RSP Online Thailand
RSP Online Thailand
  • 76
  • 231 000
ลดความสว่างของหลอดไฟ...ทำอย่างไร มีหลายวิธีทางไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (EP.3)
คลิปนี้นำเสนอเป็นตอนที่ 3 สำหรับการสาธิตวิธีการทางไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อปรับความสว่างของหลอดไฟ (หรี่ไฟ) มีตัวอย่าง 2 วิธี
1) ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32C3 กับโมดูล AC Dimmer (Triac) และเขียนโปรแกรม Arduino C/C++
2) ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32C3 กับโมดูล AC Dimmer (Triac) แต่ใช้ร่วมกับ Tasmota Firmware (Open Source) และตั้งค่าการใช้งาน
Переглядів: 358

Відео

ลดความสว่างของหลอดไฟ...ทำอย่างไร มีหลายวิธีทางไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (EP.2)
Переглядів 1286 місяців тому
คลิปนี้นำเสนอเป็นตอนที่ 2 สำหรับการสาธิตวิธีการทางไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อปรับความสว่างของหลอดไฟ (หรี่ไฟ) มีตัวอย่าง 2 วิธี 1) ใช้วงจรลอจิก-ไอซี Timer 555 แะลอจิกเกต Schmitt-Trigger Inverters 2) ใช้ชิป FPGA โดยได้เลือกใช้บอร์ด Sipeed Tang Nano 9K (Gowin Semiconductor FPGA) และออกแบบวงจรดิจิทัลด้วยภาษา VHDL เพื่อสร้างเป็นวงจรควบคุมและใช้งานร่วมกับโมดูล AC Dimmer สำหรับการปรับความสว่างของหลอดไฟ...
ลดความสว่างของหลอดไฟ...ทำอย่างไร มีหลายวิธีทางไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (EP.1)
Переглядів 3177 місяців тому
คลิปนี้นำเสนอตัวอย่างวิธีการทางไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาใช้ในการปรับความสว่างของหลอดไฟแบบไส้ลวดทังสเตน โดยนำเสนอเป็นตอนที่ 1 (EP.1)
ลองสร้างชุดทดลองเรียนรู้: โคมไฟ LED โซล่าร์เซลล์ (DIY Solar LED Lamp)
Переглядів 6 тис.7 місяців тому
คลิปนี้แชร์ประสบการณ์การทดลองสร้างชุดทดลองเรียนรู้: โคมไฟ LED โซล่าร์เซลล์ (DIY Solar LED Lamp) โดยใช้แผงวงจรและชิ้นส่วนที่หาซื้อได้มาประกอบ สามารถใช้ได้กับแผงวงจรควบคุมได้หลายรูปแบบ
ลองทำปลั๊กพ่วงแบบ DIY ที่มีพาวเวอร์มิเตอร์สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า AC
Переглядів 4007 місяців тому
คลิปนี้แชร์ประสบการณ์การทำกล่องปลั๊กไฟ AC ที่มีพาวเวอร์มิเตอร์เฟสเดียวแบบดิจิทัล (Digital Power / Energy Meter) รุ่น KWS AC301 ซึ่งสามารถแสดงค่าปริมาณทางไฟฟ้าได้ เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้าของโหลดไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ เป็นต้น
อุปกรณ์หรี่ไฟ (AC Dimmers) ต่อใช้งานอย่างไร?
Переглядів 6687 місяців тому
คลิปนี้แชร์ประสบการณ์การทดลองใช้งานอุปกรณ์หรี่ไฟ (AC Dimmers) ได้เลือกมาเป็นตัวอย่างา 3 รูปแบบ และนำมาใช้กับหลอดไฟประเภท Dimmable LED Bulbs ที่สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์หรี่ไฟได้
การใช้งานอุปกรณ์ SONOFF BASIC R4 ร่วมกับซอฟต์แวร์ Tasmota สำหรับการเรียนรู้ IoT & Smart Home
Переглядів 3527 місяців тому
คลิปนี้แชร์ประสบการณ์การใช้งานอุปกรณ์ SONOFF Wi-Fi Smart Switch รุ่น BASIC R4 โดยนำมาติดตั้งใช้งานร่วมกับ Tasmato v14.0.0 ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภท Open Source สำหรับ Smart Home Applications แหล่งข้อมูลสำหรับศึกษาเพิ่มเติม 1) เอกสารออน์ไลน์แนะนำการใช้งานซอฟต์แวร์ Tasmota - tasmota.github.io/docs/Getting-Started/ 2) Web App ของ Tasmota สำหรับการติดตั้งไฟล์เฟิร์มแวร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ Chrome - tas...
แผงวงจรควบคุมโคมไฟ LED พลังงานแสงอาทิตย์: แนะนำการใช้งานสำหรับงาน DIY หรืองานซ่อม
Переглядів 11 тис.7 місяців тому
คลิปนี้แชร์ประสบการณ์การทดลองใช้งานโมดูลควบคุมแผงไฟ LED พลังงานแสงอาทิตย์ โดยเลือกมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กับแบตเตอรี่ LiFePO4 3.2V มาพร้อมกับอุปกรณ์รีโมทอินฟราเรด แต่ไม่มีเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ในคลิปมีการอธิบายหลักการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และสาธิตการต่อวงจรทดลองใช้งาน แก้ไขข้อผิดพลาด: - ตามผังวงจรในนาที 19:05 ในคลิปมีข้อผิดพลาดในการวาดวงจร และที่ถูกต้องคือ ไฟจากแผงโซลาร์เ...
ทดลองใช้งานหลอดไฟ LED 9W ปรับความสว่างได้ 3 ระดับ (3-Level LED Dimming)
Переглядів 2,6 тис.7 місяців тому
คลิปนี้แชร์ประสบการณ์การทดลองใช้งานหลอดไฟ LED (แบรนด์ MEGAMAN) กำลังไฟฟ้า 9W และสามารถปรับระดับความสว่างได้ 3 ระดับ (3-level LED Dimming) และอธิบายหลักการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในหลอดไฟ คลิปนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้วงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้หลอดไฟ LED เป็นกรณีศึกษา
เปิดดูวงจรในหลอดไฟ LED 9W มีเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว (LED Bulb with Microwave Motion Sensor)
Переглядів 1,6 тис.8 місяців тому
คลิปนี้นำเสนอตัวย่างหลอดไฟ LED (แบรนด์ LAMPTAN) กำลังไฟฟ้า 9W ที่มีเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นประเภทที่เรียกว่า Microwave Doppler Radar Motion Sensor ในคลิปมีการอธิบายหลักการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของหลอดไฟ คลิปนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้วงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้หลอดไฟ LED เป็นกรณีศึกษา
เปิดดูวงจรในหลอดไฟ LED 10W มีเซ็นเซอร์แสง เปิดปิดเองได้อัตโนมัติ (LED Bulb with Light Sensor)
Переглядів 9828 місяців тому
คลิปนี้นำเสนอตัวอย่างหลอดไฟ LED Bulb (แบรนด์ LAMPTAN) มีกำลังไฟฟ้า 10W และมีวงจรเซ็นเซอร์แสงอยู่ภายใน (Light Sensor) ทำให้สามารถเปิด-ปิดการให้แสงสว่างได้โดยอัตโนมัติ ในคลิปมีคำอธิบายหลักการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในหลอดไฟ คลิปนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้วงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้หลอดไฟ LED เป็นกรณีศึกษา
ทดลองใช้แผงวงจรสำหรับหลอดไฟ LED ขนาด 9W
Переглядів 2,3 тис.8 місяців тому
คลิปนี้แชร์ประสบการณ์การทดลองใช้แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทรงกลม (ใช้เป็นอะไหล่) สำหรับหลอดไฟ LED Bulb ขนาดกำลังไฟฟ้า 9W เช่น - การแก้ไขปัญหาการบัดกรีจากโรงงานที่เกิดขึ้นกับ SMD LED บนแผงวงจร - การทดลองวัดสัญญาณไฟฟ้าด้วยออสซิลโลสโคป (Signal Measurement with a digital oscilloscope) - การเปลี่ยนค่าตัวต้านทานสำหรับกำหนดกระแสไฟฟ้าให้ LED - การทำ LED bypass บางดวง เพื่อดูว่า ให้ส่งผลต่อวงจรและการทำงานอย่...
เปิดดูวงจรในหลอดไฟ LED ปรับความสว่างได้อัตโนมัติ (LED Bulb with Light Sensor)
Переглядів 1,3 тис.8 місяців тому
คลิปนี้นำเสนอตัวอย่างหลอดไฟ LED (แบรนด์ EVE) ที่มีเซ็นเซอร์แสง เปรียบเทียบหลอดไฟ 2 กรณีตัวอย่างที่มีวงจรโฟโต้ไดโอด (LED Bulb with a photodiode-based light sensor) และสามารถปรับความสว่างตามแสงอาทิตย์ได้โดยอัตโนมัติ ให้แสงสว่างจาก LED ในช่วงค่ำถึงรุ่งเช้า (from dusk-to-dawn automatic light on/off) และอธิบายหลักการทำงานของวงจร คลิปนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้วงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้หลอดไฟ...
การต่อวงจรโฟโต้ไดโอด (Photodiode) เป็นเซ็นเซอร์แสง
Переглядів 8809 місяців тому
คลิปนี้นำเสนอแนวทางการทดลองใช้งานโฟโต้ไดโอด (Photodiode) ในเบื้องต้น เพื่อนำไปสร้างเป็นวงจรเซ็นเซอร์แสง ซึ่งพบเห็นได้ในหลอดไฟ LED ที่เปิดปิดเองได้อัตโนมัติตามแสงอาทิตย์
สร้างอุปกรณ์ DIY ตรวจสอบ LED แรงดันไบอัสสูงกว่า 3V
Переглядів 2,4 тис.9 місяців тому
คลิปนี้นำเสนอแนวทางการสร้างอุปกรณ์ตรวจสอบ LED แบบ DIY ซึ่งรองรับการใช้งานแรงดันไบอัสสูงกว่า 3V สามารถใช้แหล่งจ่ายเป็นแบตเตอรี่ 9V หรือ USB Powerbank (5V) ได้ และใช้วงจรแปลงแรงดันแบบ DC/DC ให้มีแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้นถึง 36V คลิปนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้วงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้หลอดไฟ LED เป็นกรณีศึกษา
วงจรในหลอดไฟ RGB+W LED ควบคุมด้วยรีโมทอินฟราเรด... ทำงานอย่างไร?
Переглядів 1,1 тис.9 місяців тому
วงจรในหลอดไฟ RGB W LED ควบคุมด้วยรีโมทอินฟราเรด... ทำงานอย่างไร?
เปิดดูวงจรของหลอดไฟ LED ปรับแสงสี RGB+W และความสว่างด้วยรีโมทอินฟราเรด
Переглядів 6619 місяців тому
เปิดดูวงจรของหลอดไฟ LED ปรับแสงสี RGB W และความสว่างด้วยรีโมทอินฟราเรด
เปรียบเทียบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในหลอดไฟ LED กำลังไฟฟ้า 5 และ 15 วัตต์
Переглядів 2,8 тис.9 місяців тому
เปรียบเทียบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในหลอดไฟ LED กำลังไฟฟ้า 5 และ 15 วัตต์
เปิดดูข้างในหลอดไฟ LED ขนาด 45 วัตต์ และอธิบายหลักการทำงานของวงจร
Переглядів 3,1 тис.9 місяців тому
เปิดดูข้างในหลอดไฟ LED ขนาด 45 วัตต์ และอธิบายหลักการทำงานของวงจร
เปิดดูข้างในหลอดไฟ LED (220V / 9W / E27) และอธิบายหลักการทำงานของวงจร
Переглядів 9 тис.10 місяців тому
เปิดดูข้างในหลอดไฟ LED (220V / 9W / E27) และอธิบายหลักการทำงานของวงจร
แผงวงจรสำหรับหลอดไฟ LED (220V) มีหลักการทำงานอย่างไร?
Переглядів 64 тис.10 місяців тому
แผงวงจรสำหรับหลอดไฟ LED (220V) มีหลักการทำงานอย่างไร?
การวัดสัญญาณไฟฟ้าในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครื่องมือและวิธี การที่แตกต่างกัน
Переглядів 4,1 тис.10 місяців тому
การวัดสัญญาณไฟฟ้าในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครื่องมือและวิธี การที่แตกต่างกัน
เปิดดูวงจรข้างในไฟตุ้ม LED ที่ใช้กับแผงโซลาร์เซลล์
Переглядів 3,3 тис.11 місяців тому
เปิดดูวงจรข้างในไฟตุ้ม LED ที่ใช้กับแผงโซลาร์เซลล์
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ของโคมไฟ LED ขนาด 30W สำหรับไฟโซลาร์เซลล์
Переглядів 2,1 тис.11 місяців тому
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ของโคมไฟ LED ขนาด 30W สำหรับไฟโซลาร์เซลล์
การวัดกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริงของแผง LED สำหรับโคมไฟ Solar LED Light
Переглядів 3 тис.11 місяців тому
การวัดกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริงของแผง LED สำหรับโคมไฟ Solar LED Light
การวัดกระแสและแรงดันไฟฟ้าของ SMD LED 5730 (ใช้ทำโคมไฟ Solar LED Panel)
Переглядів 2,6 тис.11 місяців тому
การวัดกระแสและแรงดันไฟฟ้าของ SMD LED 5730 (ใช้ทำโคมไฟ Solar LED Panel)
กล่อง DIY Solar LED Box กิจกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์จากโคมไฟ LED
Переглядів 2,2 тис.11 місяців тому
กล่อง DIY Solar LED Box กิจกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์จากโคมไฟ LED
อธิบายวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในแผง 220Vac LED Panel
Переглядів 1,7 тис.11 місяців тому
อธิบายวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในแผง 220Vac LED Panel
เรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์จากโคมไฟ LED
Переглядів 14 тис.11 місяців тому
เรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์จากโคมไฟ LED
การใช้งาน Arduino TimeOne Library สำหรับการเขียนโปรแกรมบอร์ด Arduino Uno / Nano
Переглядів 259Рік тому
การใช้งาน Arduino TimeOne Library สำหรับการเขียนโปรแกรมบอร์ด Arduino Uno / Nano

КОМЕНТАРІ

  • @sosy9255
    @sosy9255 День тому

    เวลา หลอด led ขาด1ดวง แล้วแก้ไขโดยเอาตะกั่วเชื่อมแทน ทำไมถึงไช้ได้ไม่นาน led ดวงอื่นก็ขาดตามมาอีก เป็นที่ กระแส หรือ แรงดัน ครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 14 годин тому

      อาจมีหลายสาเหตุครับ เช่น เม็ด LED ในหลอดไฟ ผลิตมาในล็อตเดียวกัน อาจจะเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน หากมีเม็ด LED อันหนึ่ง พังไปแล้ว เราบัดกรีออกและเชื่อมต่อให้ครบวงจรเหมือนเดิมเพื่อใช้งานต่อ LED อื่น ๆ ในหลอดไฟ ก็อาจพังตามมา การนำ LED ที่พังแล้วออกจากวงจรและบัดกรีเชื่อมต่อให้ครบวงจร ก็จะได้เป็นวงจรที่ทำงานไม่เหมือนเดิม แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว วงจรประเภทนี้จะมีไอซีที่คอยควบคุมกระแสที่ไหลผ่าน LED ไม่ให้สูงเกินกว่าที่กำหนดไว้

  • @saengthonghomphang3393
    @saengthonghomphang3393 10 днів тому

    ชอบครับพึ่งเรียนรู้

  • @panufireice
    @panufireice 11 днів тому

    ขอบคุณครับ^^

  • @ประเสร็ฐจงรัมย์

    ชอบครับ

  • @chaistn3773
    @chaistn3773 15 днів тому

    ขอบคุณมากครับ ได้สาระเต็มๆ เลยครับ 😊😊😊

  • @numchartea
    @numchartea 15 днів тому

    หาความต้านทานรวม7P แล้วเอามาหารวม 4S หากระแสจาก 1 เม็ด LED กินไฟ 36 V ที่ 1 W อัตตราการกินไฟรวม จะตกที่ 4S 0.437*4= 1.748 w ในช่วง T-on (คำนวนจากวงจรแบ่งแรงดันธรรมดา DC) ถ้าเข้าใจไม่ผิด 45 W น่าจะไปคำนวนจาก W/L รึเปล่าครับ

  • @สุริยะทะแพงพันธ์

    ขอบคุณมากครับ ติดตามแล้ว

  • @akompajubwan3007
    @akompajubwan3007 Місяць тому

    ขอขอบคุณ อจ.มาก มาก ครับที่นำความรู้มีเผยแผ่ เยี่ยม มาก มาก ครับ

  • @ธนกฤตดํารงค์ศิลป

    ได้ความรู้มากมายครับ คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป เป็นคลิปที่หาดูได้ไม่มากนัก อยากให้ทำออกมาเรื่อยๆ

  • @tonnum4143
    @tonnum4143 Місяць тому

    อาจารย์ครับแล้วบัดกรีแผงแอลอีดีเชื่อมติดกันเพิ่มแสงสว่างทำอย่างไรครับ

  • @สายฝนพันสาย-ฒ2ว

    บอร์ดขาวมีขายไหมครับ หรือแนะนำร้านก็ได้ อยากได้บอร์ดรุ่นนี้

  • @นะยะตุง
    @นะยะตุง Місяць тому

    สอบถามครับ หากเราจะเพิ่มแบต1ก้อน เรามาสามารถน้ำแบตก้อนใหม่พร้อม bms ในตัว มาต่อจากแผงตรงจุดที่ไปต่อแบตของเดิม ได้เลยหรือไม่ครับ เพื่อต้องการกระแสมากขึ้น

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 Місяць тому

      โดยความคิดเห็นส่วนตัว การนำแบตที่มี BMS อีกชุดมาต่อขนานเพิ่มก็ทำได้ครับ แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่ครับ เช่น แบตเตอรี่เป็นประเภทเดียวกัน แรงดันใกล้เคียงกัน หรือการเลือกใช้โมดูล BMS หากแตกต่างกัน ก็จะเป็นปัญหาได้ … หรือกรณีที่เป็นแบตเก่าแล้ว นำแบตใหม่มาต่อขนาน ก็ไม่แนะนำครับ

  • @maowjung3801
    @maowjung3801 2 місяці тому

    ❤❤❤

  • @panidabuddapong4859
    @panidabuddapong4859 2 місяці тому

    อยากรู้เบอร์​IC8ขาครับ

  • @damrongsupho5200
    @damrongsupho5200 2 місяці тому

    กดติดตามเเล้วเรีบยร้อยครับ👍

  • @intelonsleya
    @intelonsleya 2 місяці тому

    กล่องไฟหาซื้อได้ที่ไหน keyword ค้นหาอย่างไรครับ

  • @sutiwat-k
    @sutiwat-k 2 місяці тому

    โอ้... Content ทรงคุณค่า ถ่ายทอดความรู้ได้ดี มีประโยชน์มากๆ ขอบคุณครับ

  • @weerasaknuwii4578
    @weerasaknuwii4578 2 місяці тому

    ขอบคุณครับ กระจ่างทุกข้อสงสัย

  • @pongsakwaewpech7190
    @pongsakwaewpech7190 2 місяці тому

    วิทยาทานล้ำเลิศ เป็นบุญทานที่ยิ่งใหญ่ ขอบพระคุณครับ

  • @ธนะชัยแก้วแกมทอง

    เราสามารถ เอาหลอดไฟตุ้ม 220v มาแปลงเป็นแบบชาร์ตแบตได้ไหมครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 3 місяці тому

      คิดว่า ไม่น่าจะได้ครับ เพราะว่า วิธีการต่อวงจร LED หลาย ๆดวง นั้นแตกต่างกัน หลอดไฟฐานเกลียว E27 ที่มีวงจรสำหรับใช้ไฟบ้าน AC วงจรหลอดไฟแบบ DC และวงจรที่ใช้ไฟจากแบต Lithium 3.7v (แบบที่ติดเองเมื่อไฟดับ) ในแต่ละกรณีต่างกันครับ

  • @yotsomsak6978
    @yotsomsak6978 3 місяці тому

    ขอข้อมูลบอร์ดสีแดงแบบมีวงจรควบคุมหน่อยครับ แล้วใช้หับรีโมทของyx-408 ได้มั้ยครับ กำลังตัดสินใจซื้อบอร์ดแดงอยู่ แต่ไม่มีข้อมูลเลย ขอบคุณครับ

  • @tonnum4143
    @tonnum4143 3 місяці тому

    ร้านขายแบตเตอรี่เขาโกหกพี่หรือเปล่าครับแบตรุ่นนี้มันได้แค่ 6,500 มิลลิแอมป์นะ😮

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 3 місяці тому

      ผมคิดว่า ร้านเค้าคงพิมพ์ตัวเลขผิด มี 0 เกินมาตัวหนึ่ง

  • @tonnum4143
    @tonnum4143 3 місяці тому

    แนะนำหน่อยครับอาจารย์มีเรื่องปรึกษานิดนึงครับผมมีแผงรับแสงอยู่ 1 แผงรับแสงมาใส่วงจรตัวหนึ่งตัวเล็กๆซื้อในลาซาด้าและก็ต่อจากวงจรไปที่แบตเตอรี่จากนั้นก็ต่อจากวงจรไปที่หลอดไฟ 3 ดวงอีกทีตามคู่มือแต่ทำไมไฟจึงออกแค่ดวงที่อยู่ใกล้แบตเตอรี่ดวงเดียวไฟติดแค่ดวงเดียวอีก 2 ดวงจึงไม่ติดครับทั้งที่ต่อพ่วงต่อขนานกันไปที่หลอดไฟสาเหตุเป็นเพราะอะไรครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 3 місяці тому

      ไม่แน่ใจครับ เพราะไม่เห็นวงจร เช่น หลอดไฟเป็น LED เหมือนกัน 3ดวง ใช่ไหม … แนะนำว่าให้ลองใช้มัลติมิเตอร์ ตรวจวัดแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมที่ LED แต่ละดวงดูครับ หรืออาจต่อ LED กลับขั้วเลยไม่ติด

    • @tonnum4143
      @tonnum4143 3 місяці тому

      @@rsponlinethailand6668 ไฟเป็นแบบ cob 1 ดวงและเป็นแบบ LED 2 ดวงโดยใช้แรงดันแค่ 3.2 โวลต์ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟต 6 ก้อนก้อนละประมาณ 6,500 มิลลิแอมป์ครับกะว่าจะให้ใช้ไฟจ่ายดวงนึงต่อแบต 2 ก้อนต่อดวงขั้วบวกลบดูอย่างดีแล้วครับต่อหลอดไฟขนานกันเป็นทางยาวแต่มันติดแค่ดวงแรกที่อยู่ใกล้แบตเตอรี่

    • @tonnum4143
      @tonnum4143 3 місяці тому

      @@rsponlinethailand6668 วงจรกล้องอันเล็กๆในลาซาด้าแหละครับซื้อมาจากประเทศจีนแผงสีเขียวๆเล็กๆมีบอกขั้วบวกลบทุกอย่าง

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 3 місяці тому

      อาจเป็นได้ไหมครับ ว่า COB หนึ่งดวง นำมาต่อขนานกับ LED อีกสองดวง จากแหล่งจ่ายหรือแบตเหมือนกัน เช่น 3.2V แต่หลอด LED ทั้งสองประเภทที่นำมาใช้ มีแรงดันไบอัสตรง VF ไม่เท่ากัน … อีกประเด็นที่พอจะนึกออกคือ เวลาต่อขนานกันแต่ใช้สายไฟยาวมาก และกระแสไหลมากหน่อย สายไฟเส้นเล็ก มันจะมี voltage drop เกิดขึ้น ดังนั้นหลอดไฟที่ต่อขนานแต่อยู่ไกลออกไป จะได้แรงดันต่ำกว่าแรงดันที่ขั้วแบต และอาจได้ต่ำกว่า VF

    • @tonnum4143
      @tonnum4143 3 місяці тому

      @@rsponlinethailand6668 น่าจะเป็นสาเหตุที่พี่วินิจฉัยนี้ก็เป็นได้ครับ

  • @kittipoom4054
    @kittipoom4054 4 місяці тому

    ถามหน่อยคับหลอด led ถ้าต่อแบบอนุกรมมันจะไม่ติดใช่ไหมคับเพราะมันมีการแบ่งแรงดันของหลอดLED ต้องมีแรงดันจ่ายที่ 220-240 v และจะแปลงไฟเป็น DC 12v แต่ถ้าต่อแบบขนานจะติดเพราะแรงดันเท่ากัน ส่วนหลอดไส้ที่มันต่อแบบไหนก็ติดเพราะมันไม่ต้องแปลงไฟถูกไหมคับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 3 місяці тому

      LED ทำงานด้วยไฟกระแสตรงครับ ถ้าต่อไบอัสตรงและมีแรงดันมากพอมันก็จะสว่างได้ แต่ถ้ามากไปกระแสจะสูงเกิน พังได้ ถ้าต่ออนุกรมกันหลายดวง แรงดันก็ต้องให้มีมากขึ้น ในกรณีที่เป็นไฟ AC ก็ต้องมีการแปลงเป็นกระแสตรงและมีวงจรควบคุมไม่ให้กระแสมากเกินสำหรับ LED ครับ ส่วนหลอดไส้แบบเก่า ให้มองว่าเป็นโหลดตัวต้านทานครับ มีกระแสไหลผ่านทางไหนก็ตาม มันก็สว่างได้

    • @kittipoom4054
      @kittipoom4054 3 місяці тому

      @@rsponlinethailand6668 ขอบคุณคับ

  • @psanmuk
    @psanmuk 4 місяці тому

    ขอบคุณครับ เยี่ยมจริง

  • @เทพเทพ-ท8ฬ
    @เทพเทพ-ท8ฬ 4 місяці тому

    ขอสอบถามหน่อยครับผมอยากรู้เรื่องแบตตรี่ LifePo4 5000ah 3.2v ต่อขนานกัน4ก่อนเป็น20.000ahv แล้วผมจะต่อชาร์จผ่านแผงโชลาเชล6vที่20w 1.66ah ช่างคิดว่าเต็มมันครับ ผมจะเอามาทำพาเวอแบงค์ระบบ5vครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 4 місяці тому

      จากคำถาม หากมีแบตเตอรี่ LiFePo4 3.2V 5000mAh (เช่น ขนาด 26700) นำมาต่อขนานกัน 4 ก้อน จะได้ 20,000mAh หรือ 20Ah และถ้าคิดว่าต้องการจะชาร์จประจุ เริ่มต้นจาก 2.5V หรือต่ำกว่า (คิดเป็น 0%) จะได้แรงดันไฟฟ้า 3.6V (ชาร์จเต็ม คิดเป็น 100%) หรือมีพลังงานไฟฟ้าในตัวแบตเตอรี่ 3.6V x 20Ah = 72Wh โดยประมาณ แผงโซลาเซลล์ 20W / 6V สมมุติว่า ให้เอาต์พุตแรงดันไฟฟ้า 5V สำหรับกระแสไฟฟ้า 4A (หรือ 20W peak power) แต่เมื่อนำไปชาร์จแบตเตอรี่ แรงดันจะต้องลดต่ำลงมา และกระแสไฟฟ้าด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวงจร BMS ของแบตเตอรี่ที่ใช้ ถ้าคิดแบบง่ายๆ ชั่วโมงในการชาร์จ จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 72Wh/20W = 3.6h แต่ในทางปฏิบัติแล้ว กำลังไฟฟ้าที่ได้จากแผงจะต่ำกว่า 20W และมีการสูญเสียในระหว่างการชาร์จประจุ เช่น ที่ตัวไดโอด หรือวงจรส่วนอื่นของ BMS ที่ใช้กับแบตเตอรี่ เป็นต้น และยังขึ้นอยู่กับสภาพแสงในแต่วันด้วยครับ ดังนั้นระยะเวลาในการชาร์จจึงใช้เวลามากขึ้น คงต้องทดลองดูครับ

  • @psanmuk
    @psanmuk 4 місяці тому

    ข้อมูลสมบูรณ์แบบมากครับ..ขอบคุณครับ

  • @karinchaksuprateep448
    @karinchaksuprateep448 4 місяці тому

    สอบถาม ปุ่ม on off ในแผงวงจรพวกนี้ทำหน้าที่อะไรครับ ใช่เปิดปิด ไฟled หรือเปล่าครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 4 місяці тому

      หากสังเกตดูแผงวงจรตัวอย่างหลายแบบ จะเห็นว่ามีปุ่มกดที่มีขนาดแตกต่างกัน ถ้าเป็นปุ่มกดใหญ่หน่อย ก็จะเป็นแบบ Push Switch Toggle แต่ถ้าเป็นปุ่มเล็กบนแผ่น ก็จะเป็นแบบ Push Button / Tactile Switch ... ปุ่มใหญ่ก็ใช้สำหรับการเปิดปิดการจ่ายกระแสไหลจากแบตเตอรี่ไปยังวงจร แต่ถ้าเป็นปุ่มเล็ก จะเป็นปุ่มสัญญาณอินพุตให้กับขาของชิปตัวควบคุมหรือไมโครคอนโทรลเลอร์ แต่ก็ใช้เปิดหรือปิดการทำงานของ LED บนแผงวงจรครับ

  • @yeahigotit.3468
    @yeahigotit.3468 5 місяців тому

    ตัองถอดสายต่อแบตออกทุกวัน มันดับเอง

  • @p.amdonlymuk2558
    @p.amdonlymuk2558 5 місяців тому

    ขอถามหน่อยครับ ใช้เซ็นเซอร์ด้วยคลื่นไมโครเวฟเรดาร์จะอันตรายต่อร่างกายไหมครับ เห็นบางคนบอกว่าใช้คลื่นประมาณ 9 จิกะเฮิรตซ์ (GHz)

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 5 місяців тому

      ถ้าเป็นโมดูลหรือวงจรที่ใช้ตรวจจับการเคลื่อนไหวสำหรับโคมไฟโซลาร์เซลล์ กำลังไฟฟ้าของวงจรส่วนนี้ไม่ได้สูงมาก และโดยปรกติแล้ว คนก็ไม่ได้อยู่ในบริเวณตรวจจับเป็นเวลานาน เช่น แค่เดินผ่าน และไม่ได้อยู่ใกล้เซ็นเซอร์ ดังนั้นโดยส่วนตัวคิดว่า ในกรณีนี้ไม่น่าจะมีผลต่อร่างกายครับ

    • @p.amdonlymuk2558
      @p.amdonlymuk2558 5 місяців тому

      @@rsponlinethailand6668 ขอบคุณมากครับ พอดีผมติดใช้ในห้องน้ำเพื่อนมาเจอเข้าถามว่ามันเป็นคลื่นไมโครเวฟใกล้เคียงกับคลื่นที่ใช้ในเตาไมโครเวฟมันจะเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อเช่นดวงตาหรือไม่เลยไม่ค่อยสบายใจ

  • @inlamai
    @inlamai 5 місяців тому

    วงจรแต่ละแบบ ปล่อยกระแสไฟสูงสุดเท่าไหร่ รองรับการชาร์จแผงสูงสุดกี่วัตต์ เป็นไปได้นำมาเปรียบเทียบกันคงจะดีครับ😊 ในตลาดมีหลายแบบ แล้วไม่มีบอกสเป็คเลยครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 5 місяців тому

      ใช่ครับ แผงวงจรในลักษณะนี้ (จากประเทศจีน) มีแค่ข้อมูลเบื้องต้น ในฐานะผู้ใช้ ถ้าจะให้ดี คงต้องซื้อมาทดลองดูก่อน ใช้อุปกรณ์จริงเริ่มต้นด้วยการศึกษาเบอร์และรายละเอียดของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Diode และ MOSFET เป็นต้น เพื่อดูสเปคคร่าว ๆ และถ้าจะให้ดี ก็คือจะต้องทดลองวัดปริมาณทางไฟฟ้า เช่น V/I ในขณะใช้งาน ร่วมกับแผง Solarcell และแบต ในช่วงเวลาต่าง ๆ ครับ ซึ่งการทดลองในลักษณะนี้ก็คงต้องใช้เวลาในการเตรียมและทดลอง โดยส่วนตัวแล้วถ้ามีโอกาส ก็อยากจะทดลองดูครับ ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำและความคิดเห็น

    • @inlamai
      @inlamai 5 місяців тому

      @@rsponlinethailand6668 ขอบคุณครับ

    • @chartchaibankluay3848
      @chartchaibankluay3848 5 місяців тому

      ถ้าผมจะประกอบแบตเตอรี่เอง แนะนำแผงวงจรที่สำหรับใช้กับแบตเตอรี่หน่อยคับ (ที่ใช้อยู่เป็นไฟ UFO ใช้แบตเตอรี่ 4 ก้อน มันเน่าหมดแล้วของเดิม)🙏

    • @inlamai
      @inlamai 5 місяців тому

      @@chartchaibankluay3848 ขออนุญาติบอกจากที่ตัวเอง เปลี่ยนใช้มาหลายตัวนะครับ ถ้าเป็นตัวบอร์ดวงจร สีเขียวที่ขายในออนไลน์เยอะๆ ใช้ได้แต่ไฟไม่สว่างปล่อยกระแสไฟแค่ 1A. ถ้าเป็นแผงชาร์จไฟ ufo น่าจะ6v.20w. ตรงไดโอด ก้อนดำเล็กๆ2ก้อนจะร้อนมาก เพราะรองรับไฟชาร์จแค่2A. ถ้าแผง6v.20w. จะปล่อยกระแสได้ถึง3.5A.ช่วงแดดแรงๆ คือใช้ได้กับไฟดวงเดียว แผงชาร์จไม่เกิน 12w. ถ้าแนะนำที่ใช้อยู่แล้วดีสุดตอนนี้ แผงวงจรสีขาวที่เป็นภาษาจีนตัวนี้ชาร์จได้ถึง10A. ปล่อยไฟได้แรง 12ระดับ กับ แผงวงจรที่เป็นสีดำมีไฟledบอกระดับแบต ตัวนี้แทบไม่ร้อนเวลาชาร์จแผงใหญ่ๆ ปล่อยไฟแรงใช้ได้เลย แต่ชาร์จเต็มช้ากว่าตัวแรก อาจจะเป็นเพราะต้องไปเลี้ยงไฟledด้วย ลองดูครับผมก็ทดลองใช้ไปเรื่อยครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 5 місяців тому

      @chartchaibankluay3848 โดยส่วนตัวยังไม่เคยใช้แบบ UFO ครับ แนะนำให้ตรวจสอบก่อนว่า ไฟ LED แบบ UFO ใช้แบตเตอรี่แบบไหนครับ แต่คิดว่า น่าจะเป็น 4 ก้อน ชนิด LiFePo4 ที่มีการต่อขั้วขนานกัน และมีแผงวงจร BMS บัดกรีอยู่ด้วย .. ถ้าแบตเดิมใช้ไม่ได้ เช่น ชาร์จไฟไม่เข้า ก็อาจเป็นที่ตัวแผง BMS ชำรุด หรือไม่ก็ตัวแบตบางก้อนก็เป็นได้ หรือไม่ก็แผงควบคุม... ถ้าจะเปลี่ยนแบตใหม่ทั้งชุด ก็ลองดูร้านออนไลน์ เห็นว่ามีขายอยู่ มีแบบที่ผู้ขายแพค 4 ก้อนมาให้แล้วพร้อมวงจร BMS ลองสอบถามร้านค้า หรือตรวจก่อนว่า ขนาดของแบตเตอรี่ตรงกันแบบเดิมหรือไม่ มีความจุ mAh เท่าไหร่ และกระแสสูงสุดของ BMS ประมาณกี่แอมป์ ข้อมูลเหล่านี้โดยปรกติแล้วมักมีเขียนบอกไว้ครับ

  • @นายรุ่งโรจน์ปันแจ่ม

    วงจรแบบนี้เราแผงหลอดledต่อขนานได้กี่แผงครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 6 місяців тому

      ถ้านำแผง LED แบบเดียวกันมาต่อเพิ่มมากกว่าหนึ่งอัน ซึ่งเป็นการต่อแบบขนานกัน ก็เป็นการเพิ่มโหลดไฟฟ้าให้แบตเตอรี่และวงจร MOSFET ควบคุมการจ่ายกระแส.. ในกรณีนี้ ปริมาณกระแสไฟฟ้าก็จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ควรเกิน spec ของแผงควบคุม และอาจก็จะถูกจำกัดด้วยวงจร BMS และแบตเตอรี่ด้วยเช่นกันครับ... แนะนำว่า ให้ลองนำแผงต่อมาต่อเพิ่มทีละหนึ่งอัน แล้ววัดปริมาณกระแสด้วยมัลติมิเตอร์ดูครับ

  • @sekdanana91
    @sekdanana91 6 місяців тому

    เพิ่มแบตต้องเปลี่ยนตัวชาร์จไหมคับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 6 місяців тому

      ถ้าเพิ่มแบต หมายถึง การนำแบตเตอรี่ LiFePO4 มาต่อขนานกัน เช่น จากเดิมหนึ่งก้อน เป็นสองก้อน ก็อาจจะใช้แผงวงจร BMS เดิมก็ได้ครับ ถ้าไม่ได้เปลี่ยนแผงโซล่าเซลล์ และใช้แผง LED เดิม

  • @BarTheGreenHome
    @BarTheGreenHome 6 місяців тому

    เราทำให้มันสว่างกว่าเดิมจากหลอดที่เรามีอยู่ได้ไหมครับ ไม่อยากซื้อใหม่เสียดายตัง (มันคือไฟปลูกต้นไม้ครับ)

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 6 місяців тому

      ถ้าเป็นหลอดไฟ LED ที่มีวงจรและไอซี ตามในคลิป วิธีหนึ่งคือ เปลี่ยนค่าความต้านทาน Rs ให้น้อยลง จะทำให้กระแสมากขึ้น และทำให้ LED สว่างมากขึ้น แต่อายุการใช้งานจะลดลงครับ หรืออาจจะพังเร็วก็ได้

  • @สุพงศ์เอง
    @สุพงศ์เอง 6 місяців тому

    วงจร ic555 หมุน vr สุดไหมครับ ตอนหมุนดับสุด ของผมเหมือนมันหลุด สเกล

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 6 місяців тому

      ในกรณีของวงจรไอซี 555 ถ้าหมุนปรับค่าความต้านทานมากเกินไป จะทำให้มีการหน่วงเวลามากเกินกว่า 10msec มันจะทำให้การหรี่ไฟ ไม่เป็นไปตามสเกลที่ควรจะเป็นครับ ดังนั้นในคลิปที่ได้สาธิต จึงไม่ได้หมุนไปจนสุด

  • @chaiy7504
    @chaiy7504 6 місяців тому

    รบกวนถามผมรู้สึก หลอด ac 220v ให้สว่างกว่า หลอดที่ใช้ ไฟ dc12v จริงไหมครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 6 місяців тому

      คงต้องดูครับว่า Lumen ต่อวัตต์ของหลอดไฟ หลอดไหนมากกว่ากัน ถ้าวัตต์เท่ากัน อันไหนให้ค่ามากกว่าก็คงสว่างกว่า หรือใช้เครื่องมือวัดแสง ระยะห่างเท่ากัน ถ้าได้ค่า Lux สูงกว่า อันนั้นก็สว่างกว่า … ถ้ามีโอกาส ผมคิดว่าจะลองหาหลอดไฟแบบ DC ฐานเกลียว E27 มาลองดูครับ

  • @mekhinthongjerm1104
    @mekhinthongjerm1104 6 місяців тому

    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ

  • @mekhinthongjerm1104
    @mekhinthongjerm1104 6 місяців тому

    ใด้ความรู้และเข้าใจขึ้นเยอะเลยครับ

  • @mekhinthongjerm1104
    @mekhinthongjerm1104 6 місяців тому

    เป็นคลิปที่ดีและเพิ่มความรู้ครับ

  • @เราเข้าใจกัน
    @เราเข้าใจกัน 7 місяців тому

    ทดลองเปลี่ยนเม็ดแอลอีดีและวิธีการเลื่อกขนาดโวล วัตว์ให้ดูหน่อยครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 7 місяців тому

      ถ้ามีโอกาส จะลองศึกษาดูครับ

  • @auuto7858
    @auuto7858 7 місяців тому

    คอนเทนต์ท่าน ที่เอาของจริงมาแสดง แบบนี้ มันเป็นอะไรดี ดีมากๆครับ

  • @นิกรบุญป้อง
    @นิกรบุญป้อง 7 місяців тому

    ขอขอบคุณ

  • @นิกรบุญป้อง
    @นิกรบุญป้อง 7 місяців тому

    สุดยอดครับอธิบายละเอียดมากครับชอบมากครับ

  • @pongpitwipasuramonton4092
    @pongpitwipasuramonton4092 7 місяців тому

    ออกแบบได้ลงตัวดีมาก ไม่ทราบพอจะบอกราคาคร่าวๆได้มั้ยครับ สำหรับ แผงควบคุม+รีโมท

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 7 місяців тому

      แผงควบคุมที่มีรีโมท ตามตัวอย่างในคลิป ซื้อมาราคาประมาณ 170 บาท (2 ชิ้น) ลองดูใน shopee ถ้าสั่งจากต่างประเทศ ก็จะถูกกว่าครับ

  • @Chalee2151
    @Chalee2151 7 місяців тому

    แบ่งปันได้ดีและมีประโยชน์ครับ

  • @pongpitwipasuramonton4092
    @pongpitwipasuramonton4092 8 місяців тому

    ขออนุญาตถามครับ ku5532 ใช้ย่านความถี่เท่าไหร่ครับ?

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 8 місяців тому

      จากที่ลองสำรวจดู โมดูลต่างรุ่นกัน เช่น K32s06 / K32s07 / K32S12 ซึ่งทั้งสามรุ่น ใช้ชิป KU5532 เหมือนกัน แต่ละโมดูลทำงานด้วยคลื่นความถี่ต่างกัน เช่น 4.2~4.6GHz และ 3.95~4.05GHz ผมคิดว่า ก็คงอยู่ในย่านนี้ ไม่น่าจะเกิน 5.8GHz

  • @SongkranElectronics
    @SongkranElectronics 8 місяців тому

    ทำวงจรหลอดเเบบยาวด้วยครับ อยากศึกษาวงจรเชืองลึกครับ จะเอาไว้ดัดแปลงวงจร และDIY

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 8 місяців тому

      ถ้ามีโอกาส จะลองศึกษาดูครับ

  • @pongpitwipasuramonton4092
    @pongpitwipasuramonton4092 8 місяців тому

    ขออนุญาตครับ อาจารย์ควรเสนอวงจรทั้งหมดในคลิปด้วยครับ แล้วอาจมาอธิบายการทำงานเป็นส่วนๆ อย่างที่เวลา 11:58 นั้น Vin กับ HV คือจุดเดียวกัน แต่เมื่ออธิบายต่อมา กลายเป็นคนละจุดกัน แล้ว photodiode มี 2 ตัว มันต่อในวงจรอย่างไร อย่างไรก็ดี ผู้ชมได้ความรู้บ้างไม่มากก็น้อย ขอบคุณมากครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 8 місяців тому

      ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ ขออธิบายเพิ่มดังนี้ครับ 1) รูปผังวงจรในเวลา 11:58 เป็นรูปตัวอย่างจาก Datasheet ไม่ใช่วงจรของหลอดไฟจริง เป็นวงจรตัวอย่างที่ใช้ไอซีแบบ Switching (Buck) ซึ่งพบเห็นได้บ่อยเหมือนไอซีในประเภทเดียวกัน 2) วงจรจริงของหลอดไฟ LAMPTAN มีการดัดแปลงจากผังวงจรตัวอย่างครับ ดังนั้น VIN กับ HV จึงเป็นคนละจุดกันครับ (มีตัวต้านทานและมอสเฟตมาต่อเพิ่ม) 3) Photodiode มีสองตัว ต่อขนานกันครับ แต่อยู่คนละด้านกันของแผงวงจร 4) ผมไม่ได้วาดผังวงจรของหลอดไฟโดยสมบรูณ์ วาดแค่บางส่วน เพราะต้องการเน้นส่วนที่สำคัญของหลอดไฟครับ (หลักการที่ทำให้วงจรปรับหรี่ไฟได้)

  • @haidatlaai7185
    @haidatlaai7185 8 місяців тому

    โปรดแจ้งให้เราทราบเมื่อฉันปรับความสว่างเป็นต่ำ เมื่อเปิดความสว่างสูงสุดอีกครั้ง อยากจะบันทึกความสว่างแบบเก่าไว้

  • @iphofmos
    @iphofmos 8 місяців тому

    แปลว่าถ้าเราบายพาสหลอดเสียเราต้องเปลี่ยน rset ใช่ไหมอาจารย์

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668 8 місяців тому

      ถ้าหลอดไฟถูกใช้งานมาสักระยะแล้ว และเปิดไม่ติด หากจะซ่อมโดยการบายพาสแค่ LED ดวงเดียวที่มันชำรุด คงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน R ครับ ... แต่ถ้าอยากจะยืดอายุการใช้งานของหลอดไฟที่ต้องการซ่อม (ในกรณีที่รู้สึกว่า หลอดไฟมันร้อนมากเกินไป) ก็อาจจะลองเปลี่ยน R โดยใช้ค่าความต้านทานเพิ่มจากเดิมเล็กน้อย จะทำให้อุณหภูมิหลอดไฟลดลง และยอมรับได้ว่า หลอดไฟจะสว่างน้อยลง