหรือความวิเวกวังเวงใจ แต่เมื่อได้มาแต่งขึ้นเป็น ๓ ชั้น โดยเฉพาะทำนองของดนตรีซึ่งสอดแทรกวิธีการต่าง ๆ ตลอดจนลูกล้อลูกขัด อันเป็นวิชาการอย่างหนึ่งของการแต่งเพลงประเภทสองไม้ที่มีโยน จึงทำให้สำเนียงที่แสดงอารมณ์โศกและเปลี่ยวเปล่าเลือนลางไปจนแลไม่เห็นเลย ยิ่งกว่านั้นในการแต่งเป็น ๓ ชั้นขึ้นนี้ ยังนำเพลงโสนน้อย ซึ่งเป็นเพลงชุดมโหรีโบราณมาติดต่อกับท่อน ๒ (เที่ยวหลัง) ซึ่งทำให้เพิ่มความไพเราะเพราะพริ้งขึ้นอีกเป็นอันมาก
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ นายมนตรี ตราโมท ได้นำเอาเพลงแขกลพบุรีอัตรา ๒ ชั้นของเดิมมาแต่งเพิ่มเติมให้ดำเนินทำนองและมีลูกล้อลูกขัดเป็นแนวเดียวกับอัตรา ๓ ชั้นของครูช้อย สุนทรวาทิน พร้อมทั้งตัดแต่งทำนองชั้นเดียวใหม่เพื่อบรรเลงติดต่อกันให้ครบเป็นเถา และดัดทำนองร้องตอนลงส่งให้ดนตรีรับ ให้มีทำนองเป็นแบบเดียวกันกับ ๓ ชั้น "
    ** วิดีโอชุดนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางให้นักดนตรีที่ผ่านการเรียนเพลงดังกล่าวมาแล้วได้ทบทวน ผู้จัดทำยังเชื่อว่าการเรียนดนตรีควรเรียนกับครูผู้ชำนาญการ **
    ผู้บรรเลงฆ้องวงใหญ่ : ปกป้อง ขำประเสริฐ
    ฉิ่งและกลอง : เรียบเรียงในโปรแกรม FL Studio 20
    Camera : Panasonic Lumix Gh4 with LUMIX G X VARIO 12-35mm / F2.8 II ASPH. / POWER O.I.S

КОМЕНТАРІ • 6